Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51355
Title: ร้อยละของการแสดงออกของ ESTROGEN RECEPTOR BETA ในเซลล์ต่อมน้ำเหลืองของผู้ป่วย DIFFUSE LARGE B CELL LYMPHOMA
Other Titles: PERCENTAGE OF ESTROGEN RECEPTOR BETA EXPRESSION IN LYMPH NODES OF PATIENTS WITH DIFFUSE LARGE B CELL LYMPHOMA
Authors: ศรุตา ฟักนวม
Advisors: พลภัทร โรจน์นครินทร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Ponlapat.R@Chula.ac.th,rojnuckarinp@gmail.com,rojnuckarinp@gmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: Estrogen receptor beta (ERβ) มีการแสดงออกใน lymphoid cell และมีฤทธิ์ต้านการแบ่งตัวของเซลล์เหล่านี้ การศึกษาในหนูทดลองพบว่า ERβ selective agonist สามารถยับยั้งมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Burkitt และ Mantle cell ได้ แต่การศึกษาการแสดงออกของของ ERβ ในเซลล์ต่อมน้ำเหลืองของ ผู้ป่วย Diffuse large B cell lymphoma (DLBCL) นั้น ยังไม่เคยมีรายงานมาก่อน วัตถุประสงค์: ศึกษาร้อยละของเซลล์ที่แสดงออกของ ERβ ในเนื้อเยื่อ DLBCL โดยวิธี Immunohistochemistry และศึกษาความสัมพันธ์กับระยะเวลาปลอดโรค (Event-free survival) ของผู้ป่วย วิธีการศึกษา: ย้อม ERβ ในเนื้อเยื่อจากต่อมน้ำเหลืองของผู้ป่วยผู้ใหญ่ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็น nodal DLBCL และได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดสูตร R-CHOP ตั้งแต่ มกราคม 2551 ถึงธันวาคม 2556 ประเมินการแสดงออกของ receptor และศึกษาความสัมพันธ์กับระยะเวลาปลอดโรคของผู้ป่วย ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 36 คน อายุเฉลี่ย 57.4 ปี (พิสัย 19-85 ปี) เป็นเพศหญิงร้อยละ 38.9 การแสดงออกของ ERβ ในเนื้อเยื่อ DLBCL พบว่ามีความหลากหลายตั้งแต่ร้อยละ 1 ถึง 85 ค่าเฉลี่ยของการแสดงออกในกลุ่มที่ตอบสนองต่อการรักษาคือ ร้อยละ 12.8 เทียบกับกลุ่มที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาหรือเสียชีวิตคือร้อยละ 38.1 (P = 0.001) เมื่อวิเคราะห์ ROC(Receiver operating characteristic) พบว่าการแสดงออก ERβ ที่มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 17.5 สัมพันธ์กับการพยากรณ์โรคที่ไม่ดี มีค่าความไว 78% และค่าความจำเพาะ 78% การแสดงออกระดับสูง (ERβ ≥ 17.5%) สัมพันธ์กับระยะเวลาปลอดโรคที่สั้น มี hazard ratio (HR) 4.74, 95% confidence interval (CI) 1.55-14.49, P = 0.001 ค่ามัธยฐานของระยะเวลาปลอดโรค 133 วัน ในกลุ่มที่มีการแสดงออก ERβ สูงเทียบกับ 2,500 วัน ในกลุ่มที่มีการแสดงออกต่ำ นอกจากนี้ การแสดงออกของ ERβ ไม่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มเสี่ยง (IPI) การวิเคราะห์พหุตัวแปร (multivariate analysis) พบว่าการแสดงออกของ ERβ (HR 4.27, 95% CI 1.39-13.1, P = 0.011) และกลุ่มที่มี IPI สูง (HR 4.96, 95% CI 1.11-22.2, P = 0.036) สัมพันธ์อย่างอิสระกับระยะเวลาปลอดโรคที่สั้น สรุป: เนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองในผู้ป่วย DLBCL มีการแสดงออกของ ERβ ที่หลากหลาย โดยการแสดงออกที่มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 17.5 สัมพันธ์กับการพยากรณ์โรคที่ไม่ดี
Other Abstract: Background:Estrogen receptor β (ERβ) is expressed in lymphoid tissues. Recently, experimental mouse models showed that ERβ -selective agonists inhibited Burkitt and Mantle lymphoma growth. However, there has been no reported study of ERβ expression in human diffuse large B cell lymphoma (DLBCL). Objectives: To determine the ERβ expression in DLBCL tissue using immunohistochemistry and correlate with clinical outcomes. Methods: Adult patients who were newly diagnosed as nodal DLBCL and received R-CHOP chemotherapy at King Chulalongkorn Memorial Hospital were enrolled. The patients, who had transformed lymphoma, received previous chemotherapy or were loss to follow-up before 3 years, were excluded. The lymph node specimens were stained for ERβ proteins and counted for ERβ-expressing cells. The expression was correlated with the patient event-free survival (EFS). Results: There were 36 patients included in the study. The mean age was 57.4 (range 19-85) years and 38.9% were female. The ERβ expression in DLBCL tissue was varied from 1% to 85%. The mean expressions in the responsive vs. relapsed/refractory groups were 12.8 % vs. 38.0%, respectively (P = 0.001). The ROC analysis showed that the expression of greater than 17.5% was related to poor outcomes at 78% sensitivity and 78% specificity. The ERβ expression of 17.5% or more was significantly related to poor EFS after R-CHOP therapy (Hazard ratio [HR] 4.74, 95% Confidence interval [CI] 1.55-14.49, P = 0.001). The median EFS were 133 vs. 2,500 days in the high vs. low ERβ expression groups, respectively. In addition, ERβ expression was not significantly associated with the international prognostic index (IPI) risk group. The multivariate analysis showed that ERβ expression (HR 4.27, 95%CI 1.39-13.1, P = 0.011) and high IPI (HR 4.96, 95%CI 1.11-22.2, P = 0.036) independently associated with poor EFS. Conclusions: DLBCL cells expressed variable degrees of ERβ protein. The expressing cells of 17.5% or more were associated with a poor prognosis.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51355
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774094230.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.