Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51185
Title: | การนำเสนอรูปแบบการส่งเสริมผู้สูงอายุที่มีศักยภาพบนฐานระบบสุขภาพพอเพียง |
Other Titles: | Proposed an active ageing enhancement model based on the sufficiency health system |
Authors: | สุรพิเชษฐ์ สุขโชติ |
Advisors: | อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร วิไล ตั้งจิตรสมคิด |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Ubonwan.H@Chula.ac.th,ubonwan.h@chula.ac.th wilaildru@gmail.com |
Subjects: | ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ -- การดำเนินชีวิต ผู้สูงอายุ -- ภาวะเศรษฐกิจ Older people Older people -- Conduct of life Older people -- Economic conditions |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการส่งเสริมผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ 2) วิเคราะห์การเรียนรู้ในการส่งเสริมผู้สูงอายุที่มีศักยภาพบนฐานระบบสุขภาพพอเพียง และ 3) นำเสนอรูปแบบการส่งเสริมผู้สูงอายุที่มีศักยภาพบนฐานระบบสุขภาพพอเพียง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ได้แก่ ก) การศึกษาเอกสาร ข)การวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม เพื่อสำรวจระดับการปฏิบัติตนที่จะนำไปสู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ และความคิดเห็นต่อการดำเนินงานส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เข้าสู่วัยสูงอายุและผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและ 4 จังหวัดจาก 4 ภูมิภาคทั่วประเทศที่คัดเลือกจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) และการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน 720 คน ค) การวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุ ง) การสังเกตแบบมีส่วนร่วมการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ รวมทั้ง จ) สัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ สวัสดิการสังคม สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 6 ท่าน ผลการวิจัย พบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติตนที่จะนำไปสู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ อยู่ในระดับปฏิบัติบ้างเป็นบางครั้ง (ระดับ 3 จาก 4 ระดับ) ซึ่งเน้นการปฏิบัติตนด้านการมีส่วนร่วมทางสังคมและด้านสุขภาพ ค่อนข้างมาก แต่ให้ความสำคัญกับการมีหลักประกันในชีวิตค่อนข้างน้อย และยังต้องพึ่งพิงจากสมาชิกในครอบครัวเป็นหลัก โดยเฉพาะผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุ 80 ปีขึ้นไป) แรงงานนอกระบบที่มีรายได้น้อย และมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูง และผู้ที่มีสถานภาพโสด ซึ่งมีความเสี่ยงในการขาดผู้ดูแล ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังขาดการเชื่อมโยงแผนงานอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งขาดการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะส่วนร่วมจากประชาชนผู้ที่ยังไม่เข้าสู่วัยสูงอายุ 2. การเรียนรู้ในการส่งเสริมผู้สูงอายุที่มีศักยภาพบนฐานระบบสุขภาพพอเพียง พบว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ คนในสังคม ยังมีการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างเจตคติเกี่ยวกับศักยภาพของผู้สูงอายุที่ถูกต้องค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุวัยปลาย ส่วนของกิจกรรมการเรียนรู้และการเสริมสร้างประสบการณ์ระหว่างช่วงวัย ยังมีลักษณะเป็นโครงการที่ขาดความเชื่อมโยงในลักษณะบูรณาการ นอกจากนี้เนื้อหาการเรียนรู้ไม่สามารถส่งเสริมหลักประกันในชีวิตเพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ 3. รูปแบบการส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพบนฐานระบบสุขภาพพอเพียง ที่ยึดหลักทางสายกลาง หลักความสมดุล หลักความพอประมาณ สร้างระบบภูมิคุ้มกัน และสร้างระบบการเรียนรู้ให้เท่าทัน มีกลไกสำคัญคือสถาบันครอบครัวและชุมชนที่เกิดขึ้นจากระบบความสัมพันธ์ทางสังคม เช่น เครือข่าย กลุ่มจิตอาสา เป็นโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมหลักในการส่งเสริมการเรียนรู้ภายนอกให้กับผู้สูงอายุเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกัน และการเรียนรู้ให้เท่าทัน โดยมีแบบแผน การดำรงชีวิตส่งเสริมการเรียนรู้ภายในให้กับผู้สูงอายุให้สามารถดำเนินชีวิตตามหลักทางสายกลาง มีความสมดุล และมีความพอประมาณ อย่างเป็นองค์รวม |
Other Abstract: | This research aims 1) to study the situation of active ageing enhancement 2) to analyze the learning in enhancing active ageing based on the sufficiency health system and 3) to propose an active ageing enhancement based on the sufficiency health system. Quantitative and qualitative research methods had been applied in this study, i.e. a) the documentary study; b) the survey research by means of questionnaire. These methods explored the level of practices leading to active ageing and the opinion on the enhancement of active ageing. The sample consisted of the pre-old age and the elderly who are members of the senior clubs in Bangkok and 4 other provinces representing the four geographical nationwide. These samples were selected by the cluster sampling and simple random sampling for the total of 720 cases; c) the survey by means of the interview with the executives and officers who work in the elderly field; d) the participant observation of active ageing life style; and e) the in-depth interview of health professionals in social welfare, social work, non-formal education, and informal education for the number of 6 persons. This research found that 1. The subjects had practiced to become active ageing at the degree of ‘sometimes’ level (the third of four levels), mostly participating in the social and health aspects; however, rarely focusing on the security. They also primarily depend on family members, especially the very old age (aged 80 and over), the elderly workers with low income but high health care cost, and the single elderly. These groups had more risk of lacking care givers. Moreover, the relevant authorities had an inadequate linkage of concrete plans and a participation from all sectors was lacking especially from people who are not yet old age. 2. With regard to the learning to enhance active ageing based on the sufficiency health system, it was found that related agencies and people in society had a limited operational learning to enhance knowledge about the potential of the elderly, especially the very old age. The learning activities and the promotion of experiences among aged groups were found to be lacking with regard to the linkage and integration between projects. In addition, the learning contents did not contribute to life security to promote self-reliance. 3. An active ageing enhancement model based on the sufficiency health system adhering the principles of middle path, equilibrium, moderation, and self-immunity rely on significant mechanisms. That is, families and communities deriving from social relations, for example, net works and volunteers. These mechanisms are the social structure and the core culture that promote the elderly’s learning for self-immunity and the ability of seeing through. Such a structure should provide the elderly with life patterns that promote internal learning for them to live the lives with moderation and equilibrium holistically. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | พัฒนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51185 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1157 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1157 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5484476727.pdf | 7.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.