Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50664
Title: | กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้จากการปฏิบัติของอาจารย์ในสถาบันการศึกษาพยาบาล |
Other Titles: | Management strategies to enhance action learning abilities of instructors in nursing schools |
Authors: | รุจิรา สืบสุข |
Advisors: | วลัยพร ศิริภิรมย์ พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Walaiporn.S@Chula.ac.th,walaiporn52@yahoo.com Pruet.S@Chula.ac.th |
Subjects: | การบริหารการศึกษา การพยาบาล -- การศึกษาและการสอน การเรียนแบบมีส่วนร่วม Education -- Administration Nursing -- Study and teaching Active learning |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้จากการปฏิบัติของอาจารย์ในสถาบันการศึกษาพยาบาล 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้จากการปฏิบัติของอาจารย์ในสถาบันการศึกษาพยาบาล 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้จากการปฏิบัติของอาจารย์ในสถาบันการศึกษาพยาบาล โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ สถาบันการศึกษาพยาบาล 26 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้จากการปฏิบัติของอาจารย์ในสถาบันการศึกษาพยาบาลในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง พันธกิจด้านการเรียนการสอนมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด เป้าหมายการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ทำงานมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด การเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของบุคคลและองค์กรมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด การวางแผนเพื่อการเรียนรู้จากการปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้จากการปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้จากการปฏิบัติของอาจารย์ในสถาบันการศึกษาพยาบาลในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พันธกิจด้านการเรียนการสอนมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด การเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ทำงานมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด การเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของบุคคลและองค์กรมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด การวางแผนเพื่อการเรียนรู้จากการปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้จากการปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2) จุดแข็งของการบริหารเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้จากการปฏิบัติของอาจารย์ในสถาบันการศึกษาพยาบาล คือ การวางแผนเพื่อการเรียนรู้จากการปฏิบัติ การเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาจากการทำงาน การเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ทำงาน จุดอ่อน คือ การนำแผนสู่การปฏิบัติและการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้จากการปฏิบัติ การเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เป็นรายบุคคล, เพื่อเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของบุคคลและองค์กร โอกาส คือ สภาพสังคม และเทคโนโลยี ภาวะคุกคาม คือ สภาพการเมืองและนโยบายของรัฐ และสภาพเศรษฐกิจ 3) กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้จากการปฏิบัติของอาจารย์ในสถาบันการศึกษาพยาบาล มี 3 กลยุทธ์ คือ(1) ออกแบบและวางแผน การเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้จากการปฏิบัติของอาจารย์ตามพันธกิจและเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ขององค์กร (2) ยกระดับการปฏิบัติการในการเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้จากการปฏิบัติของอาจารย์ตามพันธกิจและเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ขององค์กร (3) ยกระดับการประเมินการเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้จากการปฏิบัติของอาจารย์ตามพันธกิจและเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ขององค์กร |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to study the current and the desirable states of management to enhance action learning abilities of instructors in nursing school. 2) to analyze the strengths, weaknesses, opportunities and threats of management to enhance action learning abilities of instructors in nursing school. 3) to develop strategies for management to enhance action learning abilities of instructors in nursing schools. This research method was mixed methods. The twenty-six nursing schools were used as research sample. The research instruments were questionnaire and assessment tool. The frequency, percentage, average, standard deviation, PNImodified were used in the data’s analysis. The research findings showed that 1) the overall of the current state of management to enhance action learning abilities of instructors in nursing schools was at the moderate level. Teaching and learning had the highest average while national cultural conservation had the lowest average. Learning from learning process through work experience had the highest average while learning for personal and organizational learning transformation had the lowest average. Planning for action learning had the highest average while evaluating for action learning had the lowest average. The overall of the desirable states of management to enhance action learning abilities of instructors in nursing schools was at the highest level. Teaching and learning had the highest average while national cultural conservation had the lowest average. Learning from learning process through work experience had the highest average while action learning for personal and organizational learning transformation had the lowest average. Planning for action learning had the highest average while evaluating for action learning had the lowest average. 2) It was found that the strengths of management to enhance action learning abilities of instructors in nursing schools were planning for action learning, action learning for problem solving, and action learning for learning from learning process through work experience. Weaknesses were implementing and evaluating for action learning, action learning for personal learning ability, personal and organizational learning transformation. The Opportunities were social condition and technology while the threats were the government policy and economic condition 3) Management strategies to enhance action learning abilities of instructors in nursing schools were (1) to design and plan to strengthen action learning for personal and organizational learning transformation (2) to implement efficiency to strengthen action learning for personal and organizational learning transformation (3) to increase evaluation efficiency to enhance action learning for personal and organizational learning transformation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50664 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1249 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1249 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5384248927.pdf | 21.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.