Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51058
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดนีญา อุทัยสุขen_US
dc.contributor.authorณัชชา เตชะอาภรณ์ชัยen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:09:53Z
dc.date.available2016-12-02T02:09:53Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51058
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อนำเสนอกิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงพื้นเมืองสำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีต่อความเข้าใจด้านจังหวะ 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงพื้นเมืองสำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีต่อความเข้าใจด้านจังหวะ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร จำนวน 18 คน โดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงพื้นเมืองไทย ที่มีต่อความเข้าใจด้านจังหวะ 2) แผนการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงพื้นเมืองนานาชาติ ที่มีต่อความเข้าใจด้านจังหวะ 3) แบบสังเกตการตอบสนองต่อจังหวะดนตรี 4) แบบสังเกตการเต้นรำพื้นเมือง การดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและเป็นผู้ช่วยฝึกสอน สร้างเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ จากนั้นนำรูปแบบดังกล่าวทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติเชิงบรรยาย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าที (t-test) ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) กิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงพื้นเมืองสำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีต่อความเข้าใจด้านจังหวะ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ 1.1) กิจกรรมเพื่อพัฒนาจังหวะ อันได้แก่จังหวะตบ (Steady Beat) จังหวะทำนอง (Rhythm) และสัญลักษณ์โน้ต (Note Duration) 1.2) กิจรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงพื้นเมืองด้วยเพลงขั้นต้น 1 เพลง และขั้นกลาง 1 เพลง 2) ผลของการใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงพื้นเมืองสำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีต่อความเข้าใจด้านจังหวะ พบว่าคะแนนรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมากโดยกลุ่มที่ใช้บทเพลงพื้นเมืองไทยมีคะแนนสูงกว่ากลุ่มที่ใช้บทเพลงพื้นเมืองนานาชาติ (M = 4.56 , SD = .16), (M = 3.20, SD = .21) และจากการเปรียบเทียบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์นะหว่างกลุ่มไทยและกลุ่มนานาชาติด้วยค่าทีพบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThis research served the following purposes: 1) to introduce folk dance movement activities for kindergarteners to develop rhythmic understanding; 2) to study the results of the effect of folk dance movement activities towards rhythmic understanding in kindergarteners. The representative sample group comprises of 18 students from Wat Kalayanamit School in which the students are divided into 2 groups of 9 students. The tools used in this research were 1) Thai folk dance movement activity plans; 2) international folk dance movement activity plans; 3) music understanding observation; and 4) movement observation. The process of research included the study of research and the researcher’s internship as teaching assistant. The researcher developed lesson plan, collected data, and analyzed data using percentage, content analysis, descriptive statistics and t-test The research results were as follows 1) the folk dance movement activities for kindergarteners in which the researcher has developed included 1.1) activities to develop steady beat, rhythm and note durations; 2) activities accompanied by one basic and one intermediate folk songs. Second, dancing with Thai folk music showed high level of students’ understanding than dancing with International folk music. (M = 4.56 , SD = .16), (M = 3.20, SD = .21). And by comparing the difference in achievement between groups like Thailand and international groups were not significantly different at And by comparing the difference in achievement between groups like Thailand and international groups by T-Test statistically were not different at the .05 level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1116-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการศึกษาปฐมวัย
dc.subjectจังหวะ -- การศึกษาและการสอน
dc.subjectการเต้นรำพื้นเมือง
dc.subjectEarly childhood education
dc.subjectRhythm -- Study and teaching
dc.subjectFolk dancing
dc.titleผลการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงพื้นเมืองสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีต่อความเข้าใจจังหวะen_US
dc.title.alternativeEffects of folk dance movement activities for kindergarteners to develop rhythmic understandingen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineดนตรีศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorDneya.U@Chula.ac.th,noonnin@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.1116-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5783321127.pdf14.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.