Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50957
Title: การศึกษาความสามารถในการขับขี่รถยนต์และพุทธิปัญญาของผู้สูงอายุโดยใช้เครื่องจำลองการขับขี่
Other Titles: A study on driving ability and cognitive function of older drivers by using driving simulator
Authors: ทฤษฎี เงินสุขไพบูลย์
Advisors: สัณหพศ จันทรานุวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: supavut.c@chula.ac.th,supavut@gmail.com
Subjects: ผู้สูงอายุ
การขับรถยนต์
การทดสอบคนขับรถ
การรู้คิดในผู้สูงอายุ
Older people
Automobile driving
Automobile drivers' tests
Cognition in old age
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เช่นเดียวกับหลายประเทศทั่วโลก การพัฒนาทางด้านการแพทย์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลให้สัดส่วนของผู้ขับขี่รถยนต์ที่เป็นผู้สูงอายุมีเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ในผู้สูงอายุความสามารถในการขับขี่รถยนต์อาจลดลงได้ โดยเป็นผลมาจากการเสื่อมถอยลงของพุทธิปัญญา ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุเพิ่มสูงขึ้น ในงานวิจัยนี้จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพุทธิปัญญาและความสามารถในการขับขี่ของผู้สูงอายุ โดยจะทำการทดสอบผู้ขับขี่รถยนต์ทั้งวัยผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองบกพร่องเล็กน้อย การทดสอบพุทธิปัญญาจะใช้แบบทดสอบ The Montreal Cognitive Assessment (MoCA) ในการจำแนกผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองบกพร่องเล็กน้อย และแบบทดสอบ Cambridge Neuropsychological Test Automated Battery (CANTAB) ในการประเมินพุทธิปัญญาอย่างละเอียด และทดสอบความสามารถในการขับขี่รถยนต์โดยใช้เครื่องจำลองการขับขี่ในสถานการณ์จำลองที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นผ่านซอฟต์แวร์ CarnetSoft การทดสอบความสามารถในการขับขี่รถยนต์จะทดสอบการขับขี่รถยนต์ตามหลังรถยนต์คันที่อยู่ด้านหน้า การควบคุมรถให้อยู่ภายในช่องทางเดินรถ การเข้าทางร่วมทางหลัก การเปลี่ยนช่องทางเดินรถ และการหยุดรถกระทันหันเมื่อมีรถยนต์ตัดหน้า หลังจากนั้นจะนำผลที่ได้มาหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) ผลที่ได้จากการทดสอบพบว่าทักษะต่าง ๆ ในการขับขี่รถยนต์มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับพุทธิปัญญาในด้านความสามารถด้านการรับรู้ก่อมิติสัมพันธ์ ความสามารถด้านการบริหารจัดการ และการใส่ใจเชิงซ้อน ตามลำดับ ผลการทดสอบยังสามารถบอกได้อีกว่าในผู้สูงอายุ ผลจากการทดสอบ CANTAB มีความสัมพันธ์กับทุกทักษะในการขับขี่รถยนต์ โดยอายุมีความสัมพันธ์เพียงการขับขี่รถยนต์ตามหลังรถยนต์คันที่อยู่ด้านหน้า และการควบคุมรถยนต์ให้อยู่ในช่องทางเดินรถที่ความเร็วต่ำ ในขณะที่คะแนน MoCA พบความสัมพันธ์เพียงแค่การขับขี่รถยนต์ตามหลังรถยนต์คันที่อยู่ด้านหน้าเท่านั้น จากที่กล่าวมาจึงสรุปได้ว่าอายุเพียงอย่างเดียวไม่สามารถบอกถึงความสามารถในการขับขี่รถยนต์ได้ จำเป็นต้องใช้แบบทดสอบพุทธิปัญญาเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมที่ผู้สูงอายุจะสามารถขับขี่รถยนต์ได้อย่างปลอดภัย
Other Abstract: Thailand is turning into an aging society similar to a number of countries around the world. Because of medical and technological developments, the ratio of older people tends to rise. In general, older people are more susceptible to cognitive deterioration which may be linked to their lower driving ability. As a result, the risk of accidents by older people tend to increase. In this research, the correlation between cognition and the driving ability in adults, older adults and older adults with mild cognitive impairment are considered. The Montreal Cognitive Assessment (MoCA) was used to screen older adult who has mild cognitive impairment and Cambridge Neuropsychological Test Automated Battery (CANTAB) is used to assess cognition thoroughly. Driving ability was tested by using CarnetSoft driving simulator in various simulated situations. Driving ability can be measured based on various skills: car following, lane keeping, merging, lane changing, and emergency braking. Then the results can be used to find the relationship between cognition and the driving ability in older drivers by using Pearson’s correlation. It is found that driving ability has the most correlation with visuoconstructional-perceptual ability, following by executive function and complex attention. Furthermore, CANTAB results have correlation with all driving skills, while age has correlation with car following and lane keeping in low speed only. Moreover, MoCA score has correlation only with car following skill. We may conclude that age only is not a good indicator of driving ability for older drivers. Cognition test is required for analysis of driving ability of older drivers.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50957
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.19
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.19
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770181421.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.