Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51932
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิมลวรรณ พิมพ์พันธุ์-
dc.contributor.advisorดวงหทัย เพ็ญตระกูล-
dc.contributor.authorกิติศักดิ์ จงเสรีกิจ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-02-17T03:21:44Z-
dc.date.available2017-02-17T03:21:44Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51932-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractกราฟต์โคพอลิเมอร์ของแป้งข้าวเหนียวและพอลิเมทิลเมทาคริเลต สามารถสังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบฟรีแรดิคัล โดยใช้เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ 0.1 กรัม เป็นสารเริ่มปฏิกิริยาในตัวกลางที่เป็นน้ำ ณ อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง โดยปรับเปลี่ยนปริมาณสารตั้งต้นเป็น 2 ภาวะ คือ ภาวะที่ 1 ใช้แป้งข้าวเหนียว 5 กรัม และเมทิลเมทาคริเลตมอนอเมอร์ 5 กรัม สำหรับภาวะที่ 2 ปริมาณแป้งข้าวเหนียว 7.5 กรัม และเมทิลเมทาคริเลตมอนอเมอร์ 2.5 กรัม โดยมีการเพิ่มปริมาณสารตั้งต้นเป็น 5 10 15 20 และ 50 เท่าของระดับปฏิบัติการ การเกิดกราฟต์โคพอลิเมอร์สามารถยืนยันได้จากการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่ได้ด้วยฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี และการวิเคราะห์ลักษณะทางสัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ผลจากการวิเคราะห์คุณลักษณะการกราฟต์ แสดงให้เห็นว่าปฏิกิริยากราฟต์โคพอลิเมอไรเซชันเกิดได้ดีกว่าโฮโมพอลิเมอไรเซชันเมื่อความเร็วรอบในการกวนลดลง นอกจากนี้ ยังพบว่า การเพิ่มปริมาณการสังเคราะห์ไม่ส่งผลกระทบต่อคุณลักษณะการกราฟต์อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อนำกราฟต์โคพอลิเมอร์มาขึ้นรูปเป็นพลาสติกและโฟม ด้วยวิธีการอัดแบบ ที่อุณหภูมิ 170 180 และ 190 องศาเซลเซียส พบว่า ผลิตภัณฑ์ทั้งสองสามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้และไม่ละลายในตัวทำละลายทั่วไป พลาสติกที่เตรียมจากกราฟต์โคพอลิเมอร์ที่สังเคราะห์ได้ โดยใช้ภาวะที่ 1 และอัดแบบด้วยอุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส มีสมบัติเชิงกลดีที่สุด ในขณะที่โฟมที่เตรียมจากกราฟต์โคพอลิเมอร์ที่สังเคราะห์โดยใช้ภาวะที่ 1 และอัดแบบด้วยอุณหภูมิ 190 องศาเซลเซียส มีสมบัติเชิงกลดีที่สุดเช่นกันen_US
dc.description.abstractalternativeGlutinous starch-g-poly(methyl methacrylate) was synthesized by free radical polymerization using benzoyl peroxide (BPO) 0.1 g as an initiator in aqueous medium at 80 ℃ for 2 hours. The amounts of reactants were varied as 2 conditions. For condition 1, 5 g of glutinous starch and 5 g of methyl methacrylate monomer were used. For condition 2, 7.5 g of glutinous starch and 2.5 g of methyl methacrylate monomer were used. The amounts of the reactants were increased to 5, 10, 15, 20 and 50 times of lab scale. The formation of graft copolymers was confirmed by FT-IR spectroscopy and scanning electron microscopy. Grafting characteristics showed that graft copolymerization was more favorable than homopolymerization when decreasing stirring speed. In addition, it was found that an increase in the batch size did not significantly affect the grafting characteristics. To prepare plastic and foam products, graft copolymers were then compressed using compression molding at 170, 180 and 190 ℃. It was found that both products were biodegradable and did not dissolve in common solvents. The plastic prepared from graft copolymer synthesized using first condition and compressed at 170 ℃ exhibited the best mechanical properties. The foam prepared from graft copolymer synthesized using first condition and compressed at 190 ℃ also exhibited the best mechanical properties.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.219-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพลาสติก -- การย่อยสลายทางชีวภาพen_US
dc.subjectโฟม -- การย่อยสลายทางชีวภาพen_US
dc.subjectแป้งข้าวเหนียวen_US
dc.subjectกราฟต์พอลิเมทิลเมทาคริเลตen_US
dc.subjectPlastics -- Biodegradationen_US
dc.subjectFoam -- Biodegradationen_US
dc.subjectGraft poly (methyl methacrylate)en_US
dc.titleการเตรียมพลาสติกและโฟมที่ย่อยสลายทางชีวภาพจากแป้งข้าวเหนียวกราฟต์พอลิเมทิลเมทาคริเลตen_US
dc.title.alternativePreparation of biodegradable plastics and foams from glutinous starch-graft poly (methyl methacrylate)en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorvimolvan@gmail.com-
dc.email.authorduanghat@sc.chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.219-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kitisak_jo_front.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open
kitisak_jo_ch1.pdf430.95 kBAdobe PDFView/Open
kitisak_jo_ch2.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open
kitisak_jo_ch3.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open
kitisak_jo_ch4.pdf4.85 MBAdobe PDFView/Open
kitisak_jo_ch5.pdf394.51 kBAdobe PDFView/Open
kitisak_jo_back.pdf4.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.