Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52286
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุธา ขาวเธียรen_US
dc.contributor.authorเพ็ญพธู ศิริรัตนประเสริฐen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2017-03-03T03:04:36Z-
dc.date.available2017-03-03T03:04:36Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52286-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559en_US
dc.description.abstractการนำน้ำมันปาล์มมาผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ เป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือกที่ได้รับความสนใจ โดยน้ำมันปาล์มมีความหนืดสูง เมื่อนำไปใช้งานโดยตรงจะก่อให้เกิดปัญหาต่อการทำงานของเครื่องยนต์ ดังนั้นจึงต้องมีวิธีลดความหนืดของน้ำมันปาล์มก่อนนำไปใช้งาน ซึ่งไมโครอิมัลซิฟิเคชันเป็นหนึ่งในวิธีที่สามารถลดความหนืดของน้ำมันปาล์มได้ โดยการผสมของเหลว 2 ชนิดที่มีเฟสต่างกัน ได้แก่ น้ำมัน (น้ำมันปาล์มผสมร่วมกับน้ำมันดีเซล) เป็นเฟสที่ไม่มีขั้วและแอลกอฮอล์ (เอทานอลผสมร่วมกับบิวทานอล) เป็นเฟสที่มีขั้ว ให้สามารถรวมตัวเป็นเนื้อเดียวกันและมีความเสถียรทางอุณหพลศาสตร์ โดยใช้สารลดแรงตึงผิวและสารลดแรงตึงผิวร่วมเป็นสารเชื่อมประสาน เชื้อเพลิงไมโครอิมัลชันที่ได้จัดอยู่ในไมโครอิมัลชันรูปแบบวินเซอร์แบบที่ 2 หรือชนิดน้ำในน้ำมัน โดยในงานวิจัยนี้ศึกษาผลของสารลดแรงตึงผิวกลุ่มเอสเทอร์ชนิดไม่มีประจุ 3 ชนิด ได้แก่ เมทิลโอลิเอต เมทิลเอสเทอร์ และเอทิลเอสเทอร์ ซึ่งเมทิลเอสเทอร์และเอทิลเอสเทอร์สังเคราะห์ผ่านกระบวนการทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน โดยมีโซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ต่อพฤติกรรมวัฎภาค ค่าความหนืดเชิงจลนศาสตร์ และสมบัติของเชื้อเพลิงชีวภาพ จากผลการศึกษา พบว่า เมทิลโอลิเอตและเมทิลเอสเทอร์สามารถทำให้วัฏภาคของน้ำมันปาล์มที่ผสมร่วมกับน้ำมันดีเซลและเอทานอลที่ผสมร่วมกับบิวทานอลรวมตัวเป็นเนื้อเดียวกันได้ และค่าความหนืดเชิงจลนศาสตร์ ความหนาแน่น จุดไหลเท และ ค่าความร้อน มีค่าใกล้เคียงเกณฑ์มาตรฐานน้ำมันไบโอดีเซล และจากการประเมินค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพด้วยวิธีไมโครอิมัลชัน พบว่า เชื้อเพลิงชีวภาพที่ใช้เมทิลเอสเทอร์เป็นสารลดแรงตึงผิวมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด ดังนั้นการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพด้วยวิธีไมโครอิมัลชันสามารถใช้เมทิลเอสเทอร์ทดแทนเมทิลโอลิเอตได้en_US
dc.description.abstractalternativePalm oil is an alternative energy source that is considered for the production of renewable fuel. However, the direct use of palm oil can causes durability problems in the engine because its high viscosity. Microemulsification is one of the alternative methods that can be used to reduce palm oil viscosity. Microemulsions involes mixing two immiscible liquid, non-polar oil phase and polar alcohol phase, with surfactants and co-surfactants is stabilizers. Microemulsion-based biofuel is a Winsor Type II (water in oil). The objective of this research is to study the effect of 3 types ester surfactants (methyl oleate, methyl ester and ethyl ester) on the microemulsion phase behavior, kinematic viscosity and fuel properties. Both methyl ester and ethyl ester were prepared from palm oil through transesterification the mixture using sodium hydroxide based catalyst. The result showed that methyl oleate and methyl ester is surfactant from single phase. The kinematic viscosity density, pour point and heat of combustion of microemulsion biofuels were in line with biodiesel. From our cost prediction for the production of microemulsion biofuels we found that using methyl ester in this procedure cause the lowest cost. In summary, the production of biofuels by microemulsion can use methyl esther instead of methyl oleateen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1052-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพลังงานชีวมวล-
dc.subjectน้ำมันปาล์ม-
dc.subjectสารลดแรงตึงผิว-
dc.subjectBiomass energy-
dc.subjectPalm oil-
dc.subjectSurface active agents-
dc.titleเชื้อเพลิงชีวภาพจากน้ำมันปาล์มด้วยวิธีไมโครอิมัลชันโดยใช้สารลดแรงตึงผิวกลุ่มเอสเทอร์ชนิดไม่มีประจุen_US
dc.title.alternativePalm oil based microemulsion biofuel usingnon-ionic ester surfactanten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSutha.K@Chula.ac.th,sutha.k@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.1052-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770447421.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.