Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50667
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการบริการของข้าราชการตำรวจไทย
Other Titles: DEVELOPMENT OF A LEARNING MODEL TO ENHANCE SERVICE MIND OF THAI POLICE OFFICERS
Authors: สรช ชาติทอง
Advisors: มนัสวาสน์ โกวิทยา
มิ่งขวัญ คงเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Manaswas.K@Chula.ac.th,manaswas.k@chula.ac.th
mingkwan305@hotmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการบริการของข้าราชการตำรวจไทย เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.พัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการบริการของข้าราชการตำรวจไทย และ 2.จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการบริการของข้าราชการตำรวจไทย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ ข้าราชการตำรวจไทยที่ปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวน ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการบริการของข้าราชการตำรวจไทยประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการบริการ ได้แก่ (1) ขั้นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ (2 ) ขั้นการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนความคิด (3) ขั้นเรียนรู้ผ่านการตัดสินใจ (4) ขั้นเรียนรู้การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง 2) หลักยึดถือปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการบริการของข้าราชการตำรวจไทย มี 8 ข้อ ได้แก่ (1) การเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ (2) การดำรงตนเหมาะสมและใช้ชีวิตเรียบง่าย (3) การช่วยเหลือประชาชน (4) การรู้จักควบคุมอารมณ์และใช้กิริยาวาจาสุภาพ (5) การมีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความยุติธรรม (6) การมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และปฏิบัติตนให้เป็นที่น่าเชื่อถือและศรัทธา (7) การเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และ (8) การเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ 3) ปัจจัยของการใช้รูปแบบการเรียนรู้ มี 2 ปัจจัย ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ ผู้วิจัยในฐานะผู้สอน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในฐานะผู้เรียน และบุคคลภายนอก ประกอบด้วย เพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา และ ประชาชนที่มาติดต่องาน (2) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่สภาพแวดล้อมที่ทำงาน สภาพแวดล้อมในสถานที่อื่นๆ ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ และ สภาพแวดล้อมที่บ้าน และ 4) เงื่อนไขของการใช้รูปแบบการเรียนรู้ ประกอบด้วย 2 เงื่อนไข ได้แก่ (1) เงื่อนไขจากบุคคล ประกอบด้วย ความพร้อมของผู้เรียน ประสบการณ์ของผู้เรียน พื้นฐานการศึกษาของผู้เรียน วิธีการสะท้อนความคิดของผู้เรียน พื้นฐานทางด้านครอบครัวของผู้เรียน เวลาในการเรียนรู้ของผู้เรียน ภาระงานที่รับผิดชอบของผู้เรียน ปัญหาส่วนตัวของผู้เรียน คุณสมบัติของผู้สอน และการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา (2) เงื่อนไขจากหน่วยงาน ประกอบด้วย รางวัลและแรงจูงใจ บทลงโทษทางวินัย และ ความต่อเนื่องของการดำเนินการในการสร้างจิตสำนึกการบริการ 2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการบริการของข้าราชการตำรวจไทย มี 2 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับบุคคล ประกอบด้วย (1) ต้องส่งเสริมให้ข้าราชการตำรวจไทยมีการประพฤติปฏิบัติตนในเรื่องการให้ บริการประชาชนตามหลักที่ข้าราชการตำรวจต้องยึดถือปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการบริการ โดยจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานในการให้บริการประชาชน (2) ต้องส่งเสริมให้ข้าราชการตำรวจไทย มีการประพฤติปฏิบัติในเรื่องการให้บริการประชาชนโดยมีการให้รางวัลและแรงจูง ใจในระดับหน่วยงานและระดับสถานีตำรวจ (3) ต้องส่งเสริมให้ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่มีจิตสำนึกการให้บริการประชาชนโดยมีการใช้วิธีการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการให้บริการประชาชนผ่านประสบการณ์การให้บริการประชาชนของข้าราชการตำรวจเอง และมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง (4) ต้องส่งเสริมให้ข้าราชการตำรวจมีการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ 2) ระดับหน่วยงาน ประกอบด้วย (1) สำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องให้หน่วยงานในสังกัด ได้แก่ สถานีตำรวจ กองบังคับการ กองบัญชาการต่างๆ รับฟังเสียงจากภาคประชาชนในการทำงานร่วมกัน (2) สำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องกำหนดนโยบายการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอใน นโยบายการบริหารงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและแผนปฏิบัติราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (3) สำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้จ่ายในโครงการ/ กิจกรรมที่สนับสนุนการบริการประชาชน (4) สำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องบูรณาการโครงการ/ กิจกรรม ตลอดจนแผนงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชน กับส่วนราชการอื่นในกระบวนการยุติธรรม เช่น ศาล อัยการ สำนักงานคุมประพฤติ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการปฏิบัติที่เป็นทิศทางเดียวกันในการให้บริการ ประชาชนและสนับสนุนให้ข้าราชการมีจิตสำนึกที่ดีในการให้บริการประชาชน และ (5) จัดอบรมผู้ที่เป็นผู้สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการบริการของข้าราชการตำรวจ เพื่อให้มีข้าราชการตำรวจที่ไปประจำสถานีตำรวจในระดับกองบัญชาการ กองบังคับการ และระดับสถานีตำรวจ
