Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5398
Title: การใช้หลอดรังสีอัลตราไวโอเลตชนิดความดันต่ำในการบำบัดน้ำดิบที่ปนเปือนโคลิฟาจ
Other Titles: Application of a low pressure ultraviolet lamp for treatment of raw water contaminated by coliphage
Authors: รัฐพนธ์ ทาทอง
Advisors: ชวลิต รัตนธรรมสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: chavalit@anoxic.env.chula.edu
Subjects: รังสีเหนือม่วง
น้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ครั้งนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพในการกำจัดโคลิฟาจ ออกจากน้ำดิบด้วยรังสีอัลตราไวโอเลตจากหลอดรังสีอัลตราไวโอเลตชนิดความดันต่ำ ปัจจัยที่ทำการศึกษาคือ ระยะเวลาที่น้ำดิบสัมผัสรังสีและประสิทธิภาพในการกำจัดโคลิฟาจ โดยทำการเปลี่ยนปริมาณความเข้มข้นของสารปนเปื้อนดังนี้ ความขุ่น 5, 10, 20, 30 NTU และ Humic acid 0.5, 1.0, 3.0, 5.0 mg/l และ Tannic acid 0.5, 1.0, 3.0, 5.0 mg/l และ Lignin 0.5, 1.0, 3.0 mg/l ตามลำดับ จากผลการทดลองพบว่า เมื่อรังสีอัลตราไวโอเลตมีระยะเวลาที่สัมผัสกับน้ำดิบมากขึ้นจะทำให้ประสิทธิภาพในการกำจัดโคลิฟาจในน้ำดิบมีประสิทธิภาพสูงขึ้นตามไปด้วยโดยความสัมพันธ์ของประสิทธิภาพในการกำจัดโคลิฟาจ หรือ อัตราส่วนระหว่างปริมาณโคลิฟาจที่เวลานั้นๆ ต่อปริมาณโคลิฟาจที่เวลาเริ่มต้น (Survival ratio) กับเวลาที่สัมผัสรังสีจะสามารถหาสมการมาอธิบายความสัมพันธ์ได้เป็นสมการแบบ exponential ซึ่งจะทำให้สามารถหาค่าคงที่สัมประสิทธิ์การกำจัดโคลิฟาจ (k) ของแต่ละชนิดของตัวอย่างน้ำได้ดังนี้ ประสิทธิภาพในการกำจัดโคลิฟาจที่ปนเปื้อนในน้ำดิบที่ไม่มีสารปนเปื้อน พบว่าจะมีประสิทธิภาพสูงถึง 97%, 99.9% (3 ล็อก), 99.999% (5 ล็อก) เมื่อระยะเวลาที่น้ำดิบสัมผัสรังสีมีค่าเท่ากับ 0.17, 1.66, 19.9 นาทีตามลำดับ โดยน้ำดิบที่ไม่มีสารปนเปื้อนจะมีค่า k=2.8239 min -1 (n=3) และยังพบอีกว่าค่าความขุ่นจะมีผลต่อการลดลงของค่า k มากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสารอินทรีย์ชนิดต่างๆ โดยน้ำดิบที่มีสารปนเปื้อนต่างๆ จะส่งผลทำให้ค่า k ลดลงตามปริมาณและชนิดของสารปนเปื้อนนั้นๆ โดย Lignin จะส่งผลทำให้ค่า k ลดลงมากที่สุดที่ความเข้มข้นเท่ากัน และตามด้วย Tannin acid และ Humic acid ตามลำดับ
Other Abstract: The objective of this research was to study the efficiency of coliphage disinfections from raw water by low pressure ultraviolet lamp. The effect of disinfections efficiency and exposure time on coliphage removal was investigated. The contaminate substance in this study were turbidity (5, 10, 20, 30 NTU), humic Acid (0.5, 1.0, 3.0, 5.0 mg/l), tannic acid (0.5, 1.0, 3.0, 5.0 mg/l), lignin (0.5, 1.0, 3.0mg/l). It was apparent that an increase in exposure time resulted in an increase in disinfesction efficiency by ultraviolet ray will increase. Moreover, the coliphage disinfection efficiency was decreased in the presence of suspended solid (turbidity) together with natural organic matter (Lignin, Tannic acid, Humic acid) in raw water. For water sample with only coliphage, the efficiencies were 97%, 99.9%, 99.999% when exposure time were 0.17, 1.66, 19.9 minutes and coefficient of coliphage removal, k=2.8239 min. -1 (n=3). Turbidity was found to have the most inference effect on coliphage removal. Type and concentration of natural organic matters could affect k values as lignin significantly lower the k value than in the case of tannic acid and humic acid.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5398
ISBN: 9741303564
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rathaphon.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.