Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51646
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์
dc.contributor.advisorสมบูรณ์ คีลาวัฒน์
dc.contributor.authorธีรภัทร อึ้งตระกูล
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2017-02-03T06:10:56Z
dc.date.available2017-02-03T06:10:56Z
dc.date.issued2554
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51646
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractที่มา มะเร็งศีรษะและลำคอที่สัมพันธ์กับไวรัสเอชพีวีมีอุบัติการณ์เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยอายุน้อย อย่างไรก็ตาม ความชุกของไวรัสเอชพีวีในประชากรกลุ่มดังกล่าวยังไม่ได้มีการศึกษาที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของไวรัสเอชพีวีในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอที่ไม่ใช่มะเร็งหลังโพรงจมูก ในผู้ป่วยกลุ่มอายุน้อยและหาความสัมพันธ์ของสถานะไวรัสเอชพีวีกับพยากรณ์และการดำเนินโรค ประชากรและวิธีการ ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอชนิดสแควมัสเซลล์ ที่ไม่ใช่มะเร็งหลังโพรงจมูก และอายุไม่เกิน 45 ปีที่ได้รับการรักษาที่รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระหว่างปีพ.ศ.2543-2553 โดยตรวจหาดีเอนเอของไวรัสเอชพีวีด้วยเทคนิคปฏิกริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส ในชิ้นเนื้อพาราฟินของผู้ป่วยจำนวน 71 ราย และเปรียบเทียบผลการตรวจกับการดำเนินโรค ผลการวิจัย พบผลบวกต่อดีเอนเอไวรัสเอชพีวีจำนวน 28 ราย คิดเป็นร้อยละ 39.4 โดยเมื่อแบ่งตามตำแหน่งรอยโรค พบผลบวกร้อยละ 32 ในมะเร็งช่องปาก, ร้อยละ 47 ในมะเร็งคอหอยส่วนช่องปากและร้อยละ 43 ในมะเร็งคอหอยส่วนล่างและมะเร็งกล่องเสียง ทั้งนี้ ไม่พบความแตกต่างของลักษณะพื้นฐานทางคลินิก และการรักษาเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ให้ผลบวกและผลลบต่อดีเอนเอไวรัสเอชพีวี นอกจากนี้ พบว่าระยะของก้อนมะเร็ง (ระยะที่ 3 หรือ 4) และการกระจายไปต่อมน้ำเหลือง มีผลต่อการพยากรณ์โรคที่แย่ กว่า โดยที่ไม่พบความสัมพันธ์ของไวรัสเอชพีวีกับพยากรณ์โรค สรุปผลการวิจัย พบความชุกของไวรัสเอชพีวีในกลุ่มผู้ป่วยอายุน้อยใกล้เคียงกับการศึกษาอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ผลดังกล่าวไม่มีความสัมพันธ์กับพยากรณ์โรคen_US
dc.description.abstractalternativeBackground: HPV-associated HNSCC has been commonly described to associate with younger patients. However the true prevalence of HPV in this specific population remains unclear. Objectives: The aim of this study is to determine the prevalence of HPV in HNSCC reference to young patients and find an association between HPV status and clinical outcome. Patients and methods: We collected archival 71 paraffin-embeded tumor tissue samples from HNSCC patients diagnosed and treated at The King Chulalongkorn Memorial Hospital between 2000 and 2010. The major inclusion criterion was the age at diagnosis less than 45 year-old. The HPV status was determined by HPV polymerase chain reaction (PCR). The clinicopathological correlations with HPV status were analyzed. Results: Twenty-eight (39.4%) of the 71 HNSCC samples exhibited HPV DNA by PCR. Among cancer sites, 8 of 25 (32%) of oral cavity, 8 of 17 (47%) of oropharynx and 12 of 28 (43%) of hypopharynx and larynx displayed HPV DNA in tumor tissue. There was no major difference in demographic data, tumor characteristic and treatment modalities between HPV DNA-negative and HPV DNA-positive samples. Survival analyses indicated that T3/4 and nodal metastasis were predictors for poorer survival. Surprisingly, the presence of HPV DNA was not a significant predictor for the survival (p=0.53). Conclusion: Though HPV genome was found moderately in our young HNSCC patients, HPV DNA is not a predictor for a survival in this subset of HNSCC.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2094-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectแปปิลโลมาไวรัสen_US
dc.subjectสความัสเซลล์คาร์ซิโนมาen_US
dc.subjectมะเร็ง--การรักษาen_US
dc.subjectPapillomaviruses
dc.subjectSquamous cell carcinoma
dc.subjectCancer -- Treatment
dc.titleความชุกของไวรัสฮิวแมนพาพิวโลมาในมะเร็งศีรษะและลำคอชนิด สแควมัสเซลล์ที่ไม่ใช่มะเร็งหลังโพรงจมูก ในผู้ป่วยอายุไม่เกิน 45 ปีที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์en_US
dc.title.alternativePrevalence of human Papillomavirus in non-nasopharyngeal head and neck squamous cell carcinoma in patients aged not over 45 years at the King Chulalongkorn Memorial hospitalen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorVirote.S@Chula.ac.th
dc.email.advisorSomboon.Ke@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.2094-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
teerapat_un.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.