Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51127
Title: การเหนี่ยวนำการผสมและกลไกการเหนี่ยวนำการผสมในระนาบตัดขวางการไหลของเจ็ตในกระแสลมขวาง
Other Titles: Entrainment and Cross-Plane Entrainment Mechanism of Jets in Crossflow
Authors: ขวัญมณฑ์ ศรพรหม
Advisors: อศิ บุญจิตราดุลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Asi.B@Chula.ac.th,Asi.B@Chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาโครงสร้างของเจ็ต ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของเจ็ตและกระแสลมขวาง การเหนี่ยวนำกระแสลมขวางโดยเจ็ต และโดยเฉพาะกลไกการเหนี่ยวนำการผสมของเจ็ตในกระแสลมขวาง (JICF) โดยเพื่อที่จะประเมินวัดอัตราส่วนการเหนี่ยวนำการผสมเชิงปริมาตร (E) โดยตรง จึงใช้วิธี Stereoscopic Particle Image Velocimetry (SPIV) ควบคู่กับ (A) เทคนิคการใส่อนุภาคติดตามการไหลเฉพาะในเจ็ตเท่านั้น ไม่ใส่ในกระแสลมขวาง และเพื่อที่จะศึกษากลไกการการเหนี่ยวนำการผสม จึงใช้วิธี SPIV ควบคู่กับ (A) เทคนิคการใส่อนุภาคติดตามการไหลเฉพาะในเจ็ตเท่านั้น ไม่ใส่ในกระแสลมขวาง และ (B) เทคนิคการใส่อนุภาคติดตามการไหลทั้งในเจ็ตและกระแสลมขวาง ดังนี้ งานวิจัยนี้จึงสามารถหาความเร็วของกระแสลมขวางบริสุทธิ์ได้จาก (C) = (B)-(A) การทดลองทำที่อัตราส่วนความเร็วประสิทธิผล (r) เท่ากับ 4, 8, และ 12 ค่าเรย์โนลส์นัมเบอร์ของกระแสลมขวางคงที่เท่ากับ 3,100 ผลการศึกษาพบว่า เมื่อพิจารณาบน rd scale ที่อัตราส่วนความเร็วประสิทธิผล r เดียวกัน เมื่อเจ็ตพัฒนาไปตามแนว downstream อัตราส่วนการเหนี่ยวนำการผสมเชิงปริมาตร (E) จะเพิ่มขึ้น และจะสามารถประมาณได้ด้วยสมการเลขยกกำลัง และเมื่อพิจารณาที่ x/rd เดียวกัน เมื่อ r เพิ่มขึ้น E จะเพิ่มขึ้น แสดงว่า JICF ที่มีค่า r สูง จะมีค่า E สูงกว่า JICF ที่มีค่า r ต่ำ อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาบน d scale พบว่าที่ x/d เดียวกัน ในขณะที่บริเวณ far field เมื่อ r เพิ่มขึ้น E จะเพิ่มขึ้น แต่ที่บริเวณ near field แม้ว่าค่า r จะสูงขึ้น แต่ค่า E จะประมาณคงที่ ชี้แนะว่า d scale จะสามารถ collapse E ของ JICF ได้ดีกว่า rd scale ที่บริเวณ near field สำหรับการศึกษากลไกการเหนี่ยวการผสมในระนาบตัดขวางพบว่า โครงสร้าง CVP ของเจ็ต (Jet-CVP) จะเป็นโครงสร้างสำคัญในการเหนี่ยวนำการผสมอย่างน้อยในระนาบตัดขวางการไหลและในช่วงที่ทำการศึกษา กล่าวคือ 1) Jet-CVP จะเหนี่ยวนำกระแสลมขวางบริสุทธิ์ที่อยู่บริเวณด้านข้างทั้งสองข้างของเจ็ตให้มีการเคลื่อนที่แบบหมุนวนในทิศทางพุ่งลง-พุ่งเข้า-พุ่งขึ้น (downward-inward-and-upturn) เข้าสู่ทางเข้าของช่องการไหลลู่เข้า-ออกในแนวดิ่ง (converging-diverging vertical channel of high upward flow, VC) ที่ขอบด้านใต้ของเจ็ต จากนั้น 2) กระแสลมขวางดังกล่าวจะไหลผ่านช่องการไหลในแนวดิ่งที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดขึ้นและขับเคลื่อนให้คงอยู่ได้ด้วย CVP ของเจ็ต นอกจากนั้นยังพบว่า บริเวณที่มีการเหนี่ยวนำกระแสลมขวางบริสุทธิ์เข้ามาผสมสูง คือบริเวณส่วนลู่เข้าของช่องการไหลในแนวดิ่งนี้ โดยการเหนี่ยวนำกระแสลมขวางบริสุทธ์เข้ามาผสมจะประมาณได้ว่าเสร็จสิ้นแล้วหรือเกือบเสร็จสิ้นแล้วในส่วนนี้ ทำให้เมื่อของไหลไหลถึงตำแหน่งคอคอด (throat) ของช่องการไหลลู่เข้า-ออกในแนวดิ่งนี้ ของไหลจะกลายเป็นส่วนผสมของเจ็ต (jet-fluid mixture) เกือบหมด จากนั้นส่วนผสมของเจ็ตจะไหลขึ้นผ่านส่วนลู่ออก เข้าสู่บริเวณกลางเจ็ตที่เป็นโครงสร้างรูปอ่าวที่มีความเร็วเจ็ตเฉลี่ยไร้มิติตามแนวแกน streamwise ต่ำ จากนั้น 3) โครงสร้างรูปไตของเจ็ตที่มีความเร็วเจ็ตเฉลี่ยไร้มิติตามแนวแกน streamwise สูง จะเหนี่ยวนำส่วนผสมของเจ็ตในบริเวณอ่าวที่อยู่ด้านใต้ ให้เข้าผสมกับโครงสร้างรูปไตของเจ็ตเอง คล้ายการเหนี่ยวนำการผสมของเจ็ตอิสระ (Free jet) นอกจากนี้ ผลการศึกษายังพบว่า ถึงแม้ว่าเจ็ตในกระแสลมขวางจะมี r ต่างกัน