Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52196
Title: การแยกเบนโทไนต์จากฝุ่นทรายแบบหล่อ
Other Titles: Separation of bentonite from foundry sand dust
Authors: อารีรัตน์ ศุภศิริสมบัติ
Advisors: พิชญ รัชฎาวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Pichaya.R@Chula.ac.th,rpichaya@hotmail.com
Subjects: ฝุ่น -- การกำจัด
อุตสาหกรรมเหล็ก -- การควบคุมฝุ่น
Dust -- Removal
Iron industry and trade -- Dust control
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กระบวนการผลิตแบบหล่อทรายในโรงงานผลิตลูกเหล็กจะทำให้เกิดของเสียฝุ่นทรายขึ้นเรียกว่า ฝุ่นทรายแบบหล่อ ทั้งนี้โรงงานต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำฝุ่นทรายแบบหล่อไปกำจัดที่หลุมฝังกลบ แต่พบว่าของเสียฝุ่นทรายแบบหล่อมีเบนโทไนต์ที่สามารถใช้งานได้และนำกลับมาเป็นวัตถุดิบหลักใหม่สำหรับการผลิตแบบหล่อทรายตกค้างอยู่ถึงร้อยละ 11 – 19 โดยน้ำหนัก งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาการแยกเบนโทไนต์ออกจากฝุ่นทรายแบบหล่อ เพื่อลดต้นทุนค่าเบนโทไนต์และลดค่าใช้จ่ายเพื่อการกำจัดฝุ่นทรายแบบหล่อ ตัวอย่างฝุ่นทรายแบบหล่อที่ใช้ในงานวิจัยนี้มี 2 ตัวอย่าง คือ ตัวอย่าง A และตัวอย่าง B ทั้งนี้ขั้นตอนในการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการแยกเบนโทไนต์ที่ใช้งานได้ออกจากฝุ่นทรายแบบหล่อ มีดังนี้ การทดลองที่ 1 การร่อนแยกส่วนที่ไม่ต้องการออกไปก่อน การทดลองที่ 2 การให้ความร้อนเพื่อระเหยน้ำที่ผิวสัมผัสของเบนโทไนต์ การทดลองที่ 3 การขัดสีร่วมความร้อนเพื่อเพิ่มการหลุดแยกของเบนโทไนต์ การทดลองที่ 4 การเปลี่ยนขนาดตะแกรง เพื่อให้เบนโทไนต์ร่วงผ่านตะแกรงลงมาได้ดีขึ้น จากความบริสุทธิ์ของเบนโทไนต์เริ่มต้นที่ร้อยละ 13.8 และ 16.9 สำหรับตัวอย่าง A และตัวอย่าง B พบว่าการให้ความร้อนได้ผลที่ดีที่สุดสำหรับตัวอย่าง A และตัวอย่าง B คือ ที่สภาวะอุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการอบ 90 นาที และที่สภาวะอุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการอบ 30 นาที ตามลำดับ ส่วนการขัดสีร่วมกับความร้อนได้ผลที่ดีที่สุดสำหรับตัวอย่าง A และตัวอย่าง B คือ ที่สภาวะความเร็วรอบ 2,500 รอบต่อนาที ใช้เวลาในการขัดสี 5 นาที และที่สภาวะความเร็วรอบ 500 รอบต่อนาที ใช้เวลาในการขัดสี 5 นาที ตามลำดับ และส่วนการเปลี่ยนขนาดตะแกรงได้ผลที่ดีที่สุดสำหรับตัวอย่าง A และตัวอย่าง B คือ ที่สภาวะขนาดตะแกรง 500 เมซ คิดเป็นร้อยละการนำเบนโทไนต์ที่ใช้งานได้กลับคืนมาของตัวอย่าง A และ B คือ 92.10 และ 89.44 ตามลำดับ ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอต่อการนำคืนกลับมาใช้งานใหม่ได้ในโรงงาน และประหยัดค่าใช้จ่ายกำจัดฝุ่นทรายแบบหล่อรวมถึงลดต้นทุนค่าเบนโทไนต์ได้
Other Abstract: Production of foundry sand molds in a steel ball factory can generate small particulates called foundry sand dust, that need to be disposed of in landfills. However, foundry sand dusts contained active bentonite around 11-19%, which can be led to waste reuse in sand molding operation. This study focuses on the separation of bentonite from foundry sand dust. Such recovery could result in cost saving of raw material and for landfilling. Two samples were used in this study; sample A and sample B. The experiment of steps were divided into four steps. The first step was sieving of non active bentonite. The second step was application of heat to evaporate free water at the dust-bentonite interface. The third was attrition with heat for additional removal of bentonite. The later was to screen size changes, to removal only active bentonite. The percentage purity of active bentonite start at 13.8 and 16.9 for sample A and sample B, respectively. For the second step experiment, the optimal condition of sample A and sample B were found at 120 °C and 90 minute and at 120 °C and 30 minute, respectively. The optimal conditions for heat and attrition of sample A and sample B were found at 2500 rpm and 5 minute and at 500 rpm and 5 minute, respectively. The optimal screen size for sample A and sample B was at the 500 mesh of sieve. The percentage recovery of active bentonite from sample A and sample B were 92.10 %, 89.44 %, respectively. The amount was adequate for reuse in foundry operation. Such recovery could result in raw material cost saving and landfilling fee.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52196
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1045
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1045
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670495421.pdf7.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.