Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50681
Title: | การพัฒนากระบวนการสร้างเสริมความสามารถของครูในการออกแบบการเรียนการสอนสำหรับเด็กในระยะเชื่อมต่อจากระดับอนุบาลสู่ระดับประถมศึกษาตามแนวคิดกลุ่มศึกษาทั้งคณะและแนวคิดการชี้แนะทางปัญญา |
Other Titles: | Development of process to promote teachers’ instructional design abilities for children during the transition between kindergarten and elementary based on whole-faculty study group and cognitive coaching approach |
Authors: | กุณฑลี บริรักษ์สันติกุล |
Advisors: | ยศวีร์ สายฟ้า ชาริณี ตรีวรัญญู |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Yotsawee.Sa@chula.ac.th,yotsawee.s@gmail.com Charinee.T@Chula.ac.th |
Subjects: | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต การวางแผนหลักสูตร การศึกษาขั้นก่อนประถม การศึกษาปฐมวัย Curriculum planning Education, Preschool Early childhood education |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการใช้กระบวนการส่งเสริมความสามารถของครูในการออกแบบการเรียนการสอนสำหรับเด็กในระยะเชื่อมต่อจากระดับอนุบาลสู่ระดับประถมศึกษาตามแนวคิดกลุ่มศึกษาทั้งคณะและแนวคิดการชี้แนะทางปัญญา การดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยและพัฒนา มี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิจัยเพื่อศึกษาสภาพปัญหาในระยะเชื่อมต่อจากระดับอนุบาลสู่ชั้นประถมศึกษา ระยะที่ 2 การวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการส่งเสริมความสามารถของครูในการออกแบบการเรียนการสอนสำหรับเด็กในระยะเชื่อมต่อ ระยะที่ 3 การวิจัยเพื่อศึกษาผลการทดลองใช้กระบวนการส่งเสริมความสามารถของครูในการออกแบบการเรียนการสอนสำหรับเด็กในระยะเชื่อมต่อ มีระยะเวลาทดลองใช้กระบวนการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2558 ถึงเดือนตุลาคม 2558 ครูผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ ครูสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร รวม 12 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กระบวนการนี้ มีแนวคิดในการสร้างระบบการทำงานแบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กในระยะเชื่อมต่อโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ครูร่วมกันออกแบบการเรียนการสอน ดำเนินการสอน สังเกตการสอน และสะท้อนผลการปฏิบัติจากการออกแบบการเรียนการสอนรวมทั้งผลที่เกิดขึ้นกับตัวเด็ก มีผู้บริหารและผู้ชี้แนะเป็นทีมสนับสนุน มีหลักการ คือ 1) การมุ่งพัฒนาผู้เรียนในระยะเชื่อมต่อบนฐานของผู้เรียนสำคัญที่สุดและใช้ข้อมูลของผู้เรียนเป็นฐาน 2) การชี้แนะให้ครูเกิดกระบวนการคิดภายในและนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์ในการพัฒนาเด็กในระยะเชื่อมต่อ 3) การมีส่วนร่วมในการทำงาน การรับผิดชอบ และการเป็นผู้นำ ขั้นตอนของกระบวนการ มี 6 ขั้นตอน คือ 1) สร้างระบบกลุ่มศึกษาทั้งคณะ เป็นการสร้างความเข้าใจในระบบการทำงานและสร้างวัฒนธรรมในการทำงานร่วมกัน 2) ชี้แนะทางปัญญา เป็นการสร้างความตระหนัก ให้ความรู้ และชี้แนะให้ครูสะท้อนคิดถึงเป้าหมายในการพัฒนาเด็กในระยะเชื่อมต่อ 3) กำหนดเป้าหมาย เป็นการร่วมกันระบุเป้าหมายในการพัฒนาเด็กในระยะเชื่อมต่อตามความต้องการจำเป็นของเด็ก 4) จัดกลุ่มศึกษา เป็นการแบ่งกลุ่มครูเป็นกลุ่มศึกษาและทำแผนปฏิบัติการของกลุ่ม 5) ฝึกฝน พัฒนา เป็นขั้นตอนที่ครูได้ลงมือออกแบบการเรียนการสอน จัดกิจกรรม เพื่อนครูร่วมสังเกตและสะท้อนผลที่เกิดกับเด็กตามเป้าหมาย และนำข้อมูลในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปปรับปรุงการออกแบบการเรียนการสอน 6) ประชุมเพื่อสะท้อนคิด เป็นการร่วมกันสะท้อนคิดและถอดบทเรียนเพื่อนำข้อเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ 2. ครูผู้เข้าร่วมกระบวนการทุกคน ได้พัฒนาความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนสำหรับเด็กในระยะเชื่อมต่อจากระดับอนุบาลสู่ระดับประถมศึกษา โดยหลังเข้าร่วมกระบวนการ ครูมีความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนสำหรับเด็กในระยะเชื่อมต่อสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกระบวนการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this research were to develop and to examine the teachers’ instructional design abilities for children during the transition between kindergarten and elementary levels based on the whole-faculty study group and cognitive coaching approach process. The research and development method was applied in this study which consisted of 3 phases: (1) research on condition and problem of children during the transition; (2) research and development of the process based on the whole-faculty study group and cognitive coaching approach and (3) research for experiment of the process. This research was conducted from February 2015 to October 2015 and the participants were 12 teachers from school under Bangkok Metropolitan. The research findings were revealed as follows: 1. The developed process was based on giving teachers in schools a structure for collaboration and develops transition children by supporting each other and; together, planning, learning, testing ideas, and sharing and reflecting on classroom practice, which administrators and coach are support team. The principles of this process are: (1) students are first and focusing on data-based transition children instructional needs, (2) cognitive coaching to focus on the desired state of transition children, and (3) everyone participates in work together, share responsibilities and leadership. There are 6 stages of the process; that is, (1) creating the whole-faculty study group system, (2) providing information for development and cognitive coaching, (3) the goal setting, (4) the study group formation, (5) practices and development, and (6) reflection. 2. The participants who participated in the initiated process significantly demonstrated their higher instructional design abilities at .05 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | หลักสูตรและการสอน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50681 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1254 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1254 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5484202027.pdf | 5.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.