Other Abstract: The study of the development of a learning model to enhance service mind of Thai police officers is a mixed methods research. The objectives of this study were: 1. to develop a learning model to enhance service mind of Thai police officers, and 2. to propose a policy for the development of a learning model to enhance service mind of Thai police officers. The participants in this study were Thai police officers who were on duty as inquiry officers. The results revealed that; 1. A learning model to enhance service mind of Thai police officers consists of four components as follows: 1) learning process to enhance service mind of Thai police officers is composed: (1) learning from the experience, (2) learning from the reflection, (3) learning from the decision making, and (4) learning from the practice continued: 2) the eight principles to be concerned in enhancing service mind of Thai police officers are: (1) to admire the monarchy's institution, (2) to sustain appropriately and live simply, (3) to help people, (4) to temperate and to express polite behavior and speech, (5) to maintain honesty and justice, (6) to take responsibility and to behave in a trustworthy and faithful manner, (7) to sacrifice for the public interest, and (8) to keep learning and to continue self-development: 3) the factors of implementation of model consists of two components as follows: (1) personal factors including researcher as an instructor, participants as learners, and outsiders along with colleagues, commanders and people in contact, and (2) environmental factors including work environment, home environment and other environment variables which can cause learning, 4) the conditions of implementation of the model consists of two components as follows: (1) personal conditions including learning readiness, learner’s experience, learner’s educational background, learner’s reflection methods, learner’s family background, learning time, learner’s responsibility, learner’s personal problem, instructor’s qualification and commander’s support, and (2) environmental conditions including rewards and motivation, disciplinary punishment, and continuity of operation in enhancing service mind; 2. Policy proposal of development of a learning model to enhance service mind of Thai police officers composes of 2 levels as follows: 1) personal level which constructs of: (1) promoting Thai police officers’ service manner according to the principles to be concerned in enhancing service mind of Thai police officers by providing a work manual of the service for people, (2) promoting Thai police officers’ service manner by offering rewards and motivation in both organization level and police station level, (3) promoting Thai police officers’ service mind by using learning methods for enhancing service mind via experiential service for people and continuously practice, and (4) promoting Thai police officers’ regular learning and self-development: 2) organizational level which constructs of: (1) Royal Thai Police command sub-organization including police stations, divisions, and bureaus, listening to the voice of the people for collaboration, (2) Royal Thai Police formulating policy into management procedure and action plans for learning and self-development, (3) Royal Thai Police allocating funds for projects and service activities for people, (4) Royal Thai Police integrating projects and activities along with work plans regarding the service for people, together with other government organizations in the process of justice such as courts, prosecutors, and probation office, in order to associate with practices of the service for people in one direction and support the government officers to instill conscience in the service for people, and (5) Royal Thai Police providing the supporters with training for self development process to encourage Thai police officers to enhance service mind for the purpose of Thai police officers to be in charges at divisions, departments, and stations.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50667
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384263227.pdf18.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.