Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50906
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์en_US
dc.contributor.authorสุหัท ภู่ทองen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:06:17Z-
dc.date.available2016-12-02T02:06:17Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50906-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลฉับพลันของการฝึกเชิงซ้อนโดยใช้จำนวนครั้งและเวลาพักแตกต่างกันที่มีต่อพลังสูงสุด แรงสูงสุด และความเร็วสูงสุดในการกระโดด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็น นิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศชาย อายุ 18 – 22 ปี จำนวน 16 คน ที่มีค่าความแข็งแรงสัมพัทธ์ไม่ต่ำกว่า 1.5 ให้กลุ่มตัวอย่าง ฝึกด้วยน้ำหนักในท่าฮาล์ฟสควอทโดยใช้ความหนัก 85% ของ 1 อาร์เอ็มตามจำนวนครั้งและเวลาพักที่กำหนด จากนั้นให้ย่อตัวกระโดดขึ้นไปในแนวดิ่งโดยไม่มีจังหวะพัก จำนวน 1 ครั้ง ฝึกทั้งหมด 6 การทดลองคือ การทดลองที่ 1 ฝึกด้วยน้ำหนัก 6 ครั้ง พัก 30 วินาที การทดลองที่ 2 ฝึกด้วยน้ำหนัก 6 ครั้ง พัก 2 นาที การทดลองที่ 3 ฝึกด้วยน้ำหนัก 6 ครั้ง พัก 4 นาที การทดลองที่ 4 ฝึกด้วยน้ำหนัก 3 ครั้ง พัก 30 วินาที การทดลองที่ 5 ฝึกด้วยน้ำหนัก 3 ครั้ง พัก 2 นาที และการทดลองที่ 6 ฝึกด้วยน้ำหนัก 3 ครั้ง พัก 4 นาที แต่ละคน ฝึกสัปดาห์ละหนึ่งการทดลองโดยใช้การถ่วงดุลลำดับ ทำการทดสอบพลังสูงสุด แรงสูงสุด และความเร็วสูงสุดในการกระโดด ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดย หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง ด้วยการทดสอบค่าทีแบบ ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัย พบว่าหลังการทดลอง พลังสูงสุด แรงสูงสุด และความเร็วสูงสุดในการกระโดดของทุกการทดลองไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ความเร็วสูงสุดในการกระโดด ของการทดลองที่ 4 เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลได้ว่า การฝึกด้วยน้ำหนักในท่าฮาล์ฟสควอทโดยใช้ความหนัก 85%ของ 1 อาร์เอ็มจำนวน 3 ครั้ง พัก 30 วินาที (การทดลองที่ 4) มีผลฉับพลันทำให้ความเร็วสูงสุดในการกระโดดเพิ่มขึ้น เหมาะสำหรับนำไปจัดโปรแกรมการฝึกในรูปแบบของการฝึกเชิงซ้อนen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to investigate the acute effect of complex training using different repetition and rest interval on peak power, peak force and peak velocity during jump squat. Sixteen male undergraduate students, aged 18-22 years old with relative strength above 1.5, from The Faculty of Sport Science, Chulalongkorn University were recruited to participate in this study. The jumping performance was measured following one of the six complex training regimes a load of 85% of 1 RM. With variation in repetition and rest interval, six complex training regimes composed of 1) 6 repetitions with 30 seconds rest, 2) 6 repetitions with 2 minutes rest, 3) 6 repetitions with 4 minutes rest, 4) 3 repetitions with 30 seconds rest, 5) 3 repetitions with 2 minutes rest, and 6) 3 repetitions with 4 minutes rest. The jumping performance, including peak power, peak force and peak velocity during jump squat was assessed once a week in a counter-balance order. The data were analyzed by one-way analysis of variance with repeated measure and presented as means and standard deviation. The data collected before and after each treatment were compared using dependent paired-sample t-test. The results indicated that peak power, peak force and peak velocity during jump squat of six treatments were not significantly different. However, peak velocity during jump squat (treatment 4) was significantly increased at the .05 level. Conclusion this investigation indicates that the optimal load for peak velocity during jump squat in complex training occurs at using 3 repetitions of half squat at loads of 85% of 1 RM with 30 seconds rest (treatment 4).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.893-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการฝึกกำลังกล้ามเนื้อ-
dc.subjectMuscle strength training-
dc.titleผลฉับพลันของการฝึกเชิงซ้อนโดยใช้จำนวนครั้งและเวลาพักแตกต่างกันที่มีต่อพลังสูงสุด แรงสูงสุด และความเร็วสูงสุดในการกระโดดen_US
dc.title.alternativeAcute effect of complex training using different repetition and rest interval on peak power, force and velocity during jump squaten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChaninchai.I@Chula.ac.th,c.intiraporn@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.893-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5678338039.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.