Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50405
Title: | การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามมิติร่วมกับการเรียนการสอนภาษาไทยโดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนเชิงบรรยายสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย |
Other Titles: | Development of an instructional model using 3D electronic book with literature-based Thai instruction to enhance descriptive writing ability of upper primary school students |
Authors: | สิรภัทร ชลศรานนท์ |
Advisors: | จินตวีร์ คล้ายสังข์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | jinkhlaisang@gmail.com,jintavee.m@chula.ac.th |
Subjects: | ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน ภาษาไทย -- กิจกรรมการเรียนการสอน วรรณคดีไทย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ Thai language -- Study and teaching Thai language -- Activity programs in education Thai literature Electronic books |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบฯ 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบฯ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 ท่าน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรูปแบบ รูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามมิติฯ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถด้านการเขียนเชิงบรรยาย แบบสอบถามความคิดเห็นการเรียนด้วยรูปแบบฯ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามมิติพัฒนาขึ้น ประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) องค์ประกอบด้านมัลติมีเดีย องค์ประกอบที่ (2) องค์ประกอบด้านโครงสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (3) องค์ประกอบด้านภาพสามมิติ (4) องค์ประกอบด้านการเชื่อมโยงอย่างมีปฏิสัมพันธ์ ผลการทดลองใช้รูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามมิติร่วมกับการเรียนการสอนภาษาไทยโดยใช้วรรณคดีเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนเชิงบรรยายสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายพบว่า นักเรียนมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถด้านการเขียนเชิงบรรยายหลังเรียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามมิติสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 |
Other Abstract: | The purpose of this research were (1) to develop a model 3d electronic book with literature-based thai instruction to enhance descriptive writing (2) to try out a model of 3d electronic book with literature-based thai instruction to enhance descriptive writing (3) to propose a model 3d electronic book with literature-based thai instruction to enhance descriptive writing ability of upper primary school students. The samples for the survey consisted of 30 elementary school student over a period of 8 weeks. The Research instruments consisted of an expert interview form, a model evaluation form, 3d e-book. The data gathering instruments consisted of a descriptive writing test. The data were analyzed using mean, standard deviation and t-test dependent. The research results indicated that : The results of this study consisted of 4 elements. The 4 elements were (1) Multimedia (2) E-book structure (3) 3dimension (4) Connection of Interactive. The results indicated that students who participated in the experimental group had reading comprehension post-test mean scores that were higher than their pre-test mean scores at the .05 level of significance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50405 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1245 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1245 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5683400027.pdf | 12.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.