Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51617
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกษม ชูจารุกุล-
dc.contributor.authorธีรวัฒน์ เวชวงศ์วาน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-02-02T02:14:05Z-
dc.date.available2017-02-02T02:14:05Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51617-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณผู้เดินทางด้วยสายการบินภายในประเทศที่มีระยะทางปานกลางจนถึงระยะไกล เนื่องจากรูปแบบการเดินทั้ง 2 แบบนี้มีความคล้ายคลึงกันในหลายๆ ด้าน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางจากการเดินทางทางอากาศเป็นการเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูง และคาดการณ์ผลกระทบในด้านปริมาณผู้โดยสารที่เกิดขึ้นจากรถไฟความเร็วสูงต่อการเดินทางทางอากาศ ผู้วิจัยสำรวจข้อมูลด้วยวิธี Stated Preference (SP) และสร้างแบบ จำลองโลจิตทวินาม เพื่อวิเคราะห์ความน่าจะเป็นที่ผู้เดินทางจะตัดสินใจเลือกรูปแบบการเดินทาง โดยใช้แบบสอบถามผู้เดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปยังจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และลำปาง จำนวนทั้งสิ้น 467 คน ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรหลักที่มีอิทธิพล ได้แก่ ระยะเวลาในการเดินทาง ราคา และช่วงห่างในการให้บริการ ตัวแปรเศรษฐกิจสังคม ได้แก่ อายุ และระดับการศึกษาของผู้เดินทาง ตัวแปรด้านการเดินทาง ได้แก่ ราคาค่าโดยสารจากจุดเริ่มต้นไปยังท่าอากาศยาน ในการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเดินทางทางอากาศ พบว่าหากมีการให้บริการรถไฟความเร็วสูงสู่พื้นที่ภาคเหนือที่มีช่วงห่างของการให้บริการ 4 ชั่วโมงต่อขบวน มีราคาค่าโดยสารไปถึงสถานีลำปาง และเชียงใหม่ เป็นเงิน 1,800 และ 2,250 บาท ตามลำดับ และใช้เวลาเดินทางถึงจังหวัดลำปางและเชียงใหม่ในเวลา 3 และ4 ชั่วโมง ตามลำดับ และไปถึงจังหวัดเชียงรายที่ไม่มีสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงโดยใช้รูปแบบการเดินทางอื่นต่อจากสถานีเชียงใหม่ จะทำให้มีผู้เดินทางทางอากาศเส้นทางกรุงเทพ – ลำปาง กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ – เชียงราย ลดลงร้อยละ 74 42 และ 18 ตามลำดับen_US
dc.description.abstractalternativeThe development of high speed train in Thailand could affect domestic air travel demand for medium to long distance. This is primarily due to similarity of both travel modes in several aspects. The present study aims to investigate factors affecting modal shift from air travel to high speed train, and to forecast potential impacts of high speed train demand on air passengers. Based on 467 air passengers traveling from Suvarnabhumi airport to Chiang Mai, Chiang Rai and Lampang airports, a stated preference preference analysis was used along with binary logit models in the present study. Results show that main factors affecting mode choice are high speed train travel time, fare, and its operating headway. Others significant factors include passenger's age and education level. In addition, current access cost to the airport was also found statistically significant. In terms of demand forecast, when the high speed train is operated on the northern corridor based on a headway of 4 hours per train, and a fare value of 1,800 Baht for a 3-hour trip to Lampang, 2,250 Baht for a 4-hour trip Chiang Mai and 2,250 Baht for a 4-hour trip to Chiang Mai with others mode choices to Chiang Rai, the air travel demand to Lampang, Chiang Mai and Chiang Rai could decline by 74, 42, and 18, respectively.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2078-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเดินทางen_US
dc.subjectรถไฟความเร็วสูงen_US
dc.subjectการเดินทางทางอากาศen_US
dc.subjectVoyages and travelsen_US
dc.subjectHigh speed trainsen_US
dc.titleการวิเคราะห์การเลือกรูปแบบการเดินทางของรถไฟความเร็วสูงด้วยวิธี Stated Preference : กรณีศึกษาผู้เดินทางทางอากาศจากกรุงเทพฯ สู่พื้นที่ภาคเหนือen_US
dc.title.alternativeTravel mode choice analyss of high speed train using stated preferene method : a case study of air passengers from Bangkok to Northern Corridoren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKasem.Choo@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.2078-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
theerawat_ve.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.