Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51256
Title: | การพัฒนากระบวนการประเมินทักษะปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการสืบสอบแบบแนะแนวทาง |
Other Titles: | Development of assessment processes for science laboratory skills using guided inquiry approach |
Authors: | นรีรักษ์ ทองสะอาด |
Advisors: | ศิริเดช สุชีวะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Siridej.S@Chula.ac.th,sujiva.siridej@gmail.com,ssiridej@chula.ac.th |
Subjects: | วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ Science -- Study and teaching Science process skills Scientific ability |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากระบวนการประเมินทักษะปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้แนวคิดการสืบสอบแบบแนะแนวทาง 2) เพื่อพัฒนาเครื่องมือในการประเมินทักษะปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้แนวคิดการสืบสอบแบบแนะแนวทาง และ 3) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือในการประเมินทักษะปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้แนวคิดการสืบสอบแบบแนะแนวทาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในห้องเรียนที่จัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ด้วยวิธีการสืบสอบแบบแนะแนวทางภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนที่อยู่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 132 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการประเมินทักษะปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้แนวคิดการสืบสอบแบบแนะแนวทาง ประกอบไปด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การตั้งสมมติฐานหรือปัญหาในการทดลอง 2. การวางแผนการทดลอง 3. การสำรวจและเก็บข้อมูล 4. การวิเคราะห์ข้อมูล 5. การสร้างข้อสรุป 6. การประเมิน และ 7. การขยายความรู้ 2) เครื่องมือในการประเมินมีความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน มีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.787 – 0.910 3) เครื่องมือในการประเมินมีค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมิน (inter-rater reliability) มีความสัมพันธ์กันสูงที่ระดับนัยสำคัญที่ .01 4) ขั้นตอนที่นักเรียนมีคะแนนค่าเฉลี่ยในของการประเมินสูงสุด ได้แก่ การตั้งสมมติฐาน การวางแผนการทดลองและการสำรวจและเก็บข้อมูล และขั้นตอนที่นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยในการประเมินต่ำสุด ได้แก่ การสรุปผล การประเมินและการสะท้อนข้อมูล และการขยายความรู้ |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to develop science laboratory skills assessment process using guide-inquiry approach ; 2) to develop instrument of science laboratory skills assessment process using guide-inquiry approach; and 3) to validate the quality of science laboratory skills assessment process using guide-inquiry approach. Participants were 132 eighth grade students in secondary educational service area. The research findings were as follows: 1) seven steps of science laboratory skills assessment process using guide-inquiry approach were assumption, planning, survey and collect data, analysis and synthesis, reach conclusion, evaluation and reflection, and applying; 2) internal consistency reliability instruments of science laboratory skills assessment process using guide-inquiry approach are 0.787 – 0.910; 3) there was a significant at .01 level on consequences from pearson product moment correlation coefficient of inter-rater; and 4) process students had the highest average rating assumptions, planning, surveys and data collection and process that the students had the lowest average in reach conclusion, evaluation and reflection, and applying. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51256 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1147 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1147 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5583463427.pdf | 9.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.