Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52144
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาชัญญา รัตนอุบลen_US
dc.contributor.advisorจุฬารัตน์ เพชรวิเศษen_US
dc.contributor.authorศุภวดี มีเพียรen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2017-03-03T03:01:02Z-
dc.date.available2017-03-03T03:01:02Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52144-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและระดับจิตสำนึกสาธารณะของทหารกองประจำการ 2) พัฒนารูปแบบการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะของทหารกองประจำการ และ 3) นำเสนอนโยบายเชิงปฏิบัติในการใช้รูปแบบการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะของทหารกองประจำการ กลุ่มตัวอย่างในการดำเนินการพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะคือ ทหารกองประจำการ หน่วยกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 4 จำนวน 30 นาย โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการนี้คือ แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม และแบบสอบถามเพื่อวัดระดับจิตสำนึกสาธารณะของทหารกองประจำการโดยวัดผลทั้งก่อนและหลังการดำเนินการฝึกอบรม แบบสัมภาษณ์ และแบบสนาทนากลุ่ม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การฝึกทหารกองประจำการในปัจจุบันยังไม่มีการฝึกด้านจิตสำนึกสาธารณะที่ชัดเจน แต่จะใช้การปลูกฝังเรื่องอุดมการณ์ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นแนวทางการฝึกด้านจิตสำนึกสาธารณะแทนกอปรกับทหารกองประจำการทั่วประเทศมีจิตสำนึกสาธารณะในระดับการนึกถึงประโยชน์ส่วนตน คิดเป็นร้อยละ 38.3 การดำเนินการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะ ประกอบไปด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างความคุ้นเคย การยึดโยงการมีส่วนร่วม การสร้างความร่วมมือกับชุมชน การสร้างเป้าหมายการเรียนรู้ การเตรียมความพร้อม การปฏิบัติเพื่อสังคม การสะท้อนคิด และการประเมินผล โดยภายหลังการฝึกอบรมตามแนวทางที่พัฒนาขึ้น ทหารกองประจำการมีจิตสำนึกสาธารณะในระดับการนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 56.6 ซึ่งมีระดับจิตสำนึกสาธารณะเพิ่มขึ้นจากก่อนฝึกอบรม ร้อยละ 26.6 ทหารกองประจำการมีระดับจิตสำนึกสาธารณะหลังการฝึกอบรมแตกต่างจากก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้รูปแบบการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะของทหารกองประจำการมี 5 องค์ประกอบ คือ 1) ความเชื่อ 2) แนวคิด ประกอบด้วยการศึกษานอกระบบโรงเรียน การเรียนรู้ผู้ใหญ่ และการเรียนรู้โดยการรับใช้สังคม 3) บริบทของรูปแบบ ได้แก่ บริบทเชิงสังคมและวัฒนธรรม บริบทเชิงบรรยากาศ บริบทเชิงทรัพยากร 4) ผู้ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมาย ผู้จัดการฝึกอบรม พี่เลี้ยง ชุมชน และหน่วยสนับสนุน และ 5) กระบวนการฝึกอบรม ประกอบด้วยการหาความจำเป็น การสร้างหลักสูตรฝึกอบรม การกำหนดโครงการฝึกอบรม การดำเนินการฝึกอบรม และการประเมินผล นโยบายเชิงปฏิบัติระดับยุทธศาสตร์ ได้แก่ การมีขีดความสามารถในการช่วยเหลือประชาชนในทุกด้าน การเสริมสร้างความรู้เพื่อให้สามารถเป็นผู้นำชุมชนได้ การมีจิตอาสาและจิตสาธารณะ การมีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชน ระดับยุทธการ ได้แก่ การพัฒนาขีดความสามารถทหารกอกงประจำการ การทำความเข้าใจเรื่องการเป็นผู้นำชุมชน การสนับสนุนให้ทหารกองประจำการอาสาและปฏิบัติงานช่วยเหลือชุมชน และพัฒนาคู่มือฝึกทหารใหม่ ระดับยุทธวิธี ได้แก่ การพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการช่วยเหลือชุมชน การปลูกฝังการปฏิบัติงานที่ไม่หวังผลตอบแทน การเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะ และการผนึกกำลังทุกภาคส่วน ในระดับบุคคล ได้แก่ การมีความพร้อมอยู่เสมอ การตระหนักรู้ปัญหาชุมชน การมีส่วนร่วมกับชุมชน และการฝึกฝนทักษะที่จำเป็นในการช่วยเหลือชุมชนen_US
dc.description.abstractalternativeThis dissertation/thesis aimed to (1) examine state and level of public consciousness of in-service military officers; (2) develop the training model to enhance public consciousness of in-service military conscripts; and (3) propose a practical policy to enhance public consciousness of in-service military conscripts. Participants in the study were 30 military conscripts of 2nd Infantry Battalion 4th Infantry Regiment. Participant observation technique, Questionnaire were applied to evaluate public consciousness of in-service military conscripts before and after the training, Interview and Focus group. Research findings were as follows; (1) Existing Military Conscript Training Curriculum contained no apparent issue regarding public consciousness; alternatively military officers were inculcated in the patriotism, preservation of Buddhism and Monarchy Loyalty in order to develop public consciousness. Statistic showed that in-service military conscript countrywide had public consciousness at moral reasoning level (38.3%). (2) Public consciousness training consisted of 7 steps; familiarization, community partnership establishment, set up learning objectives, preparation, social responsibility practice, reflective thinking, and evaluation. After the training, in-service military conscripts have increased public consciousness to the highest social responsibility level (56.6%), which indicated the significant difference, compared with the level of public consciousness before the training (26.6%). When compared with pre-training, in-service military conscripts ave significatly increased the public consciousness at post-training period (P < 0.05). Training model to enhance public consciousness of in-service military conscripts consist of 5 elements as follows: (1) Trust (2) Concepts including non-formal education, adult learning and service learning (3) Context of model including social and curtural context, atmospheric context and resourceful context (4) Relevant person including learner, trainer, caretaker, community and supporter and (5) Training procedure including needs, training course, training project, training action and evaluation. (3) Practical policy suggested for Royal Thai Armed Forces are divided into four levels. First, at Strategy level, in-service military conscripts should have capacity to provide assistance for community and to be a community leader, as well as have the volunteer spirit, the public consciousness, and the intuitiveness in community problem solving. Second, at Operation level, RTAF should encourage in-service military conscripts in volunteering and providing assistances for community, as well as develop in-service military officer capacity, improve military inductee manual, and understanding Community Leader principle. Third, at Tactics level, RTAF should assemble all sectors, develop public consciousness, as well as other essential skills for public help, and inculcate voluntary perspective (practice without expecting anything in return).Lastly, at Individual level, RTAF should establish in-service military officer an awareness in public issue, enhance the community participation, develop the essential skills for social assistance, and preparedness.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.248-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectจิตสาธารณะ-
dc.subjectการฝึกวิชาทหาร-
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิต-
dc.subjectPublic mind-
dc.subjectMilitary education-
dc.titleการพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้ของผู้ใหญ่และการเรียนรู้โดยการรับใช้สังคมเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะสำหรับทหารกองประจำการกองทัพไทยen_US
dc.title.alternativeDEVELOPMENT OF A TRAINING MODEL BASED ON ADULT LEARNING AND SERVICE LEARNING CONCEPTS TO ENHANCE THE PUBLIC CONSCIOUSNESS OF IN-SERVICE MILITARY CONSCRIPTS OF ROYAL THAI ARMED FORCESen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorArchanya.R@Chula.ac.th,archanya@gmail.comen_US
dc.email.advisorchulawise@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.248-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5484489927.pdf8.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.