Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51369
Title: ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านไทยเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกายที่จำเป็นต่อการป้องกันอุบัติเหตุจากการหกล้มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น
Other Titles: Effects of physical education learning management using Thai folk games for enhancing the needs of physical fitness on accident of fall prevention of elementary school students
Authors: กิตติพงษ์ ตรุวรรณ์
Advisors: สุธนะ ติงศภัทิย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Suthana.T@Chula.ac.th,suthana.t@chula.ac.th
Subjects: พลศึกษาสำหรับเด็ก
ความสามารถทางกลไกในเด็ก
การเรียนรู้ทางกลไก
Physical education for children
Motor ability in children
Motor learning
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านไทยเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกายที่จำเป็นต่อการป้องกันอุบัติเหตุจากการหกล้มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านไทย และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายและนักเรียนหญิงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 45 คน จาก 1 ห้องเรียน ซึ่งได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ซึ่งกำหนดการเข้ากลุ่ม โดยใช้เกณฑ์ในการจับคู่ (Matching) ระหว่างกลุ่มตัวอย่าง โดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะไม่แตกต่างกัน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 23 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 22 คน ใช้ระยะเวลาการจัดกิจกรรม 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 คาบ คาบละ 50 นาที ทำการทดสอบสมรรถภาพทางกายก่อนการทดลองในสัปดาห์แรก และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) โดยทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านไทย กับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาตามปกติ ด้านความอ่อนตัว ด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ด้านการทรงตัว (เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม) ผลปรากฏว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
Other Abstract: The purpose of this research were to study the effects of physical education learning management using thai folk games for enhancing the needs of physical fitness on accident of falling prevention of elementary school students between the experimental group which received physical education learning management using thai folk games and the control group which received regular physical education learning management; 45 subjects from the 2 group, male and female students were divided by random Sampling - matching group method. There were 23 students in the experimental group and 22 students in the control group. The total duration of learning management was 8 weeks, 1 day a week of 50 minutes. Compare the difference of the average scores of the physical fitness by using t-test between the experimental group of physical education learning management using thai folk games and the control group which received the regular physical education learning management. The physical fitness components were fested before and after 8 week trial, and after experiment t-test method tested the importance statistically significant difference at .05 level . The results were as follows : The experimental group which received physical education learning management using thai folk games and the control group received regular physical education learning management. had physical fitness. But the physical fitness in flexibility, muscular strength, and balance (between the experimental group and the control group) were statistically significant difference at .05 level .
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขศึกษาและพลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51369
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1135
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1135
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5783385327.pdf6.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.