Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51325
Title: ฤทธิ์ต้านมะเร็งและฤทธิ์ต้านการดื้อยาของไดไฮโดรอาร์เทมิสินินในเซลล์มะเร็งเต้านมที่ดื้อต่อทาม็อกซิเฟน
Other Titles: Anticancer and drug resistant reversal effects of dihydroartemisinin on tamoxifen resistant breast cancer cells
Authors: นิศากร พรสมชัย
Advisors: วรรณรัศมี เกตุชาติ
วัชรี ลิมปนสิทธิกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Wannarasmi.K@Chula.ac.th,kw3125@hotmail.com
Wacharee.L@Chula.ac.th
Subjects: เต้านม -- มะเร็ง -- การรักษาด้วยยา
ยารักษามะเร็ง
การดื้อยา
Breast -- Cancer -- Chemotherapy
Antineoplastic agents
Drug resistance
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: มะเร็งเต้านมจัดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของไทย ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีการรักษาที่ดีขึ้น แต่กลับพบว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิดที่มีการแสดงออกของตัวรับเอสโตรเจนในระยะลุกลาม ร้อยละ 40 มีการพัฒนาของโรคจนเกิดการดื้อต่อยาทาม็อกซิเฟนที่ใช้รักษา นำไปสู่การลุกลามและแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ ไดไฮโดรอาร์เทมิสินินเป็นสารกึ่งสังเคราะห์ที่ได้จากพืช Artemisia annua สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้หลายชนิด ในการศึกษานี้จึงตรวจสอบผลของไดไฮโดรอาร์เทมิสินินในการยับยั้งการรอดชีวิต การเคลื่อนที่ การลุกลาม การเพิ่มความไวต่อยาทาม็อกซิเฟน และศึกษากลไกการออกฤทธิ์ในระดับโมเลกุลของไดไฮโดรอาร์เทมิสินิน ผลการศึกษาพบว่าไดไฮโดรอาร์เทมิสินินมีฤทธิ์ต้านมะเร็งต่อเซลล์มะเร็งเต้านมชนิด MCF-7 และเซลล์มะเร็งเต้านมที่ดื้อต่อยต้านฮอร์โมน MCF-7/LCC-2 โดยสัมพันธ์กับขนาดที่ได้รับสาร และยังสามารถลดการแสดงออกของ c-MYC ซึ่งทําหน้าที่เป็น positive regulator ในวัฏจักรเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มจํานวนของเซลล์ เมื่อศึกษาการออกฤทธิ์ร่วมกับยาทาม็อกซิเฟน พบว่าไดไฮโดรอาร์เทมิสินินไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับของการดื้อยาในเซลล์ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงยีน NcoA3 ที่ทําหน้าที่เป็น co-activator ในกระบวนการถอดรหัสยีนเป้าหมายของตัวรับเอสโตรเจน เมื่อทำการศึกษาเพิ่มเติมพบว่าสารที่ใช้ทดสอบมีความสามารถยับยั้งการเคลื่อนที่และการลุกลามของเซลล์มะเร็งเต้านมที่ดื้อต่อยาทาม็อกซิเฟน โดยมีการแสดงออกของยีน MMP-9 และ CXCR4 ลดลงอย่างมีนัยสําคัญ แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีน Vimentin และ E-cadherin แสดงว่าสารทดสอบไม่มีการออกฤทธิ์ยับยั้งการเคลื่อนที่ของเซลล์ผ่านทางกระบวนการ epithelial-mesenchymal transition กล่าวโดยสรุป ผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นเป็นครั้งแรกว่าไดไฮโดรอาร์เทมิสินินมีคุณสมบัติต้านเซลล์มะเร็งเต้านมชนิดที่มีการแสดงออกของตัวรับเอสโตรเจนทั้งชนิดที่ไม่ดื้อยาและชนิดที่ดื้อต่อยาทาม็อกซิเฟน และยับยั้งการลุกลามของเซลล์มะเร็งที่ดื้อต่อยาทาม็อกซิเฟน ซึ่งอาจจะเป็นยาชนิดใหม่สําหรับใช้รักษาหรือใช้ร่วมกับยาทาม็อกซิเฟน ในการเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิดที่ดื้อต่อยาต้านฮอร์โมนเอสโตรเจน
Other Abstract: Approximately 40% of advanced stage estrogen receptor positive breast cancer patients developed tamoxifen resistance, resulted in tumor recurrence and metastasis. Dihydroartemisinin (DHA) is a semi-synthetic compound found in the traditional Chinese plant called Artemisia annua. DHA have been shown to inhibit cell proliferation of various cancer cells. This study examined the inhibitory effects of DHA on cancer cell proliferation, migration, invasion and enhancement of tamoxifen sensitivity. The results demonstrated DHA could inhibit cell proliferation of ER positive breast cancer cells and endocrine resistance breast cancer cells in dose dependent manner. DHA decrease mRNA expression of c-MYC, the positive regulator of cell proliferation in cell cycle. The combination of DHA and tamoxifen (TAM) did not increase tamoxifen sensitivity of tamoxifen resistant cells and had no effect on important ER co-activator, NcoA3 involved in tamoxifen resistance. Moreover, DHA could inhibit cell migration and invasion of tamoxifen resistant cells by significantly decreasing MMP-9 and CXCR4 mRNA expression which are the invasive factors. On the contrary, DHA had no effect on epithelial-mesenchymal transition process. In summary, DHA had anticancer effects in the estrogen receptor positive breast cancer and endocrine resistance breast cancer cells and inhibited cell invasion. DHA has potential to be developed as a novel therapy for treatment in estrogen receptor positive breast cancer.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51325
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.921
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.921
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5687130220.pdf3.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.