Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52109
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรวรรณ ปิลันธน์โอวาท-
dc.contributor.authorนิษฐา หรุ่นเกษม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2017-03-02T07:25:34Z-
dc.date.available2017-03-02T07:25:34Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52109-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารกับปฏิบัติการสร้างภาพตัวแทน และกระบวนการสื่อสารกับปฏิบัติการบริหารจัดการ ผ่านสื่อพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร และพิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร จังหวัดสมุทรสงคราม โดยประยุกต์ใช้วิธีการศึกษาปฏิบัติการสร้างภาพตัวแทนตามแนวคิดของ S. Hall แนวคิดเรื่องการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมกับการบริหารงานพิพิธภัณฑ์และแนวคิดเรื่องพิพิธภัณฑ์ เป็นกรอบหลักในกระบวนการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ภาพตัวแทนของประวัติศาสตร์ชาติไทย ณ อาคารพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ที่พบก็คือ ภาพแห่งความโชคดีของปวงชนชาวไทย ที่ได้เกิดมาภายใต้ร่มพระบารมีของสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าแห่งผืนแผ่นดินไทย โดยกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อประกอบสร้างภาพตัวแทนนั้นคือ กลยุทธ์ของปริบทในการจัดแสดงและกลยุทธ์ทางด้านเวลา ในส่วนของการบริหารจัดการนั้นจะได้พบว่า อาคารพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้มีส่วนร่วมใน 2 รูปแบบ คือ การมีส่วนร่วมในฐานะผู้รับสาร และการมีส่วนร่วมด้วยการเป็นผู้ร่วมส่งสารปลายทาง หรือเรียกว่า “อาสาสมัครพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร” สำหรับภาพตัวแทนที่ได้พบผ่านพิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร จังหวัดสมุทรสงคราม คือ ภาพของเธอผู้ไม่ยอมแพ้แก่โชคชะตา โดยมีภูมิปัญญาของชุมชนที่เกิดจากความรู้และประสบการณ์ และภูมิปัญญาที่เกิดจากพลังความเชื่อเหนือธรรมชาติ เป็นอาวุธสำคัญให้ชาวบ้านเขายี่สารสามารถปรับตัวให้อยู่อาศัย ภายในสภาพแวดล้อมที่อยู่ได้อย่างยากลำบากมาอย่างยาวนาน โดยกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อการประกอบสร้างภาพตัวแทนนั้นคือ กลยุทธ์ของปริบทในการจัดแสดงและกลยุทธ์ทางด้านพื้นที่ ในส่วนของการบริหารจัดการนั้นจะได้พบว่า ชาวบ้านเขายี่สารได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมกับพิพิธภัณฑ์ ทั้งในฐานะของผู้รับสาร ผู้ร่วมผลิต/ผู้ร่วมส่งสาร และการมีส่วนร่วมในฐานะผู้วางแผนและกำหนดนโยบายของพิพิธภัณฑ์en_US
dc.description.abstractalternativeThis research is a qualitative research aiming at examining communication process and the practice of representation, as well as the practice of management through the National Museum, Bangkok and the Local Museum of Ban Khao Yisan, Samut Songkram province. The application of S. Hall’s encoding-decoding, participatory communication for museum management, and the concepts of museum were done as the research framework. The research result reveals that the representation of Thai nation history found at the Gallery of Thai history located at Sivamokkhapiman Hall is the image of Thai citizens being grateful to be born under the compassionate reigns of Thai Kings since the predecessors. The strategy used to create the stated representation is the strategy of display context and the strategy of specified time management. In the communication for the management aspect, the researcher found that the receivers of the museum have opportunities to take part as the active audiences and also as the co-senders or the volunteer of the museum. The representation found at the Local Museum of Ban Khao Yisan is the image of the villagers who never give up to fate. The local wisdom attained from people’s knowledge and experiences as well as wisdom attained from supernatural belief are the prominent tools that enable and empower the Ban Khao Yisan villagers to adjust their lives in the long string of hardship. The strategy used to create the stated representation is the strategy of display context and the strategy of space/place context. In the communication for the management aspect, the researcher found that the Ban Khao Yisan villagers have opportunities to participate as the audiences of the museum and also in the high ranking of participation as the co-sender or the co-producer and the policy planner of the museum.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.753-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพิพิธภัณฑ์ -- ไทยen_US
dc.subjectการสื่อสารen_US
dc.subjectอัตลักษณ์en_US
dc.subjectMuseums -- Thailanden_US
dc.subjectCommunicationen_US
dc.subjectIdentity ‪(Philosophical concept)‬en_US
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.titleการสื่อสารกับปฏิบัติการสร้างภาพตัวแทนผ่านสื่อพิพิธภัณฑสถานในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeCommunication and practices of representation through the museums as texts in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorOrawan.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.753-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nitta_ro_front.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
nitta_ro_ch1.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open
nitta_ro_ch2.pdf9.74 MBAdobe PDFView/Open
nitta_ro_ch3.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
nitta_ro_ch4.pdf13.16 MBAdobe PDFView/Open
nitta_ro_ch5.pdf12.99 MBAdobe PDFView/Open
nitta_ro_ch6.pdf8.68 MBAdobe PDFView/Open
nitta_ro_back.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.