Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53279
Title: การลำดับชั้นหินและชุดลักษณะของหินภูเขาไฟซับซ้อนชาตรี ในพื้นที่เขาทราย อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร
Other Titles: Stratigraphy and facies of Chatree volcanic complex, Khao Sai area, Amphoe Thap Khlo, Changwat Phichit
Authors: สุภัชชา อินหม่อม
Advisors: อภิสิทธิ์ ซาลำ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Abhisit.A@chula.ac.th
Subjects: หินบะซอลท์ -- ไทย -- พิจิตร
ธรณีวิทยา -- ไทย -- พิจิตร
Basalt -- Thailand -- Phichit
Geology -- Thailand -- Phichit
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: หินภูเขาไฟในพื้นที่ศึกษาตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร เป็นหินภูเขาไฟที่อยู่ในแนวหิน ภูเขาไฟเลย-เพชรบูรณ์-นครนายก หินชุดนี้มีอายุอยู่ในช่วงยุคเพอร์เมียนตอนปลายถึงยุคไทรแอสซิกตอนต้น มี องค์ประกอบตั้งแต่หินบะซอลต์ถึงหินไรโอไลท์ โดยมีลักษณะเป็นหินแคลก์แอลคาไลน์และหินโทลิไอท์ การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นศึกษาการลำดับชั้นและชุดลักษณะของหินภูเขาไฟในบริเวณพื้นศึกษา 4 บริเวณ คือ บริเวณวัดเขาทราย แขวงกรมทาง เขาพระ และเขานกยูง การศึกษาครั้งนี้สามารถจำแนกหน่วยหินได้ทั้งหมด 4 หน่วยหินจากแก่ไปอ่อน ได้แก่ หน่วยหินที่ 1 หน่วยหินบะซอล์เนื้อดอก ประกอบด้วย หินบะซอลต์เนื้อดอก และหินกรวดเหลี่ยมบะซอลต์เมตริก มีความ หนาประมาณ 2-60 เมตร หน่วยหินที่ 2 หน่วยหินกรวดเหลี่ยมหลากชนิดเนื้อเมฟิก ประกอบด้วย หินทัฟฟ์ หินลาพิลิทัฟฟ์ และหินกรวดเหลี่ยม มีความหนาประมาณ 30-45 เมตร หน่วยหินที่ 3 หน่วยหินกรวดเหลี่ยม หลากชนิดเนื้ออินเตอร์มีเดียต ประกอบด้วย หินทัฟฟ์ หินลาพิลิทัฟฟ์ และหินกรวดเหลี่ยม มีความหนา ประมาณ 50-60 เมตร หน่วยหินที่ 4 หน่วยหินอิพิคลาสติก ประกอบด้วย หินโคลนเนื้อทัฟฟ์ และหินทรายเนื้อ ทัฟฟ์ มีความหนาประมาณ 40 เมตร ชุดลักษณะของหินภูเขาไฟ ประกอบด้วย 5 ชุดลักษณะและชุด ลักษณะร่วม ประกอบด้วย ชุดลักษณะร่วมหินบะซอลต์เนื้อดอก (หินบะซอลต์เนื้อดอก หินกรวดเหลี่ยมบะ ซอลต์เมตริก) ชุดลักษณะร่วมหินกรวดเหลี่ยมหลากชนิดเนื้ออินเตอร์มิเดียต (หินทัฟฟ์ หินลาพิลิทัฟฟ์ หินกรวด เหลี่ยม) ชุดลักษณะร่วมหินหลากชนิดกรวดเหลี่ยมเนื้อเมฟิก (หินทัฟฟ์ หินลาพิลิทัฟฟ์ หินกรวดเหลี่ยม) ชุด ลักษณะร่วมอิพิคลาสติก (หินโคลน หินทราย) และชุดลักษณะหินไมโครไดโอไลท์ จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า หินภูเขาไฟในพื้นที่ศึกษามีการสะสมตัวในน้ำ โดยเฉพาะหน่วยหินอิพิคลาสติก มีลักษณะคล้ายกับหน่วยหินที่ พบในตอนเหนือของเหมืองทองชาตรี ซึ่งแสดงสภาวะแวดล้อมการสะสมตัวในน้ำนิ่ง สำหรับหน่วยหินกรวด เหลี่ยมหลากชนิดเนื้อเมฟิกและหน่วยหินกรวดเหลี่ยมหลากชนิดเนื้ออินเตอร์มีเดียต เกิดการตกสะสมตัวแบบ slurry flow และ debris flow โดยมีการตกสะสมตัวไม่ไกลจากแหล่งกำเนิด และลักษณะหน่วยหินบะซอลต์ เนื้อดอก มีลักษณะเป็นโดมที่แทรกดันตัวขึ้นมาในตะกอนที่ยังไม่แข็งตัว
Other Abstract: The volcanic rocks at Khao Sai area, Amphoe Thapklor, Changwat Phichit is part of the Loei-Petchabun-Nakhon Nayok Volcanic Belt. The ages of volcanic rocks are Late Permian to Early Triassic which have composition ranging from basalt to rhyolite with calc-alkaline and tholeiite affinity. The objective of this study aims at constructing stratigraphic columns and facies analysis of volcanic rock of four areas (e.g., Khao Sai Kweang Kom Tang Khao Pea and Khao Nokyung). The study area has a well-defined volcanic stratigraphic sequence comprising of four main units namely; 1) Porphyritic Basalt Unit (2-60 meters); 2) Polymictic Mafic Breccia Unit (30-45 meters); 3) Polymictic Intermediate Breccia Unit (50-60 meters) and 4) Epiclastic Unit (40 meters). In this study, five lithofacies and facies associations are identified on the basis of their primary texture, mineralogy and composition: 1 ) Porphyritic Basalt Facies Association (Porphyritic Basalt Facies, Polymictic Basaltic Metrix Breccia Facies); 2) Polymictic Mafic Breccia Facies Association (tuff facies, lapilli tuff facies, polymictic breccia facies); 3 ) Polymictic Intermediate Breccia Facies Association (tuff facies, lapilli tuff facies, polymictic breccia facies) 4) Epiclastic Facies Association (tuffaceous mudstone, tuffaceous sandstone) and 5) Microdiorite Facies. The volcanic rocks of Khao Sai area are interpreted as subaqueous environment. Especially, the Epiclastic Facies Association which has similar features to the northern part of Chatree mine. This could be interpreted that it has been deposited under clam environment (no volcanic activity). The Polymictic Intermediate Breccia Facies Association and the Polymictic Mafic Breccia Facies Assocoation is interpreted to represent a slurry flow deposit, a type of debris flow and proximal source.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53279
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5532743823.pdf3.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.