Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52729
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย-
dc.contributor.authorกนกอร ศรีโรจน์นพคุณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-04-08T11:58:32Z-
dc.date.available2017-04-08T11:58:32Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52729-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงของอาการกระสับกระส่ายโดยการบำบัดด้วยสุวคนธบำบัด ในคลินิกโรคสมองเสื่อมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการการศึกษา: การศึกษานี้เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจำนวน 24 คนที่มาเข้ารับการรักษาที่คลินิคโรคสมองเสื่อม ชั้น 12 ภาควิชา จิตเวช ตึก ภปร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยมีผู้ดูแลหลักเป็นผู้ทำการบำบัดด้วยน้ำมันหอมระเหยที่บ้านพักของผู้เข้าร่วมการวิจัย กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการสุ่มจับแยกกลุ่มออกเป็นกลุ่มการทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองมีผู้เข้าร่วมจำนวน 12 คน มีค่าเฉลี่ยของอายุอยู่ที่ 80.83 ปี(SD: 5.31) จะได้รับน้ำมันหอมละเหยกลิ่นลาเวนเดอร์เป็นเวลา 1 ชั่วโมงทุกวัน เป็นเวลาทั้งหมด 2 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมมีผู้เข้าร่วมจำนวน 12 คน มีค่าเฉลี่ยของอายุอยู่ที่ 80.75 ปี (SD: 6.84) จะได้รับน้ำมันโจโจบาร์ ออย เป็นเวลา 1 ชั่วโมงทุกวัน เป็นเวลาทั้งหมด 2 สัปดาห์ งานศึกษานี้ใช้แบบทดสอบ Cohen-Mansfield Agitation Inventory (CMAI) ในการประเมินอาการกระสับกระส่ายในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทั้งก่อนทำการทดลองและหลังทำการทดลอง ข้อมูลที่บันทึกได้นำมามาวิเคราะห์ทางสถิติด้วยchi-square Mann-Whitney U-test Wilcoxon signed-rank test และ ANCOVA ในการเปรียบเทียบลักษณะพื้นฐานและผลของการศึกษาระหว่างสองกลุ่มการทดลอง ผลการศึกษา: ค่าคะแนนเฉลี่ยCMAIก่อนการทดลองของกลุ่มควบคุมมีค่าคะแนนที่ต่ำกว่ากลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมีผู้เข้าร่วมการวิจัยจำนวน 3 คนในกลุ่มควบคุม และ 1 คนในกลุ่มทดลองออกจากการวิจัยก่อนจบการวิจัย หลังจากปรับค่าคะแนนCMAIก่อนการทดลองโดยใช้สถิติANCOVAแล้วพบว่ากลุ่มทดลองบำบัดด้วยสุวคนธบำบัดกลิ่นลาเวนเดอร์มีค่าคะแนนCMAIเฉลี่ยลดลงคิดเป็นร้อยละ 20 ในขณะที่กลุ่มควบคุมที่บำบัดด้วยสุวคนธบำบัด jojoba oil ไม่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น โดยการวิเคราะห์ ITT แบบ LOCF สรุป: การบำบัดโดยใช้น้ำมันหอมละเหยกลิ่นลาเวนเดอร์ที่พักอาศัยของผู้ป่วยสามารถลดภาวะกระสับกระส่ายในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมได้ แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาครั้งนี้เป็นเพียงแค่การศึกษานำร่องที่มีกลุ่มตัวอย่างจำนวนน้อย เพราะฉะนั้นการศึกษาในอนาคตจึงควรศึกษาด้วยกลุ่มตัวอย่างที่มีจำนวนมากขึ้นและระยะเวลาที่นานยิ่งขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeObjective: To assess the efficacy of aromatherapy as an intervention for agitated behavior in patients with dementia at dementia Clinic, King Chulalongkorn Memorial Hospital Method: This was a randomized controlled trial which recruited 24 patients with dementia at dementia clinic, King Chulalongkorn memorial hospital. The intervention was undertaken at the patient’s home by major caregivers. The sample was randomly divided into two groups: the experimental group, 12 patients with a mean age of 80.83 years (SD: 5.31), received aromatherapy with lavender oil for 1 hour every day for 2 weeks and the control group ,12 patients with a mean age of 80.75 years (SD: 6.84), received jojoba oil for 1 hour every day for 2 weeks. The agitated behaviors were assessed by using the Cohen-Mansfield Agitation Inventory (CMAI), pre and post intervention. Statistic analyses were conducted using chi-square, Mann-Whitney U-test, The Wilcoxon signed-rank test and ANCOVA to compare the characteristic and primary outcomes of the study. Result: The baseline CMAI score was significantly lower in the control group than the experimental group. At the end of the study 3 subjects from the control group and 1 subject from the experimental group were dropped out from the study. After adjusting for the baseline CMAI score by ANCOVA, The CMAI scores was 20% improved in the aromatherapy group with lavender oil while there was no difference in the jojoba oil group in ITT analysis LOCF. Conclusion: The home-based aromatherapy with lavender oil was effective in reducing the agitation in patient with dementia. Nevertheless this was a pilot study with a small sample size; further study should be recommended using more subjects and longer periods of intervention.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2178-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการบำบัดด้วยกลิ่นen_US
dc.subjectภาวะสมองเสื่อมen_US
dc.subjectโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์en_US
dc.subjectAromatherapyen_US
dc.subjectDementiaen_US
dc.subjectKing Chulalongkorn Memorial Hospitalen_US
dc.titleโครงการนำร่องผลการทำสุวคนธบำบัดต่อพฤติกรรมกระสับกระส่ายในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ณ คลินิกโรคสมองเสื่อมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์en_US
dc.title.alternativeEffect of aromatherapy on agitation in patients with dementia at Dementia Clinic, King Chulalongkorn Memorial Hospital-Pilot Studyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสุขภาพจิตen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsookjaroen@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.2178-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kanokon_sr.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.