แต่จะมีกลไกการเหนี่ยวนำการผสมในระนาบตัดขวางการไหลคล้ายคลึงกัน อย่างน้อยในช่วงพารามิเตอร์ที่ทำการศึกษา เพื่อที่จะสอบทวนกลไกการเหนี่ยวนำการผสมในระนาบตัดขวางที่พบ งานวิจัยนี้จึงคำนวณอัตราการไหลของกระแสลมขวางบริสุทธิ์ที่ไหลเข้าสู่เจ็ตผ่านพื้นผิวความน่าจะเป็นที่จะพบเจ็ตคงที่ ซึ่งอัตราการไหลของกระแสลมขวางบริสุทธิ์นี้จะเป็นปริมาณที่แสดงถึงการเหนี่ยวนำกระแสลมขวางบริสุทธ์เข้าสู่เจ็ต พบว่า ผลการคำนวณสอดคล้องในเชิงคุณลักษณะกับการลดลงของการเพิ่มขึ้นของ E ที่ได้จากการวัดโดยตรง และกับผลของ r ต่อ E ท้ายสุด เพื่อที่จะค้นหากลไกการเหนี่ยวนำการผสมอื่น งานวิจัยนี้จึงศึกษากลไกการเหนี่ยวนำการผสมในระนาบสมมาตรด้วย ผลการศึกษาพบว่า ในมุมมองจากระนาบสมมาตรและของการไหลเฉลี่ย การเหนี่ยวนำการผสมสามารถอธิบายได้ดังนี้ 1) ทางด้านหน้าที่ปะทะลม (กระแสลมขวาง) ของเจ็ต (windward) การเหนี่ยวนำเอากระแสลมขวางบริสุทธิ์เข้ามาผสมเกิดจากโครงสร้าง spanwise rollers ด้านปะทะลมของเจ็ต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างรูปไตเมื่อมองจากระนาบตัดขวาง นอกจากนั้น ในมุมมองของการไหลเฉลี่ย ยังพบว่า ความเร็วของกระแสลมขวางตามแกน streamwise เท่านั้น ไม่ใช่ตามแนว Transverse ที่ก่อให้เกิดการเหนี่ยวนำการผสมในบริเวณนี้ 2) ทางด้านหลังลมของเจ็ต (leeward) พบการเหนี่ยวนำเอากระแสลมขวางบริสุทธ์เข้ามาผสมโดยโครงสร้าง CVP ของเจ็ต ตามด้วย การเหนี่ยวนำเอาส่วนผสมของเจ็ตเข้ามาผสมโดยโครงสร้างรูปไต (โดยเฉพาะเจาะจงคือ ส่วนของโครงสร้างรูปไตที่เป็นโครงสร้าง spanwise rollers ด้านหลังลมของเจ็ต) สอดคล้องกับผลการศึกษาในระนาบตัดขวางการไหล นอกจากนั้น ในมุมมองของการไหลเฉลี่ย ยังพบว่า ความเร็วของกระแสลมขวางตามแกน transverse เท่านั้น ไม่ใช่ตามแนว streamwise ที่ก่อให้เกิดการเหนี่ยวนำการผสมโดยโครงสร้าง CVP ของเจ็ต
Other Abstract: Structures, jet-and-crossflow interactions, entrainment, and cross-plane entrainment mechanism of jets in crossflow (JICF) are investigated. On the one hand, in order to determine the volumetric entrainment ratio (E) more directly, Stereoscopic Particle Image Velocimetry (SPIV) together with (A) the jet fluid only – and not the crossflow fluid - seeding scheme is used. On the other hand, in order to investigate the structures, jet-and-crossflow interactions, and cross-plane entrainment mechanism of jets in crossflow more clearly, both (A) the jet-fluid only seeding scheme and (B) the jet-and-crossflow fluid seeding scheme need to be employed. The pure crossflow velocity induced by the jet can then be determined from (C) = (B)-(A). The experiment is conducted at the jet-to-crossflow effective velocity ratios (r) of 4, 8, and 12 and a fixed crossflow Reynolds number (Recf) of 3,100. For entrainment E, the results show that on rd-scale the relation between E and x/rd can be represented by one-plus-power law. As for the effect of r at the same x/rd, when r increases, E also increases. In other words, on rd-scale, JICF with higher r entrains more than JICF with lower r. However, on d-scale the results show that, at the same x/d, while in the far field E increases significantly with r, in the near field it varies less with r. These suggest that d-scale can better collapse E of JICF than rd-scale in the near field. For the structures, jet-and-crossflow interactions, and cross-plane entrainment mechanism, the results show that the jet-CVP is the main mechanism for JICF entrainment, at least in the cross planes and in the range of parameters investigated. Furthermore, JICF entrainment in the cross-plane and in the mean flow perspective can be summarized in three stages as follows. 