Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53065
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุญยงค์ ตันติสิระ-
dc.contributor.advisorอนันต์ ศรีเกียรติขจร-
dc.contributor.advisorมยุรี ตันติสิระ-
dc.contributor.authorสุนทราภรณ์ หันตุลา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2017-06-22T08:26:31Z-
dc.date.available2017-06-22T08:26:31Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53065-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเอ็น-(ทู-โพรพิลเพนทาโนอิล) ยูเรีย ต่อการเกิดคอร์ติคัลสเปรดดิง ดีเพรสชัน การเปลี่ยนแปลงของระดับสารสื่อประสาทที่เป็นกรดอะมิโนบริเวณซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ และการกระตุ้นระบบรับความเจ็บปวดในหนูแรทเพศผู้ ขนาดน้ำหนักตัว 200-300 กรัม สลบหนูแรทด้วยยูรีเทรนขนาด 1.5 กรัมต่อกิโลกรัม จากนั้นยึดศีรษะหนูแรทไว้กับ stereotaxic frame เปิดผิวหนังที่บริเวณศีรษะของหนูแรทแล้วเจาะรู 2 รู โดยรูด้านหน้าใช้ในการบันทึกการทำงานและเก็บสารสื่อประสาทของซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ รูด้านหลังใช้สำหรับวางผลึกโพแทสเซียมคลอไรด์ขนาด 3 มิลลิกรัม หลังจากนั้นฝัง microdialysis probe และ glass electrode บริเวณรูด้านหน้า แล้วให้สารทดสอบ คือ คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส(ซีเอ็มซี) ขนาด 1 มล/กก วาลโปรเอท(วีพีเอ) ขนาด 200 มก/กก และวีพียู ขนาด 70 และ 140 มก/กก ตามลำดับ โดยการฉีดเข้าทางช่องท้อง จากนั้นกระตุ้นให้เกิดปรากฎการณ์คอร์ติคัลสเปรดดิง ดีเพรสชัน โดยการวางผลึกโพแทสเซียมคลอไรด์ เก็บตัวอย่างเป็นเวลา 90 นาที ดูการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ใต้กราฟและความสูงของดีโพลาไรเซซันแต่ละครั้ง รวมทั้งระยะเวลาระหว่างเกิดดีโพลาไรเซซัน ความถี่ของการเกิดดีโพลาไรเซซัน และระยะเวลาของการเกิดดีโพลาไรเซซันครั้งต่อไป นอกจากนี้ยังเก็บระดับสารสื่อประสาททุกๆ 30 นาที นำไปวิเคราะห์หาปริมาตรสารสื่อประสาท ด้วยเครื่อง High Performance Liquid Chromatography by Fluorescence Detector หลังจากนั้นนำเอาส่วนของสมองและไขสันหลังไปศึกษาทางอิมมูโนฮีสโตเคมมิสทรีเพื่อประเมินการแสดงออกของโปรตีนฟอสที่บริเวณซีรีบรัล คอร์เท็กซ์และกลุ่มเซลล์ประสาทไทรจิมินัลนิวเคลียส คอดาลิส จากผลการศึกษาพบว่าการกระตุ้นด้วยโปแตสเซียมคลอไรด์สามารถกระตุ้นให้เกิดดีโพลาไรเซซันที่บริเวณซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ โดยในกลุ่มที่ได้รับวีพีเอและวีพียูพบว่า ความถี่ ความสูงและพื้นที่ใต้กราฟของการเกิดดีโพลาไรเซซันจะลดลง แต่ช่วงระยะเวลาของการเกิดดีโพลาไรเซซันครั้งถัดไปจะเพิ่มขึ้น ในขณะที่ไม่มีผลต่อระยะเวลาระหว่างที่เกิดดีโพลาไรเซซัน นอกจากนี้พบว่าระดับสารสื่อประสาทในกลุ่มที่ได้รับวีพีเอและวีพียูมีระดับสารสื่อประสาททั้งชนิดกระตุ้น (กลูตาเมทและแอสพาเตท) และชนิดยับยั้ง (กาบาและไกลซีน) ระบบประสาทส่วนกลางลดลง โดยเฉพาะระดับของกลูตาเมทที่มีระดับลดลงมากที่สุด สำหรับการศึกษาอิมมูโนฮิสโตเคมมิสทรีของโปรตีนฟอสพบว่าวีพีเอและวีพียูสามารถลดระดับการแสดงออกของโปรตีนฟอสที่บริเวณซีรีบรัล คอร์เท็กซ์และกลุ่มเซลล์ประสาทไทรจิมินัลนิวเคลียส คอดาลิสได้ จากผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าวีพีเอและวีพียูมีสามารถลดการเกิดคอร์ติคัลสเปรดดิง ดีเพรสชัน ลดระดับของกลูตาเมท และลดการทำงานของกลุ่มเซลล์ประสาทไทรจิมินัลนิวเคลียส คอดาลิส โดยที่พีวียูสามารถออกฤทธิ์ได้ดีกว่า วีพีเอ ซึ่งเป็นสารต้นแบบของวีพียู จึงควรที่จะมีการศึกษาต่อไปเพื่อพัฒนาวีพียูมาใช้ประโยชน์ในโรคไมเกรนเช่นเดียวกับวีพีเอen_US
