Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52675
Title: ความจำเป็นในการใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่มคาร์บาพีเนมส์ เพื่อครอบคลุมเชื้อที่สร้างเอ็นไซม์เบต้าแลคแตมเมสชนิดกว้าง ในการติดเชื้อภายในช่องท้องชุมชน: แบบสหสถาบัน
Other Titles: The necessity of carbapenems therapy for covering extended spectrum beta-lactamase producing organisms in community acquired intra-abdominal infection : multicenter study
Authors: ไพศาล เตชะวลีกุล
Advisors: ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร
บุญชู ศิริจินดากุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ปฏิชีวนะ -- การใช้รักษา
ช่องท้อง -- การติดเชื้อ
การติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ
Antibiotics -- Therapeutic use
Abdomen -- Infection
Gram-negative bacterial infections
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา การติดเชื้อแบคทีเรียกรัมลบชนิดแท่งในกลุ่ม Enterobacteriaceae กำลังเป็นปัญหาสำคัญในทางสาธารณสุขทั้งในทางอายุรกรรมและศัลยกรรม เนื่องจากในปัจจุบันเชื้อในกลุ่มนี้มีความไวต่อยาปฏิชีวนะลดลงเป็นอย่างมาก ทำให้มีปัญหาในการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับข้อมูลทางระบาดวิทยาในแต่ละสถานที่ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการติดเชื้อภายในช่องท้องจากชุมชน ให้คำแนะนำในการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งในการติดเชื้อภายในช่องท้องจากชุมชนนั้นไม่ได้มีการเก็บสิ่งตรวจเพื่อเพาะเชื้อเป็นแบบปกติ จึงเป็นที่มาของการศึกษานี้เพื่อหาความชุกของเชื้อกลุ่ม Enterobacteriaceae ที่มีการสร้างเอ็นไซม์เบต้าแลคแตมเมสชนิดกว้าง วิธีการศึกษา ทำในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อภายในช่องท้องจากชุมชนที่เข้ามารับการผ่าตัดรักษา ทำการเก็บข้อมูลทั่วไป ประวัติการเจ็บป่วยการรับยาปฏิชีวนะ หลังจากนั้นนำสิ่งส่งตรวจ(เนื้อเยื่อและ/หรือสารคัดหลั่ง) มาเพาะเชื้อหาเชื้อจุลชีพก่อโรคโดยจำแนกตามสายพันธุ์ และส่งตรวจหาการสร้างเอ็นไซม์เบต้าแลคแตมเมสชนิดกว้าง ผลการศึกษา ทำการศึกษาในผู้ป่วยอายุเฉลี่ย 29 ปี ซึ่งเพาะเชื้อจากสิ่งส่งตรวจขึ้นทั้งหมด 55 ราย จากผู้ป่วยทั้งสิ้น 113 ราย สาเหตุของการติดเชื้อภายในช่องท้องจากชุมชนเป็นส่วนใหญ่คือ ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งตรวจพบการสร้างเอ็นไซม์เบต้สแลคแตมเมสชนิดกว้างทั้งสิ้น 21 ราย ซึ่งคิดเป็นความชุกร้อยละ 38.2 จากสิ่งส่งตรวจที่เพาะเชื้อขึ้น 60 เชื้อ จากผู้ป่วย 55 ราย ซึ่งจำแนกเป็น ESBL-producing E.coli ร้อยละ 38.8 ( 19 จาก 49 สิ่งส่งตรวจ ) และเป็น ESBL-producing K. Pneumoniae ร้อยละ 9.1 ( 1 จาก 11 สิ่งส่งตรวจ ) สรุปผลการศึกษา การตรวจหาการสร้างเอ็นไซม์เบต้าแลคแตมเมสชนิดกว้าง ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อภายในช่องท้องจากชุมชน พบว่ามีความชุกถึงร้อยละ 38.2 ซึ่งค่อนข้างสูง และอาจจะมีผลที่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อกลุ่มนี้ด้วย ซึ่งถาพิจารณาจากข้อมูลความไวต่อยาปฏิชีวนะที่ได้นั้นทำให้สามารถที่จะเลือกใช้ยาปฏิชีวนะตัวอื่นที่ไม่ใช่กลุ่มคาร์บาพีเนมส์ในการรักษาได้ ซึ่งต้องพิจารณาจากข้อมูลภายในสถาบันนั้น
Other Abstract: Background Gram negative bacilli (eg; Enterobacteriaceae) are most important problem in surgical and medical patients in Thai public health. Now, Susceptibility of antibiotic in Enterobacteriaceae is significantly deceased. Several studies demonstrated Beta-lactamase producing Enterobacteriaceae in patients with intra-abdominal infection. We determined the prevalence and susceptibility patterns of surgical specimens of ESBL- producing Enterobacteriaceae in multicenter. Methods We enrolled the patients who had an indication for surgery in patients with acute community acquired intra-abdominal infection. Demographic data, history of illness and laboratory data was recorded. We performed culture for bacteria and identified ESBLs production by combination disk diffusion test. Results 113 surgical cases and culture positive for Enterobacteriaceae 55 cases. Acute appendicitis was the most common indication for surgery. ESBL-producing Enterobacteriaceae was detected in 21 of 55 cases (38.2%) using combination disc diffusion test. ESBL-producing E. coli were 38.8% ( 19/49 isolates ). ESBL-producing K. Pneumoniae were 9.1% ( 1/11 Isolates). Conclusions Community-acquired ESBL-producing Enterobacteriaceae are now prevalent worldwide. In this study, Prevalence of ESBL-producing Enterobacteriaceae is 38.2%. From local data can help you to use antimicrobial for treatment acute community acquired IAIs but it isn’t necessary to use carbapenems for treatment mild to moderate acute community acquired IAIs.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52675
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2174
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.2174
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
paisan_te.pdf3.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.