Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52005
Title: มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการล้มละลายของธนาคารพาณิชย์
Other Titles: Leagl measures relating to commercial bank insolvency
Authors: กฤษดา ตรีเกษมมาศ
Advisors: ศักดา ธนิตกุล
คณพล จันทน์หอม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Sakda.T@chula.ac.th
kanaphon.c@chula.ac.th
Subjects: ธนาคารพาณิชย์
ธนาคารพาณิชย์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
Banks and banking
Banks and banking -- Law and legislation -- Thailand
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ธนาคารพาณิชย์เป็นธุรกิจสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาต่อระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจ ของประเทศ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับเงินตราที่มีอยู่ในระบบอย่างมหาศาล นอกจากนี้แล้ว ธนาคารพาณิชย์ยังมีสินทรัพย์ เจ้าหนี้และลูกหนี้เป็นจำนวนมากซึ่งหากธนาคารพาณิชย์เกิดความล้มเหลวและมี หนี้สินล้นพ้นตัวความล้มเหลวดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อระบบเศรษฐกิจและระบบการเงินของ ประเทศได้ การบัญญัติกฎหมายล้มละลายสำหรับธนาคารพาณิชย์ขึ้นใช้เป็นพิเศษเพื่อจัดการกรณีธนาคารพาณิชย์ ล้มเหลวจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะสามารถช่วยรักษาไว้ซึ่งความมีเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบการเงินและ ระบบธนาคารพาณิชย์ได้ อย่างไรก็ดี จากการศึกษาบทบัญญัติทางกฎหมายของไทย ไม่พบว่ามีการบัญญัติกฎหมาย ล้มละลายสำหรับธนาคารพาณิชย์ขึ้นบังคับใช้เป็นพิเศษ โดยหากธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยล้มเหลวและมีหนี้ สินล้นพ้นตัว จะต้องดำเนินการจัดการให้เป็นไปตามที่พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และพระ ราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 กำหนดไว้ และให้มีการดำเนินคดีล้มละลายต่อธนาคารพาณิชย์ภาย ใต้บทบัญญัติของพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งเน้นเพื่อวิเคราะห์ปัญหา ข้อบกพร่อง และแนวโน้มในการพัฒนากฎหมายล้ม ละลายของไทยในการจัดการกรณีที่ธนาคารพาณิชย์มีหนี้สินล้นพ้นตัวและต้องเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย รวมถึง ความเหมาะสม ความเกี่ยวพันของขอบอำนาจหน้าที่ของศาลล้มละลาย ธนาคารแห่งประเทศไทย สถาบันคุ้มครอง เงินฝาก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินกระบวนการเกี่ยวกับธนาคารพาณิชย์ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว โดย ทำการศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์ทางกฎหมาย และวิธีการดำเนินการ กรณีธนาคารพาณิชย์ล้มเหลวและมีหนี้ สินล้นพ้นตัวในประเทศอังกฤษและประเทศสหรัฐอเมริกา จากการศึกษาผู้เขียนพบว่ามาตรการทางกฎหมายของไทยในการจัดการกรณีธนาคารพาณิชย์ล้มเหลว และมีหนี้สินล้นพ้นตัวโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นมาตรการมีประสิทธิภาพและเหมาะสม แต่ในขณะเดียวกันในบาง มาตรการก็ยังคงมีช่องว่างและล้าหลังซึ่งอาจเป็นอุปสรรคในการจัดการกรณีธนาคารพาณิชย์ล้มเหลวและมีหนี้สิน ล้นพ้นตัวได้ ผู้เขียนจึงได้นำเสนอถึงแนวคิดที่จะปรับปรุง พัฒนา และส่งเสริมความมั่นคงและความเชื่อมั่นของ ประชาชนต่อระบบการเงินและระบบการธนาคาร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการกรณีธนาคารพาณิชย์ล้ม เหลวในประเทศไทยในอนาคต
Other Abstract: Commercial bank is an important business that facilitates development in financial system and economy system of the country since the commercial bank must get involved in currency of the system enormously. Moreover, The commercial bank comprises a lot of assets, creditors and debtors, which might cause a serious impact to the economy and financial system of the country if the bank fails or contain too many debts. The enactment of the Commercial Bank Insolvency Law to handle when the bank in distress and failure is the option for saving the soundness and stability for the financial and banking systems. However, according to the study of Thai legislation, there is no special insolvency law to handle the commercial bank failure. If the commercial bank in Thailand failed and insolvency it must be proceeded by the Financial Institutions Business Act B.E. 2551 together with The Deposit Protection Agency Act B.E. 2551. Finally bring the Insolvency Law B.E. 2483 to clean everything after the Deposit Protection Agency liquidated the failed bank. Therefore this thesis approach to analyze the problems, the weakness and trend in the development of Thailand insolvency legal system in order to manage the case of bank failure and insolvency which must enter in to the insolvency procedure, including the appropriateness and the involvement of the Bankruptcy Court, The Bank of Thailand and Deposit Protection Agency by doing a comparative study of the legal measures and procedures in case of banks failure and insolvency, in England and the United States of America. According to the study, most of the measures dealing with bank failure and insolvency bank in Thailand are effective and suitable. Yet, some measures are still weakness and outdated which might interfere with the administration of bank failure and insolvency bank. The writer therefore present the ideas to improve, develop and encourage the stability and public confidence in banking and financial systems in order to effectively manage the case of commercial bank failure in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายการเงินและภาษีอากร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52005
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2155
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2155
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
krisada_tr.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.