Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52234
Title: การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการทำประตูฟุตบอลของทีมที่ประสบความสำเร็จกับทีมที่ไม่ประสบความสำเร็จในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014
Other Titles: A COMPARATIVE STUDY OF SUCCESSFUL GOAL ATTACKING PATTERN BETWEEN SUCCESSFUL AND UNSUCCESSFUL TEAM IN THE 2014 WORLD CUP SOCCER TOURNAMENT
Authors: แพรว สีหมากสุก
Advisors: ชัชชัย โกมารทัต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Chuchchai.G@Chula.ac.th,chuchchai.g@chula.ac.th
Subjects: ฟุตบอล -- การแข่งขัน
ฟุตบอลโลก
Soccer -- Tournaments
World Cup (Soccer)
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบรูปแบบการทำประตูฟุตบอลและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำประตูฟุตบอลที่เข้ากรอบประตูของทีมที่ประสบความสำเร็จกับทีมที่ไม่ประสบความสำเร็จ ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ดำเนินการวิจัยคือทีมที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ ทีมชาติเยอรมัน ทีมชาติอาร์เจนตินา และทีมที่ไม่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ ทีมชาติญี่ปุ่น ทีมชาติออสเตรเลีย ทีมชาติฮอนดูรัส และทีมชาติแคเมอรูน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ทำการวิเคราะห์และบันทึกข้อมูลจากเกมการแข่งขัน จำนวน 25 เกม ผ่านโปรแกรม Focus X2 Version 1.5 โดยนำข้อมูลค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการทำประตูและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำประตู วิเคราะห์ความแตกต่างโดยการทดสอบกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ด้วย The Mann-Whitney U Test และ The Friedman Test กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการทำประตูที่นิยมใช้มากที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ของทีมที่ประสบความสำเร็จและทีมที่ไม่ประสบความสำเร็จ พบว่า รูปแบบการส่งลูกจากด้านข้าง (Crossing) จำนวน 158 ครั้ง (23.41%) จากรูปแบบการทำประตูทั้งหมด 675 ครั้ง และรูปแบบการส่งลูกจากด้านข้าง (Crossing) เป็นรูปแบบการทำประตูที่เข้ากรอบประตูมากที่สุด จำนวน 38 ครั้ง (17.19%) จากการทำประตูที่เข้ากรอบทั้งหมด 221 ครั้ง และยังเป็นรูปแบบการทำประตูที่ได้ประตูมากที่สุด จำนวน 8 ครั้ง (24.25%) จากการทำประตูที่ได้ประตูทั้งหมด 33 ครั้ง 2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำประตูที่เข้ากรอบประตูของทีมที่ประสบความสำเร็จกับทีมที่ไม่ประสบความสำเร็จในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 คือ ใช้ตำแหน่งกองหน้าทำประตู 123 ครั้ง (55.70%) โดยใช้พื้นที่ที่ใช้ทำประตูภายในเขตโทษ 117 ครั้ง (52.94%) ใช้ตำแหน่งกองกลางส่งบอลให้ผู้เล่นทีมเดียวกันทำประตู 99 ครั้ง (44.80%) ใช้พื้นที่ที่ใช้ส่งบอลหน้ากรอบเขตโทษ 47 ครั้ง (21.27%) ใช้เทคนิคในการยิงประตูคือ การยิงด้วยหลังเท้า 92 ครั้ง (41.60%) ใช้แทคติคในการทำประตูคือ การหาพื้นที่ว่าง 81 ครั้ง (36.70%) และช่วงเวลาที่ใช้ในการทำประตูคือ นาทีที่ 1 - 15 กับ นาทีที่ 46 - 60 จำนวนอย่างละ 38 ครั้ง (17.19%) 3. เปรียบเทียบรูปแบบการทำประตูที่เข้ากรอบประตูของทีมที่ประสบความสำเร็จกับทีมที่ไม่ประสบความสำเร็จในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 8 รูปแบบ โดยทีมที่ประสบความสำเร็จใช้รูปแบบการทำประตูที่เข้ากรอบประตูมากกว่าทีมที่ไม่ประสบความสำเร็จ จำนวน 6 รูปแบบ คือ รูปแบบการส่งลูกจากด้านข้าง (Crossing) การส่งลูกชิ่ง (Wall pass) การส่งทะลุแนวป้องกัน (Through pass) การส่งลูกตัดหลัง (Cut back) และการเตะจากมุม (Corner kick) และการโต้กลับเร็วในแดนคู่ต่อสู้ (Fast breaks) ส่วนทีมที่ไม่ประสบความสำเร็จใช้รูปแบบการทำประตูคือ การเตะโทษโดยตรง (Direct free kick) กับ การส่งบอลระยะไกล (Long pass) มากกว่าทีมที่ประสบความสำเร็จ 4. เปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำประตูที่เข้ากรอบประตูของทีมที่ประสบความสำเร็จกับทีมที่ไม่ประสบความสำเร็จในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 พบว่า ตำแหน่งของผู้เล่นที่ทำประตู พื้นที่ที่ใช้ทำประตู พื้นที่ที่ใช้ส่งบอลให้ผู้เล่นทีมเดียวกันทำประตู และแทคติคในการทำประตู มีความแตกต่างกัน อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 มีการใช้รูปแบบการทำประตูที่นิยม ได้ประตู และเข้ากรอบประตูมากที่สุด คือ ส่งจากด้านข้าง (Crossing) เมื่อเปรียบเทียบรูปแบบการทำประตูที่เข้ากรอบประตูของทีมที่ประสบความสำเร็จมีรูปแบบการทำประตูที่แตกต่างจากทีมที่ไม่ประสบความสำเร็จ จำนวน 8 รูปแบบคือ รูปแบบการส่งลูกจากด้านข้าง (Crossing) การส่งลูกชิ่ง (Wall pass) การส่งทะลุแนวป้องกัน (Through pass) การส่งลูกตัดหลัง (Cut back) การโต้กลับเร็วในแดนคู่ต่อสู้ (Fast breaks) การเตะโทษโดยตรง (Direct free kick) การเตะจากมุม (Corner kick) และการส่งบอลระยะไกล (Long pass)
