Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51472
Title: | ยวนพ่ายโคลงดั้น : ความสำคัญที่มีต่อการสร้างขนบและพัฒนาการของวรรณคดีประเภทยอพระเกียรติของไทย |
Other Titles: | Yuan Phai Khlong Dan : Its significance in the construction of literary convention and the development of Thai panegyric literature |
Authors: | ปัทมา ฑีฆประเสริฐกุล |
Advisors: | ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | cholada.r@chula.ac.th |
Subjects: | วรรณกรรมไทย วรรณกรรมไทยกับประวัติศาสตร์ วรรณคดีไทย -- ประวัติและวิจารณ์ กวีนิพนธ์ไทย โคลง ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงศรีอยุธยา -- สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ Thai literature Thai poetry Thai literature -- History and criticism Poetry ปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษากลวิธีการประพันธ์ยวนพ่ายโคลงดั้นที่มีความดีเด่นสมบูรณ์แบบและมีอิทธิพลต่อวรรณคดียอพระเกียรติสมัยต่อมา ผลการศึกษาพบว่ายวนพ่ายโคลงดั้นมีกลวิธีการประพันธ์ที่ดีเยี่ยมทั้งกลวิธีการเล่าเรื่องและกลวิธีทางวรรณศิลป์ ผู้เล่าเรื่อง คือ ผู้ประพันธ์ที่แสดงตนว่าอยู่ฝ่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จึงมุ่งสรรเสริญสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถอย่างมีเอกภาพผ่านองค์ประกอบต่างๆ ของเรื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นภาพลักษณ์กว้าง ๆ ของพระองค์ คือ พระมหากษัตริย์ที่สมบูรณ์แบบและภาพที่ต้องการเน้นเฉพาะในเรื่องนี้ ซึ่งได้แก่ ภาพกษัตริย์นักรบผู้เก่งกล้า มีปัญญา และมีเมตตาธรรม นอกจากนี้ กวียังสร้างตัวละครคู่ปรปักษ์เพื่อเชิดชูความดีงามของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถให้เด่นชัดขึ้น การสร้างฉากเมืองเชียงชื่นแสดงให้เห็นพระเดชานุภาพของพระองค์ได้ชัดเจน ส่วนกลวิธีทางวรรณศิลป์ในยวนพ่ายโคลงดั้นทำให้บทประพันธ์มีทั้งความไพเราะงดงามและทำให้การสรรเสริญสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีความลุ่มลึก เช่น การใช้ความเปรียบเพื่อยกย่องพระองค์ว่าดีเลิศเหมือนเทพเจ้า เหมือนพระพุทธเจ้า และเหมือนตัวละครในวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ การเล่นคำแบบซ้ำคำและซ้ำเสียงที่สร้างทั้งความไพเราะและเน้นความหมายของเนื้อความ กลวิธีการประพันธ์ที่มีลักษณะโดดเด่นทำให้ยวนพ่ายโคลงดั้นเป็นต้นแบบให้แก่วรรณคดียอพระเกียรติสมัยต่อมา มีการแต่งบทประพันธ์เลียนแบบยวนพ่ายโคลงดั้น เช่น การสร้างเนื้อหาให้เป็นองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อเชิดชูคุณลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ การเล่าเหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ที่ร้อยเรียงต่อกันด้วยการใช้คำว่า “แถลงปาง” และการใช้ความเปรียบเพื่อสรรเสริญพระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตาม วรรณคดียอพระเกียรติสมัยต่อมาก็มีพัฒนาการที่ต่างออกไป ซึ่งเป็นไปตามบริบทของสังคม เช่น การสรรเสริญพระมหากษัตริย์จากที่เป็นเทวราชาอย่างเด่นชัดใน ยวนพ่ายโคลงดั้นก็คลี่คลายเป็นมนุษย์ที่ทรงธรรมและทรงงานอย่างหนักเพื่อประชาชนในวรรณคดียอพระเกียรติปัจจุบัน พระสติปัญญาญาณหยั่งรู้อดีต อนาคต หรือใจคนก็ปรับเปลี่ยนให้เห็นพระสติปัญญาที่เกิดจากการศึกษาและเรียนรู้สรรพวิทยา |
Other Abstract: | This dissertation aims to study literary techniques of Yuan Phai Khlong Dan whose excellence and perfection have influenced Thai panegyric literature in later periods. The study found that the literary techniques of Yuan Phai Khlong Dan were excellent in both narration and aesthetics. In his narration, the poet intentionally expressed that he supported King Borommatrailokanat. His glorification of the king was delivered through various elements in the story. In effect, King Borommatrailokanat was portrayed as a perfect king with the emphasis on his heroic capability, intellect, and morality. In addition, the poet created the antagonist in order to praise the protagonist, the king, for his goodness. His mightiness was depicted in such scenes as the construction of Chiang Chuen City. The literary techniques also resulted in the poem’s literary aesthetics and its depth when the poet glorified the king, for example, in his comparison of the king’s well-rounded image as Deva Raja, Buddha Raja, and characters from other literary works. The use of the repetition of the same word in different positions in the poem and alliteration rendered the aesthetic sense of the poem and the emphasis on the poem’s meaning-making. With its outstanding literary techniques, Yuan Phai Khlong Dan became an exemplar for panegyric literature in later periods. Yuan Phai Khlong Dan was used as a model for other poets to create in their work, for example, various literary elements that praised the king’s characteristic, the narrative technique of continuous sequences of stories by the use of the word “thalaengpang” (แถลงปาง), and the use of figurative language in order to glorify the king. However, panegyric literature in later periods was different due to their different social contexts. For example, the image of the king seen in Yuan Phai Khlong Dan as Deva Raja became that of a righteous human being who worked hard for his people in present-day panegyric literature. The king who knew the past and the future and who could read other’s mind was transformed into the king whose intellect was a result of his study of all kinds of knowledge. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51472 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1653 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1653 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pattama_th.pdf | 4.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.