Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51345
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมบัติ ตรีประเสริฐสุขen_US
dc.contributor.authorปณิดา ปิยะจตุรวัฒน์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T06:05:10Z
dc.date.available2016-12-02T06:05:10Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51345
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractความเป็นมา หลายการศึกษาที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของยาเบต้าบล็อกเกอร์ในการป้องกันภาวะเลือดออกจากหลอดเลือดดำขอดในหลอดอาหารทั้งในปฐมภูมิและทุติยภูมิ ในการประเมินประสิทธิภาพของการรักษา ใช้วิธีวัดความแตกต่างของความดันเลือด (Hepatic venous pressure gradient; HVPG) เป็นตัวแทนของความดันพอร์ทัล แต่อย่างไรก็ตามในการวัดถือว่าเป็นหัตถการที่มีความเสี่ยงและยังไม่แพร่หลาย รวมถึงการศึกษาในปัจจุบันได้แสดงถึงความสัมพันธ์ที่ดีของค่าความยืดหยุ่นตับและค่าความแตกต่างของความดันเลือดพอร์ทัลในผู้ป่วยตับแข็งระยะเริ่มต้น วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลของยาเบต้าบล็อกเกอร์ ต่อค่าความยืดหยุ่นตับและอัตราการเต้นหัวใจ รวมถึงความสัมพันธ์ วิธีการวิจัย การวิจัยแบบไปข้างหน้าในผู้ป่วยตับแข็งระยะเริ่มต้นที่ได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนและตรวจพบหลอดเลือดดำขอดในหลอดอาหารที่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในช่วงเวลา เมษายน 2558 ถึง กุมภาพันธ์ 2559 จำนวนทั้งหมด 42 ราย ผู้เข้าร่วมทั้งหมดจะได้รับการตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจและวัดความยืดหยุ่นของตับทั้งก่อนและหลังได้รับยาเบต้าบล็อกเกอร์ ในช่วงเวลา 3 เดือน โดยผู้เข้าร่วมการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอัตราเต้นหัวใจตอบสนอง คือ ผู้ที่อัตราการเต้นหัวใจ 50-55 ครั้ง/นาที หรือลดลง ร้อยละ 25 จากเริ่มต้น และกลุ่มอัตราเต้นหัวใจไม่ตอบสนอง ไม่ไปตามเกณฑ์ข้างบน หลังจากที่ได้ยาเบต้าบล็อกเกอร์ขนาดสูงสุดหรือขนาดยาที่ไม่มีผลข้างเคียง ผลการศึกษา ผู้ปวยทั้งหมดที่เข้าร่วมจนจบการศึกษา จำนวน 39 ราย จาก 42 ราย มีอายุเฉลี่ย 58.1+10.6 ปี และเป็นเพศชาย ร้อยละ 59 มีผู้ป่วยจำนวน 3 ราย ออกจากการศึกษา เนื่องด้วย 1 ราย ตรวจพบก้อนในตับ และอีก 2 ราย ไม่มาตรวจติดตาม ผู้ป่วย 39 ราย สามารถแบ่งผู้ป่วยได้เป็น 2 กลุ่ม ตามการตอบสนองของอัตราเต้นหัวใจ โดยพบว่า กลุ่มอัตราหัวใจตอบสนอง 16 คน (คิดเป็นร้อยละ 41) กลุ่มอัตราหัวใจไม่ตอบสนอง 23 คน (คิดเป็นร้อยละ 59) โดยพบว่าข้อมูลทั่วไป ดัชนีมวลกาย ภาวะเบาหวาน สาเหตุของโรคตับแข็ง ความรุนแรงของตับแข็ง และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ค่าเอมไซม์ตับ ค่าอัลบูมิน ค่าเกร็ดเลือด ค่าการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่าง 2 กลุ่มการตอบสนองของอัตราเต้นหัวใจ ค่าความยืดหยุ่นของตับก่อนได้รับยาเบต้าบล็อกเกอร์ ในกลุ่มที่อัตราการเต้นของหัวใจตอบสนอง และ กลุ่มอัตราการเต้นของหัวใจไม่ตอบสนอง มีค่า 24.7(14) และ 20.9(8) ตามลำดับ (p=0.32) ค่าความยืดหยุ่นตับที่ 3 เดือน หลังจากรับยาเบต้าบล็อกเกอร์ มีค่า 19.7(12) และ 16(9) ตามลำดับ (p=0.93) ค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงค่าความยืดหยุ่นตับ -5.6 kPa ในกลุ่มอัตราหัวใจตอบสนอง และ -0.7 kPa ในกลุ่มอัตราหัวใจไม่ตอบสนอง ตามลำดับ (p=0.23) ค่าความยืดหยุ่นตับที่เปลี่ยนแปลงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเปรียบเทียบระหว่าง 2 กลุ่ม แต่อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษาข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ค่าความยืดหยุ่นตับ มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางลดลงทั้ง 2 กลุ่ม หลังได้รับยาเบต้าบล็อกเกอร์ ความสัมพันธ์การเปลี่ยนแปลงค่าความยืดหยุ่นของตับในผู้ป่วยตับแข็งระยะเริ่มต้น ระหว่างกลุ่มที่มีการตอบสนองอัตราเต้นของหัวใจ และกลุ่มที่ไม่มีการตอบสนองอัตราการเต้นของหัวใจ โดยใช้สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล ค่าเท่ากับ 0.23 (p=0.15) สรุป การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงค่าความยืดหยุ่นของตับไม่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจหลังได้รับยาเบต้าบล็อกเกอร์เพื่อป้องกันภาวะเลือดออกจากหลอดเลือดดำขอดในหลอดอาหาร แต่อย่างไรก็ตามทำให้เราเห็นแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงของค่าความยืดหยุ่นของตับที่ลดลงหลังได้รับยา ซึ่งนำไปสู่คำถามวิจัยต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeBackground: Non-selective B-blocker (NSBB) is recommended for primary prophylaxis