Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5157
Title: คุณภาพการนอนหลับและสุขภาพจิตของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน)
Other Titles: Quality of sleep and mental health among cabin attendants in Thai Airways International Public Company Limited
Authors: ณภัควรรต บัวทอง
Advisors: สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
การนอนหลับ
สุขภาพจิต
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาคุณภาพการนอนหลับ สุขภาพจิต และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งประเภทของตัวอย่างและมีระบบ จำนวน 261 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามปัจจัยด้านการทำงาน แบบสอบถามปัจจัยรบกวนการนอนหลับด้านสิ่งแวดล้อมและกายภาพ แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ PSQI (The Pittsburg Sleep Quality Index) แบบสอบถามอาการนอนไม่หลับและแบบวัดสุขภาพจิต SCL-90 (Symptom Checklist-90) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for window สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไค-สแควร์ t-test สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี 57.9% พบอาการนอนไม่หลับ 60.2% มีปัญหาสุขภาพจิต 18.8% ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับคุณภาพการนอนหลับ ได้แก่ เพศชาย สถานภาพสมรสโสด ความไม่เพียงพอของรายได้ การลาป่วย การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน การใช้ยานอนหลับและสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท การปฏิบัติงานในเที่ยวบินระยะใกล้ระหว่างเวลา 12.00-18.00 น ปัญหาการนอนหลับจากการปฏิบัติงานในเที่ยวบินระยะไกล ในเส้นทางขากลับจากทวีปยุโรป และทวีปออสเตรเลีย ปัจจัยรบกวนการนอนหลับด้านสิ่งแวดล้อมและกายภาพ จากแสงสว่างที่บ้าน ความหิวที่บ้าน ความกระหายน้ำที่บ้านและโรงแรม และปัญหาสุขภาพจิตทั้ง 9 ด้าน โดยคุณภาพการนอนหลับมีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตทั้ง 9 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01-0.05 ปัจจัยที่สามารถใช้พยากรณ์คุณภาพการนอนหลับได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความวิตกกังวล ความรู้สึกไม่เป็นมิตร ความหนาวเย็นที่โรงแรม ความรู้สึกไม่เป็นมิตร ความไม่เพียงพอของรายได้ และเพศชาย
Other Abstract: To study quality of sleep, mental health status and related factors among cabin attendants in Thai Airways International public company. The stratified systematic sampling was done to enroll 261 subjects. Data were collected by using self report questionnaire to assess for demographic information, flight operational data and physical environmental for sleep. Quality of sleep and insomnia was assessed by using the Pittsburg Sleep Quality Index (PSQI), insomnia questionnaire subjectively. Mental health was investigated with SCL-90 (Symptom checklist). Statistical analysis was done by using SPSS for windows. The data were analyzed for percentage, mean, standard deviation, chi-square, t-test, Pearson product moment correlation coefficiancy and stepwise multiple regression analysis. The results were revealed that 57.9% of cabin attendants had poor quality of sleep, 60.2% and 18.8% had insomnia and mental health problem. Factors related to quality of sleep were male gender, single, inadequate income, sick leave, smoking, alcohol consumption, current use of hypnotic medication, short haul flight operations during 12.00 pm.-18.00 pm., long haul flight operations from Europe and Australia to Thailand, bright light, hungry and thirsty disturbed to sleep and 9 dimensions of mental heath problem. There was a high correlation between the score of SCL-90 and PSQI at the 0.01-0.05 level. The factors that predicted quality of sleep of cabin attendants were alcohol consumption, anxiety, hostility, low temperature at hotel room, inadequate income and male gender
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5157
ISBN: 9741751346
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
napakkawat.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.