Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51351
Title: ความสัมพันธ์ของภาวะตับอ่อนคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ กับ ภาวะเมตาบอลิกซินโดรมในกลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการสืบค้นด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Associations between non alcoholic fatty pancreas (NAFP) and metabolic syndrome in patient undergone abdominal computed tomography in King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: วิจิตรา คงคา
Advisors: ประเดิมชัย คงคำ
สมบัติ ตรีประเสริฐสุข
นริศร ลักขณานุรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Pradermchai.K@Chula.ac.th,euschula@gmail.com,kongkam@hotmail.com
Sombat.T@Chula.ac.th
jobjobs@gmail.com
Subjects: ตับอ่อน -- โรค -- การวินิจฉัย
โรคตับจากแอลกอฮอล์ -- การวินิจฉัย
เมทาบอลิกซินโดรม
Pancreas -- Diseases -- Diagnosis
Alcoholic liver diseases -- Diagnosis
Metabolic syndrome
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: เมตาบอลิกซินโดรมอาจมีสัมพันธ์กับภาวะตับอ่อนคั่งไขมัน อย่างไรก็ตามข้อสงสัยนี้ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด เนื่องจากงานวิจัยที่ศึกษาในเรื่องนี้ยังมีน้อย และผลการวิจัยที่ผ่านมายังมีข้อสรุปที่ขัดแย้งกัน วัตถุประสงค์: ศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะตับอ่อนคั่งไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์กับภาวะเมตาบอลิกซินโดรม วิธีการศึกษา: ผู้วิจัยเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องที่รพ.จุฬาลงกรณ์ในช่วงเวลาต่อเนื่องกันเป็นจำนวน428 คน และเก็บข้อมูลด้านประวัติทางการแพทย์ ตรวจร่างกายและตรวจทางห้องปฏิบัติการในช่วงเวลาเดียวกันด้วย กล่าวคือ เดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน2015 โดยภาวะตับอ่อนคั่งไขมันจะได้รับการวินิจฉัยเมื่อภาพความเข้มแสงเอกซเรย์ของตับอ่อนน้อยกว่าม้ามมากกว่า 5แต้มขึ้นไปส่วนภาวะเมตาบอลิกซินโดรมจะได้รับการวินิจฉัยเมื่อผู้ป่วยมีภาวะอ้วนลงพุงโดยมีค่ารอบเอวในผู้ชายมากกว่า 90 ซม. ผู้หญิงมากกว่า 80 ซม.ร่วมกับมีอย่างน้อย 2 ข้อต่อไปนี้ ภาวะความดันโลหิตสูงโดยมีค่ามากกว่า 130/85 มิลลิเมตรปรอท ภาวะไขมันไตรกรีเซอไรด์สูงโดยมีค่ามากกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงโดยมีค่ามากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือภาวะไขมันดีต่ำโดยมีค่าในผู้ชายน้อยกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเข้าร่วมงานวิจัยจำนวน 428 คน ผู้ป่วย 16รายถูกคัดออกจาการศึกษาด้วยเหตุผล จากตับอ่อนอักเสบ 6 ราย มะเร็งตับอ่อน6ราย ตัดม้าม 6 ราย สรุปจำนวนผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษาคือ 412 ราย เป็นผู้ชาย 182 ราย ผู้หญิง 230 ราย อายุเฉลี่ย 60.7ปี พบมีอุบัติการณ์ของตับอ่อนคั่งไขมันเป็นร้อยละ 40 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะตับอ่อนคั่งไขมันคือ น้ำตาลในกระแสเลือดสูง (Odds Ratio (OR) 1.71 95%CI 1.08-2.69, P=0.02) และภาวะตับคั่งไขมัน(OR 4.94 95% CI 2.75-8.88, P=0.01) สรุปผล: ตับคั่งไขมันและน้ำตาลในกระแสเลือดสูงมีความสัมพันธ์กับภาวะตับอ่อนคั่งไขมัน แต่ไม่พบความสัมพันธ์ของภาวะเมตาบอลิกซินโดรมกับตับอ่อนคั่งไขมัน
Other Abstract: Background: Pathophysiological mechanism and clinical significance of fatty pancreas (FP) is unclear. Previous studies showed a possible association of FP with obesity, metabolic syndrome, diabetes and hyperlipidemia. However, information is limited due to small number of studies with heterogeneous population and study design. Objective: To prospectively evaluate association of fatty pancreas and metabolic syndrome Materials and Method: We prospectively collected relevant clinical data of consecutive patients who had undergone abdominal computed tomography (CT) in King Chulalongkorn Memorial hospital, Bangkok, Thailand from August to November 2015. Criteria of CT used for diagnosis of FP is presence lower attenuation of the pancreas more than 5 in comparison the spleen. Results: 428 patients were consecutively enrolled. Sixteen of them(3.7%) were excluded due to pancreatic cancer (n=6), pancreatitis (n=6) and splenectomy(n=4) . 412 patients (182M, 230F, mean age 60.7years, SD= ±13.3) were recruited for analysis. 310 and 102 patients underwent abdominal CT for an evaluation non-pancreatic cancer and other benign diseases respectively. Prevalence of FP was 40.5%. On uni-variate analysis, significantly associated factors were impaired fasting glucose (Odds Ratio (OR) 1.71 95%CI 1.08-2.69, P=0.02) and fatty liver (OR 4.94 95% CI 2.75-8.88, P=0.01). By using multivariate analysis the independent associated risk factor of FP were unchanged; impaired fasting glucose (OR 1.08, P=0.04) and fatty liver (OR 1.608, P = 0.01). Conclusion: Fatty liver and impaired fasting plasma glucose are associated with fatty pancreas but not for metabolic syndrome.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51351
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.711
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.711
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774086230.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.