Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5118
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิพัฒน์ พัฒนผลไพบูลย์-
dc.contributor.advisorวีระชัย ณ นคร-
dc.contributor.authorวิมลมาศ นุ้ยภักดี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคเหนือ)-
dc.coverage.spatialเชียงใหม่-
dc.date.accessioned2007-12-25T07:18:22Z-
dc.date.available2007-12-25T07:18:22Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743331514-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5118-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractารเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของป่าเต็งรังตามระดับความสูงบริเวณสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่ ศึกษาโดยวางแปลงตัวอย่างขนาด 100 x 100 เมตร2 ที่ระดับความสูง 700, 800, 900 และ 1,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ระดับความสูงละ 1 แปลง จำแนกชนิดไม้ยืนต้นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระดับอก (DBH) ตั้งแต่ 4.5 เซนติเมตรขึ้นไป มีจำนวนชนิดพันธุ์ไม้เท่ากับ 46, 52, 61 และ 63 ชนิดตามลำดับ มีดรรชนีความหลากชนิดเท่ากับ 3.06, 2.74, 3.07 และ 2.95 ตามลำดับ สังคมพืชที่ระดับความสูง 700-1,000 เมตร เป็นสังคมป่าเต็งรังระดับสูง ที่ระดับความสูง 700 เมตร ไม้เด่นของสังคมคือ พลวง (Dipterocarpus tuberculatus), เต็ง (Shorea obtusa), ตูมกาขาว (Strychnos nux-blanda) และเหียง (Dipterocarpus obtusifolius) ที่ระดับความสูง 800 เมตร ไม้เด่นคือ พลวง, เต็ง, ก่อแพะขน (Quercus kerrii) และเหมือดโลด (Aporosa villosa) โดยมีพลวงเป็นไม้เด่นยึดครองพื้นที่อย่างเด่นชัด ที่ระดับความสูง 900เมตร ไม้เด่นคือ เต็ง, พลวง, เหียง, และก่อแพะขน โดยมีสัดส่วนระหว่างชนิดพันธุ์ไม้เด่นแต่ละชนิดในปริมาณใกล้เคียงกันที่ระดับความสุข 1,000 เมตร ไม้เด่น คือ พลวง, ก่อแพะขน, เต็ง, และรัง (Shorea siamensis) ตามลำดับ โดยมีพลวงเป็นไม้เด่นยึดครองพื้นที่อย่างเด่นชัดและพบไม้วงศ์ก่อ (Fagaceae) ขึ้นปะปนอยู่ด้วย สังคมพืชที่มีความคล้ายคลึงกันมากที่สุดคือ สังคมพืชที่ระดับความสูง 800 เมตร และ 900 เมตร โดยมีค่าดัชนีความคล้ายคลึงเท่ากับ 71.19% และสังคมพืชที่มีความแตกต่างกันมากที่สุดคือ สังคมพืชที่ระดับ 700 และ 1,000 เมตร โดยมีค่าดัชนีความคล้ายคลึงเท่ากับ 53.10% พันธุ์ไม้ทั้งหมดและไม้เด่นอันดับที่ 1-3 ของแต่ละสังคมที่ระดับความสูง 700-1,000 เมตร มีการกระจายแบบกลุ่ม (contagious distribution) ระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเลมีความสัมพันธ์ในทางลบกับปริมาณแคลเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ของดินที่ระดับความลึก 15, 30 และ 50 เซนติเมตร, ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดที่ระดับความลึก 15 เซนติเมตร, อินทรียวัตถุที่ระดับความลึก 15 เซนติเมตร, ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ที่ระดับความลึก 15 และ 50 เซนติเมตร, ความเป็นกรด-ด่างของดินที่ระดับความลึก 15 และ 30 เซนติเมตร และปริมาณอนุภาคทรายแป้งที่ระดับความลึก 15 และ 30 เซนติเมตร มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับปริมาณอนุภาคดินเหนียวที่ระดับความลึก 15 และ 30 เซนติเมตร, ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ที่ระดับความลึก 15 เซนติเมตรและปริมาณโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ที่ระดับความลึก 15 และ 30 เซนติเมตร ระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับจำนวนชนิดพันธุ์ไม้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับเปอร์เซนต์ของพื้นที่หน้าตัดต่อพื้นที่แปลงอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01)en
dc.description.abstractalternativeChange in the structure of deciduous dipterocarp forest was studied along an altitudinal gradient at Queen Sirikit Botanic Garden, Chiang Mai province. Each of permanent plot of 100 x 100 m2 (1 ha) was established at 700, 800, 900 and 1000 m above mean sea level (MSL). Trees with DBH more than 4.5 cm were identified. There were 46, 52, 61 and 63 species inthe plot of 700, 800, 900 and 1000 m MSL, respectively. The species diversity indices were 3.06, 2.74, 3.07 and 2.95 respectively. Plant community at 700-1000 m MSL was deciduous dipterocarp forest. The dominant tree species in the plot of 700 m MSL were Phluang (Dipterocarpus tuberculatus), Teng (Shorea obtusa), Tumkakhao (Strychonos nux-blanda) and Hiang (D.obtusifolius). Those of 800 m MSL were Phluang, Teng, Ko phae kon (Quercus kerrii) and Mueat lot (Aporosa villosa). In the 900 m MSL plot, it was dominated by Teng, Phluang, Hiang and Ko phae kon. For the 1,000 m MSL plot, the dominant tree specise were Phluang, Ko phae kon, Teng and Rang (S.siamensis). There was also a mixture of Fagaceae trees in this plot. Plant communities at the 800 and 900 m MSL were the most similar, similarity index was 71.19%. In contrast, plant communities of the plots at 700 and 1000 m MSL were obviously different, similarity index was 53.10%. All species in the plot from 700-1000 m MSL were contagious distribution. Altitudinal gradient had negative relationships with exchangeable Ca at soil depth of 15, 30 and 50 cm, total N at 15 cm, organic matter at 15 cm, available P at 15 and 50 cm, pH at 15 and 30 cm and silt at 15 and 30 cm but had positive relationships with clay at 15 and 30 cm, exchangeable K at 15 cm and exchangeable Na at 15 and 30 cm. Altitudinal gradient above MSL were positively correlated with the number of plant species (p<0.05) and percentage of basal area per plot (p<0.01).en
dc.format.extent6671475 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสังคมพืชen
dc.subjectป่าเต็งรังen
dc.subjectนิเวศวิทยาพืชen
dc.subjectสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่en
dc.titleการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของป่าเต็งรังตามระดับความสูง บริเวณสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่en
dc.title.alternativeChange of deciduous dipterocarp forest structure along the altitudinal gradient Queen Sirikit Botanic Garden, Chiangmai provinceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wimonmart.pdf6.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.