Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53308
Title: วิวัฒนาการของเนินทรายลมหอบชายฝั่งจากการสำรวจของเครื่องหยั่งธรณีฟิสิกส์ ด้วยเรดาห์
Other Titles: Evolution of coastal sand dune from GPR survey at Tham Tong Bay, Amphoe Patiw, Changwat Chumphon
Authors: พงษ์ศิริ คำแก้ว
Advisors: มนตรี ชูวงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: monkeng@hotmail.com
Subjects: เนินทราย -- ไทย -- ชุมพร
ธรณีสัณฐานวิทยาชายฝั่ง -- ไทย -- ชุมพร
ธรณีฟิสิกส์ -- ไทย -- ชุมพร
การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ -- ไทย -- ชุมพร
ระบบการสร้างภาพทางธรณีฟิสิกส์
Sand dunes -- Thailand -- Chumphon
Coastal geomorphology -- Thailand -- Chumphon
Geophysics -- Thailand -- Chumphon
Geophysical surveys -- Thailand -- Chumphon
Imaging systems in geophysics
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อ่าวถ้ำธง ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเนินทรายลมหอบบางเบิด แนวของเนินทรายลมหอบนี้ วางตัวอยู่บนแนวของที่ราบชายหาด และมีความสูงของเนินทรายลมหอบจากระดับน้ำทะเลปัจจุบัน ประมาณ 5-7 เมตร เนินทรายลมหอบนี้ตกสะสมในรูปแบบพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งแตกต่างจากเนินทรายลมหอบที่อ่าวบางเบิด ซึ่งมีหลายรูปแบบเนื่องมาจากทิศทางของลมที่มาจากหลายทิศทาง ดังนั้นเป้าหมายของงานวิจัยนี้คือศึกษาวิวัฒนาการของเนินทรายลมหอบชายฝั่ง ที่รูปร่างของเนินทรายลมหอบมาจากลมทิศทางเดียว ข้าพเจ้าศึกษาในพื้นที่เดียวกับ Roopngam (2010) ซึ่งพบเนินทรายลมหอบในบริเวณอ่าวถ้ำธง ข้าพเจ้าจึงได้ประยุกต์ใช้เครื่องหยั่งธรณีฟิสิกส์ด้วยเรดาห์ เพื่อหาโครงสร้างภายในของเนินทรายลมหอบ เครื่องหยั่งธรณีฟิสิกส์นี้สามารถศึกษาได้ทั้งภาพแนวขวางและภาพแนวยาวของเนินทรายลมหอบ ผลจากเครื่องหยั่งธรณีฟิสิกส์ด้วยเรดาห์ แสดงรูปแบบความแตกต่างของการลำดับชั้นของเนินทรายลมหอบซึ่งวางตัวอยู่บนแนวของชายหาด สัญญาณจากเครื่องหยั่งธรณีฟิสิกส์แสดงรูปแบบของมุมที่กดลงในองศาที่ต่ำซึ่งแสดงถึงหน้าหาดและหลังหาด และยังตรวจจับได้ถึงการลำดับชั้นของสันทราย และการแสดงมุมกดที่สูงของด้านหน้าและด้านหลังของเนินทรายลมหอบ สามารถพบได้ในโครงสร้างเนินทรายลมหอบที่มีรูปร่างแบบพระจันทร์เสี้ยว โครงสร้างของเนินทราบลมหอบจากเครื่องหยั่งธรณีฟิสิกส์ด้วยเรดาห์บ่งบอกทิศทางของลมในทิศทางเดียว และมาจากทางทิศตะวันออกไปสู่ทิศตะวันตก ผลของเครื่องหยั่งธรณีฟิสิกส์ถูกสนับสนุนจากลักษณะภูมิประเทศซึ่งหาดอยู่ระหว่างเขาสองลูกและคงรูปร่างแบบเป็นแบบพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งรูปร่างมีความแตกต่างจากเนินทรายลมหอบบริเวณอ่าวบางเบิดที่มีลมมาจากหลายทิศทาง
Other Abstract: At small pocket beach of Tham Tong Bay in the southern part of Bang Berd dune field, series of wind-blown sand dune lies on top of beach ridge plain with its highest elevation is approximately 5-7 m above the present mean sea level. Dune here was preserved mainly as a barchan shape that differs from Bang Berd sand dunes where they were reported to have formed by multiple wind-blown directions. This project is, therefore, aimed to study the evolution of coastal sand dune in particular where the dune is likely formed by a single wind direction. We conducted our study at the same place where Roopngam (2010) reported the discovery of small sand dune in a pocket beach of Tham Tong Bay. We applied the Ground Penetrating Radar (GPR) to recognize the internal structure within sand dune. The GPR was carried out both in longitudinal and cross-sectional profiles. As a result, the GPR shows distinctive sets of GPR facies that enable us to differentiate dune stratigraphy from the underneath prograded beach ridge plain. GPR signals also show set of low angle dipping of foreshore and backshore which is commonly detected within beach ridge stratigraphy. High angle of lee and stoss detected in burial dune are significantly represented barchans dune structure. Almost of dune structures from GPR indicated one direction of wind blown from the east to the west. GPR result confirms that such a mall pocket beach ridge plain between headlands as Tham Tong Bay is favored for the preservation of barchans dune type. This is different from the open semi-circle bay like Bang Berd where the morphology of the bay favors for the multiple wind-blown directions.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2554
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53308
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
report_Pongsiri Kamkaew.PDF2.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.