Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50661
Title: การพัฒนารูปแบบกลยุทธ์การบริหารจัดการเชิงบูรณาการตามแนวคิดการบริหารจัดการชั้นสูงและระบบประกันคุณภาพสมบูรณ์แบบสำหรับสถาบันอุดมศึกษารัฐ
Other Titles: Development of a model of integrated quality management strategies using advanced execution premium strategies and comprehensive quality assurance system for public universities
Authors: เทื้อน ทองแก้ว
Advisors: พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์
ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pansak.P@Chula.ac.th,pansakp@gmail.com
Sornnate.A@Chula.ac.th,sornnate@gmail.com
Subjects: การบริหารการศึกษา
การศึกษา
สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ -- การบริหาร
การวางแผนเชิงกลยุทธ์
Education
Public universities and colleges -- Administration
Strategic planning
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษา สังเคราะห์ระบบประกันคุณภาพสมบูรณ์แบบ ศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารสถาบันอุดมศึกษารัฐในประเทศไทย และพัฒนารูปแบบกลยุทธ์การบริหารจัดการเชิงบูรณาการ ตามแนวคิดการบริหารจัดการชั้นสูงและระบบประกันคุณภาพสมบูรณ์แบบสำหรับสถาบันอุดมศึกษารัฐ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ 1) อธิการบดี ผู้อำนวยการ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย รองอธิการบดี รองผู้อำนวยการที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพ และผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพของสถาบัน รวมจำนวน 30 คน 2) คณะกรรมการประกันคุณภาพสถาบัน จำนวน 250 คน 3) ผู้ทรงคุณวุฒิสนทนากลุ่ม จำนวน 14 คน 4) ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบรูปแบบฯ จำนวน 18 คน 5) คณะกรรมการทดลองรูปแบบฯ จำนวน 17 คน 6) ผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากร ประเมินความพึงพอใจรูปแบบฯ จำนวน 40 คน 7) ผู้ทรงคุณวุฒิให้สัมภาษณ์แนวทางการบริหารสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 10 คน โดยใช้แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ คู่มือทดลอง แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และค่าระดับความต้องการจำเป็น (PNI-Priority Needs Index) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ รูปแบบกลยุทธ์การบริหาร คือ รูปแบบ Condo Model (Advanced Execution Premium and Quality Assurance – AEPQA Model) ที่ได้จากการรวมการบริหารจัดการชั้นสูงและระบบประกันคุณภาพ คือ การรวมกลยุทธ์ (Strategy map) และระบบประกันคุณภาพหลายระบบ (Quality map) เข้าด้วยกันเป็นระบบ CSIPOCF ประกอบด้วย 1) บริบทองค์กร (Context) คือ ลักษณะสำคัญของสถาบัน วัตถุประสงค์ของสถาบัน ทิศทางสถาบัน กลุ่มสถาบัน และมาตรฐานสถาบัน 2) ผู้ส่งมอบ (Suppliers) คือ หน่วยงานต้นสังกัด คู่ความร่วมมือ และหน่วยงานทางสังคม 3) ปัจจัยนำเข้า (Input) คือ ภาวะผู้นำของกรรมการสภาสถาบันและผู้บริหาร ทรัพยากรบุคคล โครงสร้างอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ การเงินและงบประมาณ และเทคโนโลยีสารสนเทศ 4) กระบวนการ (Process) คือ กระบวนการบริหารทั่วไป กระบวนการบริหารยุทธศาสตร์ (แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ 5) ผลผลิต (Output) คือ ผลผลิตด้านผู้เรียน ด้านการเงินและงบประมาณ การวิจัยและงานสร้างสรรค์ ผู้ปฏิบัติงาน กระบวนการ และภาวะผู้นำ 6) ผู้ใช้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Customers) คือ นิสิต นักศึกษา ศิษย์เก่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในภายนอกสถาบัน และผลการวิเคราะห์ความคาดหวัง 7) ผลสะท้อนกลับ (Feedback) คือ ข้อมูลย้อนกลับจากนิสิต นักศึกษา ศิษย์เก่า ผู้ใช้บัณฑิต ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คู่ความร่วมมือ การรายงานผลตามพันธกิจ และรายงานประจำปี 8) ผลลัพธ์ของสถาบัน (Outcome) คือ ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ใช้บัณฑิต และการพัฒนาตนเองของชุมชน กลไกในการสนับสนุนระบบ CSIPOCF คือ สำนักบริหารยุทธศาสตร์ในการประสานและบูรณาการในทุกกระบวนการบริหาร ในระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติ ในระบบฐานข้อมูล กระบวนการพัฒนากลยุทธ์ การติดตามและการเรียนรู้ การประเมิน และงบประมาณตามกลยุทธ์
Other Abstract: The main objectives of this study were to explore and synthesize management theories for universities, to synthesize a comprehensive quality assurance system for universities, to investigate the current management of public universities in Thailand and to develop a model of integrated quality management strategies using advanced execution premium strategies and a comprehensive quality assurance system for public universities. The participants were: 1) deans, directors or assignees, deputy deans, deputy directors responsible for quality assurance and those who were responsible for the quality assurance of their university totaling 30 individuals, 2) the university quality assurance committee totaling 250 individuals, 3) experts leading a group discussion totaling 14 individuals, 4) experts examining the model totaling 18 individuals, 5) committee experimenting the model totaling 17 individuals, 6) administrators, instructors and supporting staff evaluating the model totaling 40 individuals, and 7 experts providing guidelines for university management totaling 10 individuals. The tools included literature review, an interview form, an experiment manual and an evaluation form to assess satisfaction. Content analysis was used to analyze the data and the frequency, percentage, mean, standard deviation. T- test and priority Need Index (PNI) were also applied. The findings revealed the following.The proposed management model is the Condo Model (Advanced Execution Premium and Quality Assurance (AEPQA), resulting from the integration of advanced execution premium strategies and quality assurance system. In other words, it is a combination of the Strategy maps and the Quality maps consisting of 1) Context, 2) Suppliers, 3) Input, 4) Process, 5) Output, 6) Customers, 7) Feedback and 8) Outcome (CSIPOCF). Context refers to the essential features of a university, its objectives, its mission, its faculties and institutions and its standards while Suppliers refers to the original affiliation, cooperation partners and social offices. Input refers to the leadership of university council members and the administration, human resources, buildings and environment, learning support system, finance and budget and information technology. Process refers to the general management process, strategy management process (strategy plan and operational plans). Output refers to the output of students, finance and budget, research and creative works, operators, processes and leadership skills. Customers refers to students, alumni, stakeholders both inside and outside the university and the results of expectation analysis. Feedback refers to the feedback from students, alumni, those who hire the graduates, stakeholders, cooperating partners, reports of mission execution and annual report. Outcome refers to the satisfaction of customers, stakeholders, those who hire the graduates and the self-development of the communities. The mechanism for promoting CSIPOCF is the Office of Strategy Management that cooperates and integrates the management process at all levels-polity, operation, database-with strategy development process, the following-up and the learning system, the assessment system and the strategy budget.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50661
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1173
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1173
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384222527.pdf13.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.