Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51298
Title: ผลของกลุ่มพัฒนาตนที่ใช้รูปภาพเป็นสื่อต่อการพัฒนาความงอกงามหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญและสุขภาวะทางจิตของสตรีภายหลังการรักษามะเร็งเต้านม
Other Titles: Effect of personal growth group with photo-elicitation on posttraumatic growth and psychological well-being among women with post breast cancer treatment
Authors: ทศพร ประไพทอง
Advisors: ณัฐสุดา เต้พันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Nattasuda.T@Chula.ac.th,tnattasuda@gmail.com
Subjects: ความผิดปกติทางจิตหลังภัยพิบัติ
สุขภาวะ
เต้านม -- มะเร็ง -- ผู้ป่วย
Post-traumatic stress disorder
Well-being
Breast -- Cancer -- Patients
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มพัฒนาตนที่ใช้รูปภาพเป็นสื่อต่อการพัฒนาความงอกงามหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญและสุขภาวะทางจิต ของสตรีภายหลังการรักษามะเร็งเต้านม กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีภายหลังการรักษามะเร็งเต้านม กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามแบบมีการวัดซ้ำ (Repeated Measures MANOVA) พบว่า 1) ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกลุ่มพัฒนาตนที่ใช้รูปภาพเป็นสื่อ มีคะแนนความงอกงามหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญสูงกว่าก่อนการทดลอง (p <.05) 2) ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกลุ่มพัฒนาตนที่ใช้รูปภาพเป็นสื่อ มีคะแนนความงอกงามหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม 3) ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกลุ่มพัฒนาตนที่ใช้รูปภาพเป็นสื่อ มีคะแนนสุขภาวะทางจิตสูงกว่าก่อนการทดลอง (p <.05) 4) ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกลุ่มพัฒนาตนที่ใช้รูปภาพเป็นสื่อมีคะแนนสุขภาวะทางจิตไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม
Other Abstract: The purpose of this research were to examine the effect of personal growth group with photo-elicitation on posttraumatic growth and psychological well-being among women with post breast cancer treatment. Participants are 30 post breast cancer treatment women who pass the inclusion criteria, were equally assigned into the experimental group and control group. Data were then analyzed using descriptive statistics, Repeated Measures MANOVA. The result of the research were found that: 1) the posttest score on the PTGI-SF scale of the experimental groups were significantly higher than the pretest one (p <.05), 2) there are no differences on the PTGI-SF scale between the control and the experiment group, 3) the posttest score on the psychological well-being scale of the experimental groups were significantly higher than the pretest one (p <.05), 4) there are no differences on the psychological well-being scale between the control and the experiment group
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51298
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.824
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.824
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5677609038.pdf3.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.