1) Jet-CVP-induced pure crossflow vortical motion: The jet-CVP induces the pure crossflow fluid from each lateral side of the jet to have downward-inward-and-upturn motion towards the inlet of the ‘converging-diverging vertical channel of high upward flow (VC)’ at the bottom edge of the jet. 2) Jet-CVP-induced converging-diverging vertical channel of high upward flow: The pure crossflow at the bottom edge of the jet is then further induced by the jet-CVP to flow almost vertically upward through the VC, whose existence and persistence in the downstream direction is induced and fueled by the jet-CVP. More importantly, it is found that the region of high rate of entrainment is in the converging section of the channel. This is such that at the end of the converging section and towards the throat of the channel, the entrainment of pure crossflow fluid by the jet is virtually complete, and the fluid at the throat of the channel becomes mainly jet-fluid mixture. Subsequently, the jet-fluid mixture further flows upward along the diverging section of the channel, which leads towards the gulf region of low streamwise jet velocity. 3) Free-jet like entrainment of jet kidney-shaped structure: Jet kidney-shaped structure of high streamwise jet velocity subsequently entrains the jet-fluid mixture in the gulf region below it into jet itself, similar to entrainment of a free jet. Furthermore, the results show that JICFs with different r have similar jet-CVP dominated cross-plane entrainment mechanism, at least in the ranges of parameters investigated. In order to qualitatively evaluate the entrainment mechanism found, the normalized pure crossflow volume flowrates through surfaces of constant probability of finding the jet fluid in the cross planes – which are indicative of the pure crossflow volume flowrates being entrained - are evaluated. The results are qualitatively in agreement with the increase in E in the downstream direction as well as the effect of r on E. Finally, the center-plane entrainment is also investigated in order to search for other entrainment mechanism. From the center-plane and mean-flow perspective, the results show the followings. 1) On the windward side of the jet facing the incoming crossflow, entrainment of pure crossflow fluid by the jet (windward) spanwise rollers, which are manifested as (part of) the jet kidney-shaped structure in the cross-plane, are observed. In addition, from the mean flow perspective, it is observed that only the streamwise – and not the transverse – velocity component of pure crossflow fluid contributes to this entrainment. 2) On the leeward side of the jet, the ‘jet-CVP entrainment of pure crossflow’ followed by the ‘jet kidney-shaped structure (specifically, jet leeward spanwise rollers) entrainment of jet-fluid mixture’ are observed, in consistent with what observed in the cross-planes. Furthermore, from the mean flow perspective, it is observed that only the transverse – and not the streamwise – velocity component of the pure crossflow fluid contributes to entrainment by the jet CVP.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51127
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5870325621.pdf27.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.