Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51056
Title: | การประเมินความต้องการจำเป็นของครูเพื่อพัฒนาความสามารถในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา |
Other Titles: | A NEEDS ASSESSMENT OF THE TEACHERS FOR DEVELOPING SECONDARY SCHOOL STUDENTS' LEARNING ASSESSMENT |
Authors: | กัลย์วิสาข์ ธาราวร |
Advisors: | กมลวรรณ ตังธนกานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kamonwan.T@Chula.ac.th,Kamonwan.T@Chula.ac.th |
Subjects: | การประเมินความต้องการจำเป็น ครูมัธยมศึกษา -- การฝึกอบรม การวัดผลทางการศึกษา การวัดผลทางการศึกษา -- การศึกษาและการสอน Needs assessment High school teachers -- Training of Educational tests and measurements Educational tests and measurements -- Study and teaching |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความต้องการจำเป็นของครูเพื่อพัฒนาความสามารถในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 2) วิเคราะห์สาเหตุความต้องการจำเป็นของครูเพื่อพัฒนาความสามารถในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 3) เสนอแนวทางในการพัฒนาความสามารถของครูใน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตัวอย่าง คือ ครูระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 293 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแนวคำถามในการจัดกระบวนการกลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่มแบบเทคนิคสมมตินัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง และใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาตามประสบการณ์ทำงาน และการวิเคราะห์ข้ามกลุ่มกรณีศึกษาจากตัวอย่างที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกัน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ครูระดับมัธยมศึกษามีความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาความสามารถในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้าน การออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้และการสร้างเครื่องมือมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และด้านการตรวจให้คะแนน การรายงานผล และการนำผลไปใช้ ตามลำดับ 2. สาเหตุที่ทำให้เกิดความต้องการจำเป็นในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สูงที่สุด คือ ครูขาดความรู้และทักษะด้านการวัดและประเมินผล นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นได้แก่ ครูมีภาระงานมาก การขาดความตระหนักถึงความสำคัญในการวัดและประเมินผล ตัวชี้วัดในหลักสูตรมีจำนวนมาก ทัศนคติของครูที่แตกต่างกัน วัฒนธรรมองค์กรที่มีความเกรงใจผู้อาวุโส และผู้ปกครองไม่มีเวลาให้ความร่วมมือในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3. แนวทางเพื่อพัฒนาความสามารถในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สูงที่สุด คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังมีแนวทางอื่น ได้แก่ การสร้างความตระหนักให้ครูเห็นความสำคัญของการวัดและประเมินผล การประชุมครูเพื่อช่วยกันทบทวนข้อสอบ การให้ความรู้และตัวอย่างงานที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับการประเมินแฟ้มสะสมงานแก่ครู การใช้ระบบดูแลช่วยเหลืออิเล็กทรอนิกส์กับครูในเรื่องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในกระบวนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การให้ครูประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในกระบวนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในรูปแบบของการทำงานเป็นคู่ การกำกับติดตามผลปฏิบัติงานของครูเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การมีช่องทางติดต่อกับผู้ปกครองที่หลากหลายเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน และการจัดหาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ของนักเรียน |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to study the needs of teachers developing learning assessment of secondary school students, 2) to analyze the reasons of teachers’ needs in developing learning assessment of secondary school students, and 3) to propose the approaches for developing teachers’ learning assessment of secondary school students. Samples were 293 secondary school teachers under the Office of the Basic Education Commission and the Office of the National Primary Education Commission. Research instruments employed to collect the quantitative data were the mail questionnaire. Nominal group technique was also used to collect the qualitative data. The quantitative data were analyzed by descriptive statistics, t-test, two-way ANOVA, and Modified Priority Needs Index (PNImodified), while qualitative data were analyzed by content analysis and cross-case analysis. Research findings were as follows 1. Teachers had most critical needs in the learning assessment design and construction of the assessment instruments aspect, followed by learning assessment implementation aspect, and grading, reporting and utilization aspect, respectively. 2. The needs for developing learning assessment were mainly caused by a lack of knowledge and skill in assessment, followed by a too heavy workload, a lack of awareness in the importance of assessment, a too many indicators in the curriculum, a different attitude of teachers, a considerateness to senior colleagues as an organizational culture, and the parents’ lack of time for participating in students' learning assessment. 3. The most important method for developing learning assessment was to organize training, while other methods were to build teachers' awareness about learning assessment, to hold a meeting among teachers for reviewing tests, to provide teachers with concrete work samples of portfolio assessment, to use an electronic coaching system for teachers in applying technology in learning assessment, to work as a partner in applying technology in learning assessment, to monitor teachers’ performance in learning assessment, to provide parents with several channels in learning assessment, and to provide computer programs in helping teachers analyze the learning results. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51056 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1024 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1024 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5783304527.pdf | 5.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.