Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50553
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณภัควรรต บัวทอง | en_US |
dc.contributor.author | นาฏยา มณีรุ่ง | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-01T08:09:41Z | |
dc.date.available | 2016-12-01T08:09:41Z | |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50553 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเครียดจากการทำงาน ลักษณะบุคลิกภาพ และปัจจัยอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องกับความเครียดจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ. จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เก็บรวบรวมข้อมูลจากพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการในโรงพยาบาลสมิติเวชสุขุมวิทจำนวน 200 คน ตั้งแต่เดือน ตุลาคม ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 โดยใช้แบบสอบถาม 3 ส่วน คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความเครียดจากการทำงาน (Thai JCQ 54) และแบบประเมินบุคลิกภาพ MPI ผลการศึกษา ความเครียดจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านความอิสระในการตัดสินใจ ด้านความเครียดจากภาระงาน ด้านความเครียดจากการทำงานหนัก และด้านแรงสนับสนุนทางสังคม อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 78.0, 53.0, 65.0, 65.0 ตามลำดับ ด้านความมั่นคงในอาชีพอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 87.0 และด้านปัจจัยเสี่ยงในการทำงานอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 53.0 พบว่าพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการมีลักษณะบุคลิกภาพมิติที่ 1 Scale-E ส่วนใหญ่ คือ แบบแสดงออก ร้อยละ 69.6 บุคลิกภาพมิติที่ 2 Scale-N ส่วนใหญ่ คือแบบมั่นคง ร้อยละ76.1 โดยประเภทบุคลิกภาพส่วนใหญ่คือแบบแสดงออก–มั่นคง ร้อยละ 56.5 เมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติการถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple linear Regression) เป็นรายด้าน พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดความเครียดจากการทำงาน ด้านความเครียดจากการทำงานหนัก ได้แก่ การทำงานในแผนกผู้ป่วยวิกฤติ (ICU) (p<0.001) และการทำงานในแผนกอายุรกรรม (p=0.017) ด้านความเครียดจากภาระงานได้แก่ การทำงานในแผนกอายุรกรรม (p<0.001) และการทำงานในแผนกผู้ป่วยวิกฤติ (ICU) (p<0.001) ด้านปัจจัยเสี่ยงในการทำงานได้แก่ มิติบุคลิกภาพแบบ Scale-N (p<0.001) และการทำงานในแผนกห้องผ่าตัด/ห้องคลอด/หน่วยทารกแรกเกิด (p=0.015) ด้านความอิสระในการตัดสินใจได้แก่ การทำงานในแผนกผู้ป่วยวิกฤติ (ICU) (p<0.001) และมิติบุคลิกภาพแบบ Scale-N (p=0.020) และตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับความเครียดจากการทำงาน ด้านแรงสนับสนุนทางสังคมได้แก่ มิติบุคลิกภาพแบบ Scale-N (p=0.023) | en_US |
dc.description.abstractalternative | Objective : To explore the level of occupational stress and personality of nurses in private hospital and to examine factors associated with occupation stress among professional nurses in private hospital. Cross Sectional descriptive study. Data were obtained from the professional nurse workers in Samitivej sukhumvit hospital from October to December 2015. A total of 200 participants were recruited. Participants completed three questionnaires regarding to demographic characteristic, MPI questionnaires and Thai JCQ 54 questionnaires, the data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, t-test, One way Anova, Pearson correlation and multiple linear regression analysis. Result : Occupational stress in professional nurse in dimension of job control, psychological job demand, physical job demand and social support found in moderate level, job security found in high level and hazard at work found in low level. The most personality characteristics were extroversion and stability and the most type of personality was extroversion-stability. In multivariate analysis, the statistically significant factors with physical job demand were working in intensive care unit (ICU) and in patient department medical unit, psychological job demand were working in patient department medical unit and intensive care unit. Factors associated with hazard at work were personality Scale-N and working in operative care unit/ labor room/ newborn unit. Factors associated with job control were intensive care unit (ICU) and personality scale-N. Social support was associated with personality scale-N. However, occupational health department should emphasized the psychological counseling service in order to cope with occupational stress for employees. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.722 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | พยาบาล -- ความเครียดในการทำงาน | |
dc.subject | โรงพยาบาลเอกชน | |
dc.subject | บุคลิกภาพ | |
dc.subject | Nurses -- Job stress | |
dc.subject | Hospitals, Proprietary | |
dc.subject | Personality | |
dc.title | ความเครียดจากการทำงาน และบุคลิกภาพของพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง | en_US |
dc.title.alternative | Occupational stress and personality among professional nurses in a private hospital | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | สุขภาพจิต | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Napakkawat.B@Chula.ac.th,napakkawatb@gmail.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2015.722 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5774256630.pdf | 4.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.