Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50544
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อรอุมา ชุติเนตร | en_US |
dc.contributor.advisor | นิจศรี ชาญณรงค์ | en_US |
dc.contributor.author | อภินันท์ อวัยวานนท์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-01T08:09:33Z | - |
dc.date.available | 2016-12-01T08:09:33Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50544 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินความรุนแรงของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผ่านระบบสารสนเทศและการประเมินแบบมาตรฐานในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการวิจัย ผู้ป่วยสมองขาดเลือดไม่เกิน 72 ชั่วโมง ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 120 ราย รับการตรวจด้วยแบบประเมินความรุนแรงของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผ่านระบบสารสนเทศ CU Telestroke Scale และแบบมาตรฐาน National Institutes of Health Stroke Scale ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองวิธีโดยการหาความสัมพันธ์เพียร์สัน ประเมินความน่าเชื่อถือจากการวัดความเที่ยงระหว่างผู้ประเมิน การวัดความเที่ยงของผู้ประเมิน และความสอดคล้องภายใน หาความสัมพันธ์ต่อการพยากรณ์โรคในเวลา 90 วันด้วย modified Rankin Scale เปรียบเทียบเวลาการตรวจสองวิธีด้วยการทดสอบความแตกต่างของค่ากลางของสองประชากรไม่อิสระ ผลการศึกษา การประเมินสองวิธีมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง (สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ = 0.943; P<0.001) การประเมินผ่านระบบสารสนเทศรวดเร็วกว่าการประเมินแบบมาตรฐาน (4.7 นาที และ 6.1 นาที ตามลำดับ; P<0.001) CU Telestroke Scale มีความสอดคล้องเชิงบวกในระดับสูง จากการวัดความเที่ยงระหว่างผู้ประเมิน (สัมประสิทธิ์แคปปา = 0.997; P<0.001) การวัดความเที่ยงของผู้ประเมิน (สัมประสิทธิ์แคปปา = 0.998; P<0.001) และมีความสอดคล้องภายในสูง (สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค = 0.953; P<0.001) แบบประเมิน 14 หัวข้อมีความสอดคล้องสูงยกเว้นการตรวจตำแหน่งศีรษะมีความสอดคล้องปานกลาง (สัมประสิทธิ์แคปปา = 0.539; P<0.01) ความสัมพันธ์ต่อ modified Rankin Scale ของการประเมินทั้งสองวิธีอยู่ในระดับปานกลาง (สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์การประเมินผ่านระบบสารสนเทศ = 0.628; สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์การประเมินแบบมาตรฐาน = 0.619; P<0.001). สรุป การประเมินความรุนแรงผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผ่านระบบสารสนเทศและการประเมินแบบมาตรฐานมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง การใช้ CU Telestroke Scale มีความน่าเชื่อถือ และประหยัดเวลา | en_US |
dc.description.abstractalternative | Objective: To evaluate the correlation of stroke severity assessment between CU Telestroke Scale and conventional method at King Chulalongkorn Memorial Hospital. Material and Methods: Study was conducted among 120 acute ischemic stroke patients who had symptoms less than 72 hours at King Chulalongkorn memorial hospital. Stroke severity assessment was assessed by CU Telestroke Scale and conventional bedside National Institutes of Health Stroke Scale (NIHSS) method. Correlation and agreement were analyzed by Pearson correlation, internal consistency, interrater and intrarater reliability. Relation of modified Rankin scale at 90 days was tested for predictive validity. Examination time of both methods were compared with paired t-test. Results: Correlation of CU Telestroke Scale and conventional method were excellent (r=0.943; P<0.001). Mean evaluation time of new scale were faster than NIHSS (4.7 minutes versus 6.1 minutes; P<0.001). Agreement were represented with interrater reliability (K=0.997; P<0.001) and intrarater reliability (K=0.998; P<0.001). Internal consistency was 0.953 (P<0.001). Fourteen domains were excellent agreement except the head position was moderate agreement (K=0.539; P<0.01). Predictive validity showed moderate correlation in both scales (CU Telestroke Scale, r=0.628; NIHSS, r=0.619; P<0.001). Conclusion: CU Telestroke Scale is strongly correlated with conventional method. Application of CU Telestroke Scale is less time consuming than bedside NIHSS and also has reliability and validity for current telestroke consultation. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.723 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | โรคหลอดเลือดสมอง -- ผู้ป่วย | - |
dc.subject | Cerebrovascular disease -- Patients | - |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินความรุนแรงของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผ่านระบบสารสนเทศและการประเมินแบบมาตรฐานในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ | en_US |
dc.title.alternative | CORRELATION OF STROKE SEVERITY ASSESSMENT BETWEEN TELESTROKE SCALE AND CONVENTIONAL METHOD AT KING CHULALONGKORN MEMORIAL HOSPITAL | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | aurauma@yahoo.com,aurauma@yahoo.co.th | en_US |
dc.email.advisor | Nijasri.C@Chula.ac.th,nijasris@yahoo.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2015.723 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5774109030.pdf | 2.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.