dc.description.abstractalternativeThis study aimed to investigate the effects of N-(2-propylpentanoyl) urea (VPU) on development of cortical spreading depression, the levels of cerebral amino acid neurotransmitters and trigeminal nociception during K+- evoked cortical spreading depression (CSD) in male Wistar rats (200-300 g). The rats were anesthetized by urethane (1.5 g/kg, i.p.) and then placed in stereotaxic frame. The scalps were cut open to expose the skulls and two burr holes were drilled on the right hemisphere. The anterior hole at frontal bone was to place microdialysis probe and glass microelectrode, whereas the posterior hole at the parietal bone was used for an application of solid KCl (3 mg). The animals were intraperitoneally injected of either 0.5% carboxymethyl cellulose (CMC) (1 ml/kg) or valproic acid (200 mg/kg) or VPU (70 and 140 mg/kg). CSD was induced by placing solid KCl onto the brain and observation was made for another 90 minutes. Variables regarding CSD wave included the area under the curve, amplitude, duration, number of peak and interpeak latency. In addition dialysates were collected every 30 minutes throughout the experimental period and being analyzed for amino acid neurotransmitters by HPLC-FLD. After completion of CSD, the animals were proceeded for the fos- immunohistrochemistry. The results showed that application of potassium chloride resulted in series of depolarization activity for CSD. The development of these CSD wave was lower in the presence of VPA and VPU. Such decrease was noted on frequency, amplitude and AUC of CSD and increased interpeak latency. Duration showed no significant change. The levels of both cortical excitatory (glutamate and aspartate) and inhibitory (GABA and glycine) amino acid neurotransmitters in VPA and VPU-treated groups were significantly decreased in comparison to those of CMC-treated group at any observed times. However, the depression was greatest on glutamate. In addition, fos- immunohistrochemistry in both VPA and VPU treated groups were significantly decreased in comparison to those of CMC-treated group. The present study demonstrated that VPA and VPU decreased CSD, cortical glutamate and function of the neurons in trigeminal nucleus caudalis. VPU was found to be more active than its parent compound, VPA. Similar to VPA, VPU should be, therefore, further developed into a drug for the treatment of migraine.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2183-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไมเกรนen_US
dc.subjectสารส่งผ่านประสาทen_US
dc.subjectอิมมูโนฮีสโตเคมีen_US
dc.subjectไฮเปอร์ฟอร์แมนซ์ลิควิดโครมาโตกราฟีen_US
dc.subjectการทดลองในสัตว์en_US
dc.subjectMigraineen_US
dc.subjectNeurotransmittersen_US
dc.subjectImmunohistochemistryen_US
dc.subjectHigh performance liquid chromatographyen_US
dc.subjectAnimal experimentationen_US
dc.titleผลของเอ็น-(ทู-โพรพิลเพนทาโนอิล) ยูเรีย ต่อคอร์ติคัลสเปรดดิง ดีเพรสชัน ในหนูแรทen_US
dc.title.alternativeEffects of n-(2-propylpentanoyl) urea on cortical spreading depression in ratsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสรีรวิทยาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorBoonyong.T@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorMayuree.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.2183-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
soontaraporn_hu.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.