Other Abstract: The study aimed to investigate and compare the patterns and the factors affecting goal between successful and unsuccessful teams in Soccer World Cup 2014. The analytic study was conducted by purposive sampling. The samples were divided into two groups: successful team (German and Argentina) and unsuccessful teams (Japan, Australia, Honduras and Cameroon). Twenty five games were analyzed from motion files recording by using sport analysis software Focus X2 version 1.5. The comparison of patterns and factors affecting goal were analyzed in terms of frequency and percentage using the Mann-Whitney U Test and the Friedman Test. The significant difference level was at .05. Results 1. In Soccer World Cup 2014, the goal attacking pattern which most frequently used by successful and unsuccessful teams was crossing 158 times (23.41%) from the total 675 times. Also, crossing was the most frequency shot on target pattern used 38 times (17.19%) from the total 221 times and was the most frequently succeed goal attacking 8 times (24.25%) from total 33 times. 2. The factors affecting shot on target used by successful and unsuccessful teams in Soccer World Cup 2014 were striker player 123 times (55.70%) by using inside the penalty area 117 times (52.94%). Second factor is passing by the midfield players to teammate 99 times (44.80%) by using in front of the penalty area 47 times (21.27%). Third factor is using instep shot technique 92 times (41.60%). Forth factor is running into free space tactic 81 times (36.70%). The last factor is time takes to score which were 1st - 15th minutes 38 times (17.19%) and 46th - 60th minutes 38 times (17.19%). 3. In a comparison of shot on target patterns between successful and unsuccessful teams in Soccer World Cup 2014, it was found that there were 8 different patterns in statistical significance between groups (p<.05), out of which the successful teams used 6 shot on target patterns, namely, crossing, wall pass, through pass, cut back, corner kick and fast breaks, while the unsuccessful teams used only 2 shot on target patterns, namely, direct free kick and long pass more than the successful teams. 4. In a comparison of factors affecting shot on target between successful and unsuccessful teams in Soccer World Cup 2014, it was found that the shooting position, the area of shooting, the area used for passing ball to the teammate and the tactic of shooting were different in statistical significance between groups (p<.05). Conclusion In Soccer World Cup 2014, the most frequency used of patterns of goal attacking as well as shot on target was crossing. To compare the patterns of shot on target between successful and unsuccessful team have found that there were 8 different patterns consisting of crossing, wall pass, through pass, cut back, corner kick, fast breaks, direct free kick and long pass.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52234
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.808
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.808
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5678409039.pdf5.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.