Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52660
Title: ปัจจัยเสี่ยงของภาวะตับอักเสบเรื้อรังในผู้ป่วยไทยที่ติดเชื้อเอชไอวี ที่ไม่พบเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือซีร่วมด้วย
Other Titles: Risk factors of chronic hepatitis in HIV-infected, Thai patients without hepatitis B or C co-infection
Authors: เทพ เฉลิมชัย
Advisors: นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล
พิสิฐ ตั้งกิจวานิชย์
อัญชลี อวิหิงสานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Narin.H@Chula.ac.th
Pisit.Ta@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ผู้ติดเชื้อเอชไอวี -- ไทย
ตับอักเสบบี
ตับอักเสบซี
HIV-positive persons -- Thailand
Hepatitis B
Hepatitis C
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อศึกษาข้อมูลทางคลินิกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะตับอักเสบเรื้อรังในผู้ป่วยคนไทยที่ติดเชื้อเอชไอวีที่ไม่พบเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือซีร่วมด้วยงานวิจัยนี้เป็นแบบ Nested case-control ในกลุ่มผู้ป่วยไทยที่ติดเชื้อเอชไอวี โดยการจับคู่ใช้วันที่เริ่มยาต้านไวรัสเอชไอวีเป็นหลัก ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2545 – กรกฎาคม 2555 กลุ่มศึกษาหมายถึง ผู้ป่วยที่มีผลเลือด ALT > 40 IU/L อย่างน้อย 2 ครั้งติดกัน ห่างกัน 6 เดือน และ กลุ่มควบคุมหมายถึง ผู้ป่วยที่ไม่มีผลเลือด ALT > 40 IU/L อย่างน้อย 2 ครั้งติดกัน ห่างกัน 6 เดือน และผลเลือด ALT ต้องน้อยกว่า 40 IU/L ในครั้งล่าสุดที่มาตรวจ ทั้งสองกลุ่มศึกษาต้องมีผลเลือด ALT ปกติ ก่อนที่จะเริ่มยาต้านไวรัสเอชไอวี ข้อมูลทางคลินิกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ได้แก่ ข้อมูลด้านโรคติดเชื้อเอชไอวี ข้อมูลยาต้านไวรัสเอชไอวีและโรคทางเมตาบอลิก ได้ถูกรวบรวมเพื่อนำมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป วิธี Conditional logistic regression เป็นวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของภาวะตับอักเสบเรื้อรังในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีทั้งหมด 124 คู่ มีระยะเวลาติดตาม 3,195 บุคคล-ปี อุบัติการณ์ของภาวะตับอักเสบเรื้อรังเท่ากับ 5.4 ต่อ 100 บุคคล-ปี อายุเฉลี่ยเท่ากับ 33 + 7.3 ปี เป็นเพศชาย ร้อยละ 41.1 ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่เริ่มยาต้านไวรัสจนเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรังเท่ากับ 2.3 + 2 ปี เพศชาย (adjusted Odds ratio, OR, 95% CI: 3.1, 1.5-6.6, p = 0.002) และ ผู้ป่วยที่มีดัชนีมวลกายสูง (BMI > 23 กก. /ม.2, adjusted OR, 95% CI: 2.3, 1.1-4.6, p = 0.02) เป็นปัจจัยเสี่ยงอิสระต่อการเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรังโดยจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบตัวแปรพหุ สรุปว่า เพศชายและผู้ป่วยที่มีดัชนีมวลกายสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรังในผู้ป่วยคนไทยที่ติดเชื้อเอชไอวีที่ไม่พบเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือซีร่วมด้วย
Other Abstract: The objectives of this study were to determine clinical demographics and risk factors of chronic hepatitis in antiretroviral (ARV)-treated HIV infection, without hepatitis B or C viral infection. Nested case-control study of HIV infected, matched by the starting date of anti-retroviral treatment, during Nov 2002-July 2012 was conducted. The cases were defined as those with elevated ALT > 40 IU/L at 2 consecutive visits 6 months apart and the controls were defined as those with never had 2 consecutive ALT > 40 IU/L and normal ALT < 40 IU/L at last visit. Both groups had normal ALT at pre-ARV initiation. Clinical demographics and risk factors of chronic hepatitis including HIV-related illness, anti-retroviral treatment and metabolic diseases were collected and analyzed. Conditional logistic regression was used to determine risk factors of chronic hepatitis in HIV infection. A total of 124 matched pairs with HIV infection were followed over 3,195 person-years. The incidence rate of chronic hepatitis was 5.4 per 100 person-years. The mean age (+SD) was 33.0 + 7.3 years with 41.1% in male. The mean (+SD) time from an initiation of ARV to chronic hepatitis was 2.3 + 2 years. Male gender (adjusted Odds ratio, OR, 95% CI: 3.1, 1.5-6.6, p = 0.002) and high body mass index (BMI > 23 kg/m2, adjusted OR, 95% CI: 2.3, 1.1-4.6, p = 0.02) were the independent risk factors of chronic hepatitis by multivariate analysis. In conclusion, male gender and high body mass index were the main risk factors of chronic hepatitis in HIV infected individuals without hepatitis B or C infection.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52660
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1759
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1759
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thep_ch.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.