Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51867
Title: การผลิตเยื่อจากกากมันสำปะหลังเพื่อการทดแทนเยื่อรีไซเคิลในการผลิตกระดาษลอนลูกฟูก
Other Titles: Pulping of cassava residue for substitution of recycled pulp in corrugating medium production
Authors: นันทพร ตรีภพนาถ
Advisors: กุนทินี สุวรรณกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Kuntinee.S@Chula.ac.th
Subjects: กากมันสำปะหลัง
กระดาษลอนลูกฟูก
เยื่อกระดาษ
Cassava residue
Corrugated medium
Wood-pulp
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กากมันสำปะหลัง (Manihot esculenta Crantz.) เป็นของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมผลิตแป้งมันสำปะหลังที่ยังมีเส้นใยอยู่มาก จากการวิเคราะห์เส้นใยพบว่ากากมันที่มีขนาดใหญ่กว่าตะแกรง 50 เมชมีความยาวใกล้เคียงกับเยื่อใยสั้น (hardwood) ในขณะที่กากมันสำปะหลังที่มีขนาดเล็กกว่าตะแกรง 50 เมช มีเส้นใยที่สั้นมาก แต่กลับให้ความแข็งแรงดีกว่า ซึ่งอาจเป็นเพราะกากมันขนาดใหญ่ยังเกาะตัวเป็นกระจุก จึงนำเฉพาะกากมันขนาดใหญ่กว่า 50 เมช มาผลิตเยื่อด้วยวิธีเชิงเคมีและเชิงกลเพื่อแยกเส้นใยออกจากกันซึ่งจากการนำกากมันไปผลิตเยื่อด้วยภาวะต่างๆ เพื่อหาวิธีการผลิตเยื่อที่เหมาะสม พบว่า การผลิตเยื่อในทุกภาวะทำให้เส้นใยมีขนาดสั้นลง จำนวนกระจุกเส้นใยลดลง และปริมาณเส้นใยขนาดเล็กมากขึ้น โดยการผลิตเยื่อด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 18 ของน้ำหนักเยื่อแห้ง โซเดียมไบซัลไฟต์ความเข้มข้นร้อยละ 15 ของของเหลวทั้งหมด และการบดที่ค่าสภาพระบายได้ 258 มิลลิลิตร ให้สมบัติของกระดาษในด้านต่างๆ ดีที่สุด จึงนำกากที่ผลิตด้วยวิธีดังกล่าวไปทดลองผสมกับเยื่อรีไซเคิลจากกล่องลูกฟูกเก่าในอัตราส่วนต่างๆ กัน ซึ่งพบว่าการเพิ่มปริมาณกากมันสำปะหลังในแผ่นกระดาษ ส่งผลให้ความแข็งแรงต่อแรงดึง ความแข็งแรงต่อแรงดันทะลุ ความแข็งแรงต่อแรงฉีก ความแข็งแรงต่อการโค้งงอ และความเรียบส่วนใหญ่ลดลง แต่การต้านอากาศของเยื่อจากการผลิตด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ โซเดียมไบซัลไฟด์และการบดเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การผลิตเยื่อด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ร้อยละ 18 ของน้ำหนักเยื่อแห้งเป็นภาวะการผลิตเยื่อที่เหมาะสมที่สุดสำหรับกากมันสำปะหลัง เนื่องจากให้ค่าความแข็งแรงต่อแรงดึงที่สูง และไม่ลดลงเมื่อเพิ่มปริมาณกากเข้าไปทดแทนเยื่อรีไซเคิล
Other Abstract: Cassava (Manihot esculenta Crantz.) residue is an industrial waste from starch production with a large amount of fibers. Fiber analysis showed that the fiber length of the residue which is larger than 50-mesh screen is closs to that of hardwood pulp. Cassava residue that is smaller than 50-mesh screen has very short fibers but better paper properties, possible due to lower shive content. Therefore, the residue larger than 50-mesh screen was further pulped mechanically and chemically to separate the fibers. It was found that every condition of pulping reduced fiber length and shive content, but produced more fines. Pulping using Sodium Hydroxide at 18 % w/w, Sodium bisulfite at 15 % v/lv and beating at freeness 258 ml. gave best result. The cassava residue pulps from these pulping processes were then blended with recycled pulp from Old Corrugated Container (OCC) in various ratios. It was found that an increase in cassava residue quantity lowered tensile index, burst index, tear index, bending stiffness and smoothness, but increased air resistance in the pulp produced by Sodium Hydroxide, Sodium bisulfite and beating. Pulping of cassava residue using Sodium Hydroxide at 18 % w/w was suitable for recycled pulp substitution due to highest tensile index.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51867
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2132
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2132
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nuntaporn_tr.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.