Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52629
Title: กลยุทธ์การสื่อสารของมูลนิธิเพื่อนหญิงในการช่วยเหลือสตรีที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว
Other Titles: Communication strategies of friends of women foundation to heal domestic violence experienced women
Authors: กัลยพัชร บัตรสมบูรณ์
Advisors: อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: ubolwanprem@yahoo.co.th
Subjects: มูลนิธิเพื่อนหญิง
ความรุนแรงในครอบครัว
ความรุนแรงต่อสตรี
การสื่อสาร
Friends of Women Foundation
Family violence
Women -- Violence against
Communication
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารของมูลนิธิเพื่อนหญิงในการให้ความช่วยเหลือแก่สตรีที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของสตรีที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและเข้ารับความช่วยเหลือจากมูลนิธิเพื่อนหญิง รวมไปถึงปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารของมูลนิธิเพื่อนหญิง ในการช่วยเหลือสตรีที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ บุคลากรของมูลนิธิเพื่อนหญิงจำนวน 7 คน และสตรีที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวจำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การสื่อสารของมูลนิธิเพื่อนหญิงในการให้ความช่วยเหลือแก่สตรีที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวประกอบด้วยกลยุทธ์ 5 ประการ คือ 1. กลยุทธ์การให้คำปรึกษา โดยใช้การให้คำปรึกษาในระดับบุคคล และการให้คำปรึกษาในระดับกลุ่ม 2. กลยุทธ์การจัดประชุมเพื่อสร้างความร่วมมือ 3. กลยุทธ์การประสานพันธมิตรร่วม 4. กลยุทธ์การใช้สื่อ ประกอบด้วย การนำเสนอประสบการณ์ตรงในการแก้ปัญหา การจับกระแสและการเลือกนำเสนอประเด็นที่สอดคล้องกับความสนใจของสังคม การมีสัมพันธภาพที่ดีกับสื่อและการวางตนให้พร้อมที่จะเป็นข่าว และการใช้สื่อผสม 5. กลยุทธ์การใช้สาร ประกอบด้วย การนำเสนอสารที่เป็นข้อเท็จจริง การนำเสนอสารที่ให้ความคิดเห็น การนำเสนอสารจากกลุ่มอ้างอิง การนำเสนอสารที่ให้กำลังใจ และการสร้างสาร ทางด้านปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของสตรีที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและเข้ารับความช่วยเหลือจากมูลนิธิเพื่อนหญิง ประกอบด้วยปัจจัยภายใน คือ สภาพจิตใจ เป็นปัจจัยหลัก และปัจจัยเสริม 2 ประการ ได้แก่ ความต้องการของผู้หญิง และความคาดหวังของผู้หญิง และปัจจัยภายนอก คือ เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิ เป็นปัจจัยหลัก และปัจจัยเสริม 2 ประการ ได้แก่ ความน่าเชื่อถือของมูลนิธิ และสื่อบุคคล ในส่วนปัญหาด้านการสื่อสารในการช่วยเหลือสตรีที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวนั้น พบว่า มีการขาดแคลนบุคลากรที่ทำหน้าที่สื่อสาร ช่องทางการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพ การขาดความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมายของผู้หญิงและการขาดทักษะด้านการสื่อสารของผู้หญิง ซึ่งผลของปัญหาและอุปสรรคเหล่านี้ทำให้การสื่อสารในการให้ความช่วยเหลือสตรีไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
Other Abstract: This is a qualitative research with objectives of studying the communication strategies of Friends of Women foundation to heal experienced women domestic violence and factors influencing decisions of women experiencing domestic violence and seeking for help from the Friends of Women foundation , furthermore, communication problems and obstacles faced by the Friends of Women foundation in the verge of helping women experiencing domestic violence. The methodology used was in-depth interview of 2 sample groups. The first group was 7 officers of the Friends of Women foundation and the second group was 10 women experiencing domestic violence. The results of the research were as follow : The Friends of Women foundation used 5 communication strategies in helping women facing domestic violence as follow : 1. Counseling strategy; providing counseling services in both individual and group levels; 2. Strategy of setting up meetings to stimulate cooperation; 3. Alliance strategy; 4. Identify media strategy : presenting direct experiences , presenting issues of public interest , good relations to media and ready for press release and applying mixed media 5. Identify message strategy : truth presenting, opinion, status, enthusiastic message and message creation. The factors influencing decisions of women experiencing domestic violence and seeking for help from the Friends of Women foundation were including internal and external factors. The internal factors comprised of the main element of spirit’s condition incorporated with 2 minor elements including women’s needs and women’s expectations. The external factors also had the main element in the foundation’s staff and 2 minor elements at the foundation’s trustworthiness and individual media. In term of communication problems faced while helping women experiencing domestic violence, we have found that there was a lack of manpower for useful communication incorporating with ineffective communication channel, lack of law knowledge for women, and lack of communication skill for women. These problems and obstacles have certainly lessened the effectiveness of communication for helping women.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52629
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.49
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.49
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kalayapach_bu_front.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
kalayapach_bu_ch1.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
kalayapach_bu_ch2.pdf9.56 MBAdobe PDFView/Open
kalayapach_bu_ch3.pdf831.56 kBAdobe PDFView/Open
kalayapach_bu_ch4.pdf5.06 MBAdobe PDFView/Open
kalayapach_bu_ch5.pdf3.3 MBAdobe PDFView/Open
kalayapach_bu_back.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.