Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50993
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุจาริณี สินไชยen_US
dc.contributor.advisorภาวดี อังค์วัฒนะen_US
dc.contributor.authorกรรณิการ์ เดชรักษาen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:08:10Z-
dc.date.available2016-12-02T02:08:10Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50993-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractในงานวิจัยนี้ มุ่งผลิตวัสดุเชิงประกอบคอร์เดียไรต์-มุลไลต์ที่มีความแข็งแรงที่อุณหภูมิสูงโดยใช้แอนดาลูไซต์เป็นวัตถุดิบ ขั้นตอนการทดลองประกอบด้วยการปรับเปลี่ยนอัตราส่วนของวัตถุดิบ ได้แก่ แอนดาลูไซต์ อะลูมินา ซิลิกา และแมกนีเซียมออกไซด์ ตามปริมาณสารสัมพันธ์เพื่อให้เกิดอัตราส่วนโดยน้ำหนักของเฟสคอร์เดียไรต์ต่อมุลไลต์ในช่วง 20:80 ถึง 80:20 จากนั้นนำส่วนผสมทั้ง 7 สูตรมาเตรียมเป็นสเลอรีเพื่อผลิตแกรนูลด้วยวิธีพ่นฝอยอบแห้ง นำแกรนูลที่ได้มาขึ้นรูปด้วยวิธีอัด โดยใช้แรงดัน 30 MPa และทำการเผาผนึกในช่วงอุณหภูมิ 1300 ถึง 1500๐C เวลายืนไฟ 2 ชั่วโมง จากการศึกษาพบว่า สเลอรีที่มีสัดส่วนของแข็งสูง (50 %โดยน้ำหนัก) ส่งผลให้แกรนูลมีรูปร่างกลมตันซึ่งช่วยพัฒนาการไหลตัวระหว่างขึ้นรูป เมื่อเพิ่มอุณหภูมิในห้องร้อนจาก 170 เป็น 210๐C พบว่าแกรนูลมีขนาดโดยเฉลี่ยโตขึ้น และการเพิ่มอัตราการให้ลมร้อนทำให้แกรนูลที่ได้มีขนาดเล็กลง แกรนูลที่ผลิตได้จากงานวิจัยนี้มีขนาดอยู่ในช่วง 10-80 ไมครอน โดยแกรนูลขนาด 25 ไมครอนมีปริมาณสูงสุด จากการตรวจสอบองค์ประกอบเฟสพบว่าวัสดุเชิงประกอบคอร์เดียไรต์-มุลไลต์บริสุทธิ์สามารถผลิตได้จากการเผาผนึกชิ้นงานทุกสูตรที่อุณหภูมิ 1450๐C โครงสร้างจุลภาคประกอบด้วยเกรนของคอร์เดียไรต์ ผลึกมุลไลต์รูปร่างเข็มที่สานตัวเป็นร่างแห และมีขนาดโตขึ้นเมื่ออุณหภูมิเผาผนึกเพิ่มขึ้น รวมทั้งเฟสเนื้อแก้วซึ่งมีปริมาณมากขึ้นเมื่ออุณหภูมิเผาผนึกและปริมาณคอร์เดียไรต์สูงขึ้น จากการทดสอบความแข็งแรงที่อุณหภูมิสูงพบว่าทุกสูตรที่ทำการศึกษาในงานวิจัยนี้มีความเหมาะสมต่อการนำมาผลิตเป็นวัสดุทนไฟชนิดคอร์เดียไรต์-มุลไลต์ โดยสูตรที่เตรียมจากอะลูมินา 10.92 % แอนดาลูไซต์ 87.46 % และแมกนีเซียมออกไซด์ 2.76 %โดยน้ำหนัก มีความต้านแรงดัดสูงสุด 54.7 MPa เหมาะสมสำหรับการใช้งานรับแรงที่อุณหภูมิสูง ในขณะที่สูตรที่เตรียมจากแอนดาลูไซต์ 75.12 % ซิลิกา 16.20 % และแมกนีเซียมออกไซด์ 9.65 %โดยน้ำหนัก สามารถต้านทานการทดสอบการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างฉับพลันที่ 1200๐C จำนวน 25 รอบได้ดีที่สุด มีอัตราการสูญเสียความต้านแรงดัดต่ำที่สุด ชิ้นงานสูตรนี้มีสัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อนต่ำ 3.18x10-6/๐C ปริมาณรูพรุนเปิด 29 % ความต้านแรงดัด 36.3 MPa และไม่พบรอยแตกร้าวหลังการทดสอบen_US
dc.description.abstractalternativeThis research is focused on the production of high thermal strength cordierite-mullite composite using andalusite as one of starting materials. Various ratios of andalusite, alumina, silica and magnesia were formulated in order to obtain stoichiometric cordierite-mullite composites in which the cordierite to mullite weight ratio ranged from 20:80 to 80:20. All batches were mixed in ball mill and granulated by spray drying method. Dense granules were uniaxially pressed under pressure of 30 MPa and sintered in air at elevated temperatures from 1300 to 1500๐C with soaking time of 2 hr. It was found that preparation of the slurry with high solid content of 50 wt% resulted in the formation of spherical and dense granules. The granule size increased with the spray drying temperature but with reduction of the flow rate. Diameter of the obtained granules ranged from 10 to 80 micron where the granule size of 25 micron gained the highest amount. At the sintering temperature of 1450๐C, pure cordierite-mullite composites were produced. The microstructure composed of small cordierite gains in the network of acicular mullite crystals. Growth of the mullite crystal and higher amount of glassy phase were observed at the higher sintering temperature. The glassy phase also increased with the cordierite content. From the thermal tests, all 7 compositions showed qualified properties those suitable for the refractory applications. Composition CR20:ML80 showed the highest bending strength of 54.7 MPa while composition CR70:ML30 gained the highest thermal shock resistance, lowest strength loss, thermal expansion coefficient of 3.18x10-6/๐C, porosity of 29 % and bending strength of 36.3 MPa with no crack found after the tests.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.863-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคอร์เดียไรต์-
dc.subjectมุลไลต์-
dc.subjectวัสดุเชิงประกอบ -- การสังเคราะห์-
dc.subjectวัสดุเชิงประกอบ -- สมบัติทางความร้อน-
dc.subjectแอนดาลูไซต์-
dc.subjectCordierite-
dc.subjectMullite-
dc.subjectComposite materials -- Synthesis-
dc.subjectComposite materials -- Thermal properties-
dc.subjectAndalusite-
dc.titleการสังเคราะห์และการเตรียมแกรนูลของวัสดุเชิงประกอบคอร์เดียไรต์-มุลไลต์en_US
dc.title.alternativeSYNTHESIS AND GRANULE PREPARATION OF CORDIERITE-MULLITE COMPOSITEen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีเซรามิกen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSujarinee.K@Chula.ac.th,sujarinee.chula@gmail.com,sujarinee.chula@gmail.comen_US
dc.email.advisorpavadeea@mtec.or.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.863-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5771910823.pdf8.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.