Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52783
Title: อุทกพลศาสตร์ของฟองอากาศและการกวนผสมสำหรับการแยกพลาสติกด้วยกระบวนการทำให้ลอยตัว
Other Titles: Bubble hydrodynamic and mixing for plastic separation by flotation process
Authors: ภัทรศิริ ฟักแก้ว
Advisors: พิสุทธิ์ เพียรมนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: pisut114@hotmail.com
Subjects: พลาสติก
ขยะพลาสติก
โพลิสไตรีน
อะคริโลไนทริล
บิวทาไดอีน
สไตรีน
Plastics
Plastic scrap
Polystyrene
Acrylonitrile
Butadiene
Styrene
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษากลไกการแยกพลาสติกผสมระหว่างพลาสติกพอลิสไตรีน (พีเอส) กับพลาสติกอะคริโลไนไทรล์-บิวทาไดอีน-สไตรีน (เอบีเอส) ทั้งชนิดที่เป็นเม็ดพลาสติกบริสุทธิ์และพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้วด้วยกระบวนการทำให้ลอยตัวจากการเหนี่ยวนำอากาศจากภายนอกผ่านใบพัดกวน (Induced air flotation) โดยศึกษาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการแยกพลาสติก และมีการประยุกต์ใช้โปรแกรมทางสถิติในการอธิบายอุทกพลศาสตร์ของฟองอากาศและการกวนผสมที่เกิดจากกระบวนการนี้ จากการศึกษาพบว่าปัจจัยหลักที่มีผลต่อขนาดของฟองอากาศ ได้แก่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อนำอากาศและอัตราเร็วในการกวน และเมื่อศึกษาตัวแปรทางอุทกพลศาสตร์ของฟองอากาศและการกวนผสมที่เกิดจากกระบวนการนี้ ซึ่งในงานวิจัยอธิบายในรูปของอัตราส่วนระหว่างพื้นที่ผิวสำผัสจำเพาะกับความเร็วเกรเดียนท์ (a/G) พบว่ามีผลต่อประสิทธิภาพการแยกพลาสติก โดยอัตราส่วนระหว่างพื้นที่ผิวสำผัสจำเพาะกับความเร็วเกรเดียนท์สูง จะทำให้ประสิทธิภาพการแยกพลาสติกสูงด้วย โดยประสิทธิภาพการแยกพลาสติกบริสุทธิ์สูงสุดของพีเอสเท่ากับ 91% และเอบีเอสเท่ากับ 99% และสำหรับพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้ว ประสิทธิภาพการแยกพีเอสสูงสุดเท่ากับ 89% และเอบีเอสเท่ากับ 95% มีเงื่อนไขดังนี้ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อนำอากาศ (6.99 เซนติเมตร) อัตราเร็วในการกวน (675 รอบต่อนาที) ความเข้มข้นของเมทิลไอโซบิวทิลคาร์บินอล (5 มิลลิกรัม/ลิตร) ความเข้มข้นของกรดแทนนิค (10 มิลลิกรัม/ลิตร สำหรับพลาสติกบริสุทธิ์และ 5 มิลลิกรัม/ลิตร สำหรับพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้ว) โดยปรับสภาพเป็นเวลา 15 นาทีและใช้เวลาในการทำให้ลอย 2 นาที
Other Abstract: The objective of this research is to study separation mechanisms of plastic, i.e. polystyrene (PS) and acrylonitrile-butadiene-styrene (ABS), both virgin and post – consumer plastics, by the induced air flotation with mixing devices process. The optimal operating condition for plastic separation was determined and the bubble hydrodynamics and mixing parameters in this process were investigated. The results shown that, from factor analysis and design of experiment method (DOE), the generated bubble sizes were mainly affected by the induced air tube diameter and the rotation speed. Moreover, the bubble hydrodynamic parameters (i.e. interfacial area (a) and velocity gradient (G)) that in this research expressed in term of a/G apart from the chemical agents (i.e. wetting agent and surfactant) were the key factors impacting the plastic separation efficiency. The higher a/G ratio provided the higher plastic recovery percentage. The highest plastic recovered percentage of 99% were achieved at this operating condition: induced air tube diameter (6.99 centimeters), rotation speed (675 rpm), methyl isobutyl carbinol (5 mg/l), tannic acid (10mg/l for virgin plastic and 5 mg/l for post – consumer plastic) with conditioning time of 15 minutes and flotation time of 2 minutes.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52783
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1812
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1812
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pattarasiri_fa.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.