Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51340
Title: ผลของเมลาโทนินต่อความยาวเส้นผมของมนุษย์ในห้องปฏิบัติการ
Other Titles: Effects of melatonin on human hair shaft elongation in vitro
Authors: ณัฐินี จิตครองธรรม
Advisors: ประวิตร อัศวานนท์
รัชต์ธร ปัญจทีป
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Pravit.A@Chula.ac.th,fibosis@gmail.com
ratchathorn.p@chula.ac.th,nim_bonus@hotmail.com
Subjects: เมลาโทนิน
ผม
การกระตุ้นการเจริญเติบโตของผม
Melatonin
Hair
Hair growth stimulants
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา : เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมไพเนียลเป็นหลัก ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆภายในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นสารสื่อประสาท ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรือการควบคุมนาฬิกาทางชีวภาพ นอกจากนี้เมลาโทนินยังสามารถทำหน้าที่กำจัดอนุมูลอิสระในร่างกายได้อีกด้วย มีการพบตัวรับเมลาโทนินบริเวณเซลล์รากผม แต่ยังไม่ทราบผลของเมลาโทนินต่อวงจรชีวิตเส้นผมที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของเมลาโทนินในระดับความเข้มข้นต่างๆ ในการเพิ่มความยาวของเส้นผมมนุษย์ในห้องปฏิบัติการจากหนังศีรษะบริเวณท้ายทอยของผู้ป่วยชายที่มีภาวะผมบางจากพันธุกรรม วิธีการวิจัย : การวิจัยเชิงทดลองในห้องปฏิบัติการ โดยการนำเส้นผมบริเวณท้ายทอยของผู้ป่วยชายที่มีภาวะผมบางจากพันธุกรรมมาเพาะเลี้ยงในสารละลาย William’s E ที่มีส่วนผสมของเมลาโทนินที่มีความเข้มข้น3, 30 และ 300 ไมโครโมลาร์เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่เพาะเลี้ยงในสารละลาย William’s E เพียงอย่างเดียว โดยวัดการเปลี่ยนแปลงความยาวของเส้นผมจากการเพาะเลี้ยงในสารละลายที่แตกต่างกันในวันที่ 0 และ 6 ของการทดลองโดยวิเคราะห์ข้อมูลหลังจากตัดข้อมูลเส้นผมที่ไม่มีชีวิตออก (Per protocol analysis) ผลการศึกษา : จากผลการเพาะเลี้ยงเซลล์รากผมในกลุ่มควบคุมที่เพาะเลี้ยงในสารละลาย William’s E mediumเพียงอย่างเดียว พบว่ามีค่ามัธยฐานการเปลี่ยนแปลงของเส้นผมในวันที่ 6 เท่ากับ 974.75ไมครอนในกลุ่มที่เพาะเลี้ยงในสารละลายเมลาโทนินที่ความเข้มข้น 300ไมโครโมลาร์พบว่ามีค่ามัธยฐานการเปลี่ยนแปลงของเส้นผมในวันที่ 6 เท่ากับ 1099.28ไมครอน ซึ่งเส้นผมมีความยาวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.002)ในขณะที่สารละลายเมลาโทนินที่ความเข้มข้น 3และ30ไมโครโมลาร์ไม่สามารถเพิ่มความยาวของเส้นผมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป : การเพาะเลี้ยงเส้นผมในสารละลาย William’s E และเมลาโทนินที่มีความเข้มข้น 300ไมโครโมลาร์สามารถเพิ่มความยาวเส้นผมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่สารละลายเมลาโทนินเข้มข้น 30ไมโครโมลาร์มีผลกระตุ้นความยาวของเส้นผมได้เล็กน้อยเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยฤทธิ์ในการกระตุ้นความยาวของเส้นผมอาจเกิดจากการกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์รากผม การยับยั้งการตายของเซลล์รากผมแบบ apoptosisหรือทำให้เส้นผมอยู่ในระยะ anagen ยาวนานขึ้น
Other Abstract: Background: Melatonin is a neuroendocrine mediator with pleiotropic bioactivities such as hormonal, neurotransmitter, immunomodulator and biological modifier actions. Melatonin also functions as a free-radical scavenger and broad-spectrum antioxidant.Melatonin receptors were found within the hair follicles but the mechanism of melatonin to hair cycles is not elicited. Objective: The objective of this study is to demonstrate melatonin effects on human hair follicular unit elongation in vitro. Materials and method: Per protocol analysis of 521 hair follicles from sevenAGA patientswere divided into 4 groups then cultured in William E’s medium and William E’s medium with 3, 30 and 300 micromolar of melatonin solution. Culture medium was changed every other day parallel with measurement of hair shaft length. Median difference in length of hair shaft after cultured at day 0 and day 6 were compared. Result: Comparing the hair shaft length between day 0 and day 6, hair follicles in Group1 or control group increased in length at a median of 974.76 micron. In Group2 (3 mmol of melatonin), the median difference of hair length was 966.00, Group3 (30 mmol) was 1046.81 and Group4 (300 mmol) was 1099.28. There was a statistically significant difference in hair length between control group and group 4. (p= 0.002, Wilcoxon signed rank test). Conclusion: Our study demonstrated 300 micromolar of melatonin solution had stimulatory effect on hair shaft elongation significantly while 30 micromolar of melatonin had minimal effects compared to control group. Melatonin may increase cell proliferation, decrease cell apoptosis or play a role in hair cycle regulation, prolong anagen phase.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51340
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.681
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.681
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774024330.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.