Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52907
Title: กระบวนการประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์องค์กรเพื่อการสรรหาบุคลากรเข้าทำงาน
Other Titles: Public relations process in corporate image building for recruitment purpose
Authors: พิไลพร เรืองนก
Advisors: สุทธิลักษณ์ หวังสันติธรรม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Suthiluck.V@Chula.ac.th
Subjects: บริษัท -- การประชาสัมพันธ์
ภาพลักษณ์องค์การ
ภาพลักษณ์บริษัท
Corporations -- Public relations
Corporate image
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์องค์กรเพื่อการสรรหาบุคลากรเข้าทำงาน กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์องค์กรเพื่อการสรรหาบุคลากรเข้าทำงานที่ประสบความสำเร็จ และการรับรู้โครงการประชาสัมพันธ์และภาพลักษณ์ทั่วไปของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยทำงาน โดยแบ่งการวิจัยออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่ 1 การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับแหล่งข้อมูลประเภทบุคคล ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้บริหารงานประชาสัมพันธ์ และผู้บริหารงานทรัพยากรบุคคล ในองค์กรที่ได้รับการคัดเลือกเป็นองค์กรยอดนิยม 10 อันดับ ประจำปี 2550 ซึ่งมีการจัดอันดับโดยนิตยสาร The Wall Street Journal Asia และส่วนที่ 2 การวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มเป้าหมายวัยทำงานที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่าการดำเนินงานประชาสัมพันธ์เพื่อการสรรหาบุคลากรเข้าทำงานประกอบไปด้วย 1) การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย 2) การกำหนดกลุ่มเป้าหมายเชิงนโยบาย 3) การกำหนดสาระสำคัญขององค์กร 4) การกำหนดคุณค่าและคำมั่นสัญญาที่องค์กรจะมอบให้ และ 5) การวางแผนการสื่อสารและประสบการณ์แก่กลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งยังพบว่ากลยุทธ์ในการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์องค์กรเพื่อการสรรรหาบุคลากรที่ได้ผลดีที่สุดได้แก่ 1) กลยุทธ์การใช้กิจกรรมพิเศษเพื่อสร้างประสบการณ์ 2) กลยุทธ์การสร้างประสบการณ์ทางบวกแก่พนักงานเพื่อให้เกิดการบอกต่อ 3) กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ส่วนผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่ากลุ่มเป้าหมายวัยทำงานมีการรับรู้โครงการประชาสัมพันธ์ของแต่ละองค์กรในระดับที่ไม่ค่อยรู้จัก แต่การรับรู้ภาพลักษณ์ของทั้งสามองค์กรในระดับที่ดี
Other Abstract: The objectives of this research were to study (1) PR process in corporate image building for recruitment purpose (2) the successful PR strategies for recruitment purpose and (3) the perception of PR campaigns and corporate image. The research is conducted in two parts which are qualitative research and quantitative research. The qualitative research is conducted through the series of in-depth interviews with the executives, public relations executives and human resources executives from 3 organizations which chosen for the 10 most popular organizations in Thailand in 2007 surveyed by The Wall Street Journal Asia. The quantitative research is conducted by survey questionnaires through the perception of 400 Bangkok working people. The finding from qualitative research revealed that the PR process in corporate image building is to set brand target, brand vision, brand essence, brand value and communication plan and the best PR strategies for recruitment purpose are (1) special events strategy for direct-experience building (2) word of mouth strategy by creating the good experience for employees and (3) using continuous PR. The result from quantitative research concluded that the perception of PR campaigns is low. However the perception of corporates’
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52907
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.38
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.38
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pilaiporn_ru_front.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
pilaiporn_ru_ch1.pdf791.47 kBAdobe PDFView/Open
pilaiporn_ru_ch2.pdf4.38 MBAdobe PDFView/Open
pilaiporn_ru_ch3.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
pilaiporn_ru_ch4.pdf7.19 MBAdobe PDFView/Open
pilaiporn_ru_ch5.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open
pilaiporn_ru_back.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.