Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5471
Title: ค่าเทียบเท่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลสำหรับรถบรรทุกและรถโดยสาร บนทางหลวงหลายช่องทางจราจรในประเทศไทย
Other Titles: equivalents for trucks and buses on multilane highways in Thailand
Authors: วิรัช หิรัญ
Advisors: สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ค่าเทียบเท่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคล
ทางหลวง
รถบรรทุก
รถประจำทาง
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาหาค่าเทียบเท่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลสำหรับรถบรรทุกและรถโดยสาร บนทางหลวงหลายช่องทางจราจรในประเทศไทย ค่าเทียบเท่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่วิเคราะห์ได้นี้ มีประโยชน์ในการวางแผนและออกแบบทางหลวงหลายช่องทางจราจรในประเทศไทย การคัดเลือกวิธีการวิเคราะห์ค่าเทียบเท่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคล ได้พิจารณาถึงเครื่องมือ เวลาและค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และจึงได้คัดเลือกวิธีการวิเคราะห์ 3 วิธี คือ วิธี Headway เฉลี่ย (Average Headway) วิธีกำหนดค่า Spacing คงที่ (Constant Spacing) และวิธีกำหนดความเร็วคงที่ (Constant Speed) เป็นวิธีวิเคราะห์ค่าเทียบเท่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลในการศึกษานี้ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษานี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลบนทางหลวงหมายเลข 36 ในจังหวัดชลบุรี ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าวิธีวิเคราะห์โดยวิธี Headway เฉลี่ยเป็นวิธีการที่ให้ผลการวิเคราะห์ดีที่สุด ค่าเทียบเท่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลในช่วงความลาดชัน 0 ถึง 1.8 เปอร์เซ็นต์สำหรับรถบรรทุก6 ล้อ รถบรรทุก 10 ล้อ รถบรรทุกพ่วง และรถโดยสาร 6 ล้อ มีค่า 1.25 1.36 1.58 และ 1.30 ตามลำดับ ค่าเทียบเท่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลในช่วงถนนที่มีความลาดชัน 4.2 เปอร์เซ็นต์และมีความยาวทางลาด 200 เมตร สำหรับรถบรรทุก 6 ล้อ รถบรรทุก 10 ล้อ รถบรรทุกพ่วง และรถโดยสาร 6 ล้อ มีค่า 1.46 1.55 1.83 และ 1.39 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าค่าเทียบเท่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคล มีค่าแปรเปลี่ยนตามระดับการให้บริการของถนนและปริมาณจราจร
Other Abstract: To evaluate the Passenger Car Equivalents (PCEs) for trucks and buses on multilane highways in Thailand. These PCEs would be of great use in the planning and design of multilane highways in Thailand. After considering the equipments, time interval, and budget requirements associated with the collection of data demanded by various available analysis techniques, the so-called Average Headway, Constant Spacing and Constant Speed techniques were selected for analyzing the PCEs. Field traffic data used in the study were collected over a number of sections on the Highway Route Number 36 in the Chonburi province. The analysis results indicated that the Average headway technique yielded the most resonable results. For relatively flat terrain with up to 1.8% grades, the derived PCEs for six-wheeled trucks, ten-wheeled trucks, truck combinations, and buses were found to be 1.25, 1.36, 1.58 and 1.30 respectively. At the 200 m. section with 4.2% grade, the resulting PCEs for six-wheeled trucks, ten-wheeled trucks, truck combinations, and buses were 1.46, 1.55, 1.83 and 1.39 respectively. Moreover, the study found that the PCEs varied to a certain extent with the level of service and flow volumes.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5471
ISBN: 9743464832
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wirach.pdf12.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.