of variceal bleeding. To determine the pharmacological response, the hepatic venous pressure gradient (HVPG) is the surrogate marker. However, the measurement of HVPG is invasive and expensive. Recent studies showed a good correlation between HVPG and transient elastography (TE) in patients with early cirrhosis. The impact of treatment with non-selective B-blocker (NSBB) on the correlation of TE and heart rate (HR) response has not been studies. Methods: We prospectively enrolled 42 early cirrhotic patients who underwent esophagogastroduodenoscopy (EGD) for esophageal varice (EV) surveillance and showed small EV, during Apr2015 - Feb2016 at the King Chulalongkorn Memorial Hospital (KCMH), Bangkok, Thailand. All participants were measured TE and heart rate before and 3 months after receiving NSBB for primary variceal bleeding prophylaxis. The patients were divided into 2 group: the heart rate (HR) responders (HR 50-55 beats/min or HR reduced > 25% from baseline) and the HR non-responder (HR was not reduced as above after adjusting maximal or tolerated doses of NSBB and the systolic blood pressure (SBP) was more than 90 mmHg). During follow-up, 3 patients were dropped out due to one of them developed HCC and the others were loss to follow-up. Results: The 39 early cirrhotic patients were analyzed with mean age of 58.1 + 10.6 years and 59% of them were male. There were 16 patients in the HR responder group (41%) and 23 patients were in the HR non-responder group (59%). The etiologies of cirrhosis, baseline characteristics and level of aminotransferases were not different between two groups. Baseline TE of patients in HR responder and HR non-responder group were 24.7(+14) and 20.9(+8) kPa (p=0.32), respectively whereas the second TE which performed at 3 months after taking of NSBB were 19.7(+12) and 16(+9) kPa (p=0.93), respectively. The mean change in TE were -5.6 kPa in HR responder and -0.7 kPa in HR non-responder group (p=0.23). The percentage of TE change were not significantly different between both group but showed trend to decrease in both groups. In addition, we categorized cirrhotic patients into 2 groups by TE response(defined as who reduced TE during the follow-up period) which was showed in table2. There were 25 (64.1%) patients showing reduced TE during the follow up period. The overall mean TE value change was -2.94 kPa. By using point biserial correlation analysis, the transient elastography and heart rate response were not well correlate (r=0.23, p=0.15). Conclusion: In early cirrhotic patients receiving NSBB for primary variceal bleeding prophylaxis, the change of heart rate and transient elastography were not correlate. The measurement of 2nd TE showed trend to decrease under NSBB effect in most of patients. It need a further study to confirm that the monitoring of transient elastography change may be a better predictor for pharmacological response than the heart rate response.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.692-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectตับแข็ง -- ผู้ป่วย
dc.subjectยา -- ประสิทธิผล
dc.subjectLiver -- Cirrhosis -- Patients
dc.subjectDrugs -- Effectiveness
dc.titleการศึกษาความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงความยืดหยุ่นตับในผู้ป่วยตับแข็งระยะเริ่มต้นเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่มีการตอบสนอง กับกลุ่มที่ไม่มีการตอบสนองอัตราเต้นหัวใจต่อยาเบต้าบล็อกเกอร์ในการป้องกันภาวะเลือดออกจากหลอดเลือดดำขอดในหลอดอาหาร ในช่วงเวลา 3 เดือนen_US
dc.title.alternativeA study of correlation of transient elastography change in early cirrhotic patients between responder and non-responder groups in heart rate after receiving on-selective b-blocker for primary variceal bleeding prophylaxis : 3 months follow upen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSombat.T@Chula.ac.th,battan5410@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.692-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774045530.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.