Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50749
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์en_US
dc.contributor.advisorสุรสา โค้งประเสริฐen_US
dc.contributor.authorจิรายุ วงษ์ปัญญาen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:03:17Z-
dc.date.available2016-12-02T02:03:17Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50749-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะส้นของรองเท้าสตรีวัยทำงานที่มีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อขา แรงกดใต้ฝ่าเท้าและแรงปฏิกิริยาจากพื้นในขณะเดิน กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครหญิงวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปี จำนวน 21 คน ทำการวัดคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อในขณะเดิน ได้แก่ 1) Biceps femoris 2) Vastus lateralis 3) Gastrocnemius lateralis 4) Gastrocnemius medialis 5) Tibialis anterior และ 6) Soleus จำนวน 10 ก้าว ทำการวัดแรงกดใต้ฝ่าเท้าทั้งสองข้างด้วยเซ็นเซอร์ที่สวมไว้ในรองเท้า จำนวน 10 ก้าว และทำการวัดแรงปฏิกิริยาจากพื้นด้วยการเดินเหยียบบนแผ่นวัดแรงด้วยเท้าข้างที่ถนัด จำนวน 3 รอบ โดยทำการสวมรองเท้า 5 คู่ ดังนี้มี 5 แบบ คือ แบบที่ 1 ส้นแบน แบบที่ 2 ส้นเต็มสูง 2 นิ้ว แบบที่ 3 ส้นเว้ากลางสูง 2 นิ้ว แบบที่ 4 ส้นเต็มสูง 3 นิ้ว และแบบที่ 5 ส้นเว้ากลางสูง 3 นิ้ว ซึ่งได้มาจากผลสำรวจความนิยมการสวมรองเท้าสตรีวัยทำงาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ หากพบความแตกต่างจึงทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีของบอนเฟอโรนี ผลการวิจัย พบว่ารองเท้าแบบที่ 5 มีค่าเฉลี่ยร้อยละของแอมปลิจูดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ Vastus lateralis สูงกว่ารองเท้าแบบที่ 1 และแบบที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แรงกดใต้ฝ่าเท้าข้างขวาจังหวะส้นเท้าสัมผัสพื้น เมื่อสวมรองเท้าแบบที่ 1 สูงกว่ารองเท้าแบบที่ 2, 3, 4 และ5 รองเท้าแบบที่ 3 สูงกว่ารองเท้า แบบที่ 2 รองเท้าแบบที่ 3 สูงกว่ารองเท้าแบบที่ 4 และรองเท้าแบบที่ 5 สูงกว่ารองเท้าแบบที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ในจังหวะที่ปลายเท้าถีบพื้น ค่าเฉลี่ยแรงกดใต้ฝ่าเท้าข้างซ้ายจังหวะส้นเท้าสัมผัสพื้น รองเท้าแบบที่ 4 ต่ำกว่ารองเท้าแบบที่ 1 และแบบที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจังหวะที่ปลายเท้าถีบพื้น รองเท้าแบบที่ 1ต่ำกว่ารองเท้าแบบที่ 2, 3 และ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และแรงปฏิกิริยาจากพื้นไม่พบความแตกต่างเป็นรายคู่อย่างมีนัยสำคัญ สรุปผลการวิจัย การสวมรองเท้าที่มีลักษณะส้นต่างกันที่มีความสูงไม่เท่ากันมีผลต่อคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ Vastus lateralis แต่ไม่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อ Biceps femoris, Gastrocnemius lateralis, Gastrocnemius medialis, Tibialis anterior และ Soleus ลักษณะส้นและระดับความสูงของรองเท้าต่างกันมีผลต่อแรงกดใต้ฝ่าเท้าแต่ไม่มีผลต่อแรงปฏิกิริยาจากพื้นen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the heels of working women shoes on the leg muscular function, foot plantar pressure and ground reaction force. The samples were working women aged 20-40 years old (N = 21) Volunteer with normal BMI were purposively recruited to participate in the study. Electromyographic responses in 6 muscle groups were assessed: biceps femoris, vastus lateralis, gastrocnemius lateralis, gastrocnemius medialis, tibialis, and soleus during 10 steps walking. Foot plantar pressure with sensor insole during 10 steps walking and ground reaction force working three times on force plate were also measured. The subjects wore 5 high-heeled shoes with different heel types: Type 1 flat heels; Type 2 two inches wedge heels; Type 3 two inches spool heels; Type 4 three inches wedge heels; and Type 5 three inches spool heels. The obtained data were analyzed in term of means and standard deviations, one-way analysis of variance with repeated measure as well as multiple comparisons by the Bonferroni method was used to compare data variability. The statistical significance of this study was accepted at p < .05 level. Results: Electromygraphic amplitude of vastus lateralis muscle contraction was significantly higher in type 5 than in type 1 and type 2 (P<0.05). Right foot plantar pressure during heel strike was significantly higher in Type 1 than in Type 2, Type 3, Type 4 and Type 5; Type 3 higher than in Type 2; Type 3 higher than in Type 4; and Type 5 higher than Type 4 (P<0.05) and no any significances were found during toe off. Left foot plantar pressure during heel strike was significantly lower in Type 4 than Type 1 and Type 3 and during toe off Type 1 was significantly lower than Type 2, Type 3 and Type 4 (P<0.05). Ground reaction force was no any significance. Conclusion: Wearing type 5 three inches spool heels resulted in higher vastus lateralis muscle contraction. The different type of heels and high-heeled shoes make difference in foot plantar pressure but not in ground reaction force.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการศึกษาลักษณะส้นของรองเท้าสตรีวัยทำงานที่มีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อขา แรงกดใต้ฝ่าเท้าและแรงปฏิกิริยาจากพื้นในขณะเดินen_US
dc.title.alternativeA STUDY OF THE HEELS OF WORKING WOMEN SHOES ON THE LEG MUSCULARFUNCTION FOOT PLANTAR PRESSURE AND GROUND REACTION FORCES DURING WALKINGen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorThanomwong.K@Chula.ac.th,tkritpet@yahoo.comen_US
dc.email.advisorSurasa.K@chula.ac.then_US
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5578402439.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.