Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53435
Title: การสร้างความหมายเชิงวัฒนธรรมญี่ปุ่นและเกาหลีผ่านการปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์บนชุมนเว็บล็อกในเว็บไซต์ www.exteen.com
Other Titles: The construction of Japanese and Korean cultural meanings through symbolic interactions in www.exteen.com, weblog community
Authors: ปฐมา บริรักษ์
Advisors: พีระ จิรโสภณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: pira.c@chula.ac.th
Subjects: วัฒนธรรมญี่ปุ่น
วัฒนธรรมเกาหลี
การสื่อสารกับวัฒนธรรม
ปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์
บล็อก
Communication and culture
Symbolic interactionism
Blogs
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างและสื่อสารความหมายเชิงวัฒนธรรมญี่ปุ่น และเกาหลีผ่านการปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ ตลอดจนการแสดงพฤติกรรม การแสดงความคิดเห็น และการใช้ประโยชน์จากการบริโภควัฒนธรรมโดยทำการศึกษาในชุมชนเว็บล็อกของเว็บไซต์ WWW.EXTEEN.COM การศึกษาเป็นการทำวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเว็บล็อกทั้งหมด 60 เว็บล็อก ในเรื่องการแลกเปลี่ยนสัญลักษณ์ทั้งในรูปแบบเว็บล็อกและส่วนเนื้อหา วิเคราะห์รูปแบบอัตลักษณ์ที่อยู่ในองค์ประกอบของรูปลักษณ์ ความบันเทิง รูปแบบภาษา พฤติกรรมที่แสดงออกต่อสังคม และรูปแบบการดำเนินชีวิตในบริบทของการสื่อสารระหว่างกัน ของกลุ่มผู้ใช้เว็บล็อกและสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) เจ้าของเว็บล็อก 30 คนเกี่ยวกับการแสดงพฤติกรรม การใช้ประโยชน์จากการบริโภควัฒนธรรมญี่ปุ่นและเกาหลีและพฤติกรรมที่แสดงออกต่อกันในโลกแห่งความเป็นจริง ผลการวิจัยพบว่าผู้ใช้เว็บล็อกที่นิยมในวัฒนธรรมญี่ปุ่นมักมีการสร้างสัญลักษณ์ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของตนเองที่เกี่ยวกับกิจกรรมยามว่างที่เรียกว่า “คอสเพลย์” หรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับกับแต่งกายเลียนแบบลักษณะเฉพาะของตัวละครการ์ตูนหรือรูปแบบของวัฒนธรรมเจป๊อปอื่นๆ ที่ชื่นชอบของญี่ปุ่น ซึ่งรวมถึงมังงะ (หนังสือการ์ตูน) อนิเมะ (ภาพยนตร์การ์ตูน) วีดีโอเกม และภาพยนตร์แฟนตาซี ทั้งนี้ ผู้ใช้เว็บล็อกที่นิยมในวัฒนธรรมเกาหลีนิยมสร้างสัญลักษณ์ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมทางด้าน “ดนตรีและกลุ่มนักร้องชายเกาหลี” โดยอยู่ในรูปของสินค้าวัฒนธรรมสมัยนิยมที่เรียกว่า “J-Pop” และ “K-Pop Culture” การสร้างภาพตัวแทนทางวัฒนธรรมนำมาสู่การกลายเป็นเครือข่ายชุมชนออนไลน์ในเวลาต่อมา ทั้งนี้ อัตลักษณ์ที่แสดงออกทั้งภายในชุมชนเสมือนจริงและในสังคมภายนอกไม่ค่อยมีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านการสื่อสารและการปฏิบัติต่อกันระหว่างผู้ใช้เว็บล็อก นอกจากนี้ผลการวิจัยพบว่าเว็บล็อกเป็นช่องทางในการติดตามหาเพื่อนที่สนใจในเรื่องเดียวกันและสะท้อนพฤติกรรมการบริโภคสินค้าวัฒนธรรมสมัยนิยมของญี่ปุ่นและเกาหลีจากการค้นหาข้อมูลเองโดยตรงทั้งในด้านความบันเทิงและค่านิยมการใช้ภาษา
Other Abstract: The main objective of this research is to study the construction and communication of meanings about Japanese and Korean culture through symbolic interaction among web-users in weblogs of WWW.EXTEEN.COM. The study also determines web-users cultural behavior either in their weblogs (virtual community) or in real life situations. Qualitative approach using content analysis and in-depth interview was conducted for data gathering. Sixty weblogs and 30 weblogers were target of research samples. Research findings reveal that in Japanese-oriented weblogs, web-users reflect their identity through “cosplay” activity that involves dressing as a favorite unique character from Japanese animation or other forms of popular culture including manga, anime,video games, and fantasy movies. In Korean-oriented weblogs, however, web-users reflect their identity through expressing fanatic in popular Korean musicians and singers. Moreover, the so-called “ J-Pop “ and “ K-Pop “ culture evidently reflect through symbolic interactions and consumptions of Japanese and Korean culture through language users, entertainments, merchandises, dresses, foods, leisure activities, etc. Research findings also show that web-users reflect their identity similarly either in weblogs or in real social activities. Weblogs with Japanese and Korean contents and normally accessed by users as channels for interaction with others Japanese or Korean Fanatics.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วารสารสนเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53435
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.662
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.662
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
patama_bo_front.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open
patama_bo_ch1.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
patama_bo_ch2.pdf7.57 MBAdobe PDFView/Open
patama_bo_ch3.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
patama_bo_ch4.pdf11.36 MBAdobe PDFView/Open
patama_bo_ch5.pdf2.89 MBAdobe PDFView/Open
patama_bo_back.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.