Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54893
Title: การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนสาขาวิชานาฏศิลป์ตะวันตกในระดับปริญญาบัณฑิตของประเทศไทยโดยวิธีวิทยาการเทียบเคียง
Other Titles: DEVELOPEMENT OF UNDERGRADUATE WESTERN DANCE CURRICULUM AND INSTRUCTION IN THAILAND BY BENCHMARKING METHODOLOGY
Authors: สุรินทร์ เมทะนี
Advisors: ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ
ปทีป เมธาคุณวุฒิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Sornnate.A@Chula.ac.th,sornnate@gmail.com,Sornnate.A@Chula.ac.th
mpateep@chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) วิเคราะห์มาตรฐานหลักสูตรและการเรียนการสอนนาฏศิลป์ตะวันตกในสถาบันอุดมศึกษาไทยและหลักสูตรนาฏศิลป์ตะวันตกในต่างประเทศ 2) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันและความต้องการในการเรียนการสอนของหลักสูตรนาฏศิลป์ตะวันตกในสถาบันอุดมศึกษาไทย 3) วิเคราะห์เทียบเคียงหลักสูตรนาฏศิลป์ตะวันตกในสถาบันอุดมศึกษาไทยกับหลักสูตรนาฏศิลป์ตะวันตกในสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ 4) พัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนสาขาวิชานาฏศิลป์ตะวันตกในระดับปริญญาบัณฑิตของประเทศไทยสู่มาตรฐานสากล โดยการวิเคราะห์สาระจากเอกสาร หลักสูตรสาขาวิชานาฏศิลป์ตะวันตกในสถาบันอุดมศึกษาไทย 4 แห่ง และสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ 4 แห่ง วิเคราะห์สภาพปัจจุบันและความต้องการในการเรียนการสอนหลักสูตรนาฏศิลป์ตะวันตกในสถาบันอุดมศึกษาไทย โดยการเก็บข้อมูลจากอาจารย์ประจำหลักสูตรจำนวน 12 คน นิสิตนักศึกษาสาขาวิชานาฏศิลป์ตะวันตกในหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต 80 คน ผู้ใช้บัณฑิต 40 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 212 คน วิเคราะห์เทียบเคียงหลักสูตรโดยการเทียบเคียงแบบบทบาทหน้าที่ (Functional Benchmarking) ระหว่างหลักสูตร ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (นาฏศิลป์ตะวันตก) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและหลักสูตร The Bachelor of Fine Arts (Dance), Victorian College of the Arts, Australia โดยการเก็บข้อมูลจากผู้บริหาร ผลการวิจัยพบว่า 1. มาตรฐานหลักสูตรและการเรียนการสอนนาฏศิลป์ตะวันตกในสถาบันอุดมศึกษาไทยเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 มีจุดเน้น ด้านความรู้ความสามารถ ทักษะทางปัญญาเป็นอันดับต่อมา คุณธรรมจริยธรรม เรียงตามลำดับในขณะที่ สถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศเน้นด้านทักษะปฏิบัติ เป็นอันดับแรก และเน้นความรู้ความสามารถ ทักษะทางปัญญาเป็นลำดับต่อมา ด้านโครงสร้างหลักสูตร สถาบันอุดมศึกษาไทยและต่างประเทศมีความต่างของจำนวนหน่วยกิต โดยสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศไม่มีรายวิชาศึกษาทั่วไปและใช้ระบบแบบเครดิต หรือ คะแนน โดยเรียนรายวิชาปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี ด้านเนื้อหารายวิชาสถาบันอุดมศึกษาไทย เน้นด้านความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศเน้นด้านมีความรู้ มีความคิดสร้างสรรค์ มีนวัตกรรมในการสร้างงาน 2. สภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรนาฏศิลป์ตะวันตกในสถาบันอุดมศึกษาไทยที่มีการปฏิบัติและมีความต้องการในการพัฒนา เรียงลำดับ 5 ด้าน คือ 1) ด้านสิ่งแวดล้อมในการเรียน 2) ด้านอนุรักษ์และสร้างสรรค์วัฒนธรรม 3) ด้านพัฒนาการเรียนการสอน 4) ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ 5) ด้านปรัชญาความต้องการและวัตถุประสงค์หลักสูตร 3. ผลการวิเคราะห์เทียบเคียงหลักสูตรนาฏศิลป์ตะวันตกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผลการดำเนินงานของหลักสูตรต่างจาก Victorian College of the Arts 5 ด้านคือ 1) ด้านพัฒนาการเรียนการสอน มีความต่างด้าน สัดส่วนรายวิชาปฏิบัติและทฤษฎี ไม่มีโครงการร่วมสอนในรายวิชาและการฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพในชุมชน ไม่มีโครงการศิลปะและดนตรีในหลักสูตร 2) ด้านสิ่งแวดล้อมในการเรียน มีความต่างของจำนวนห้องปฏิบัติการ โรงละคร บริการนอกเวลาเรียน ทุนการศึกษา 3) ด้านปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์หลักสูตรมีความต่างด้าน โครงการพัฒนาชุมชน การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 4) ด้านอนุรักษ์และสร้างสรรค์วัฒนธรรม มีความต่างด้านสร้างงานนาฏศิลป์เพื่อชุมชน 5) ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ ขาดการฝึกประสบการณ์การสอนในชุมชน 4. ผลการวิจัยสรุปได้ว่าการพัฒนาหลักสูตรนาฏศิลป์ตะวันตกในระดับปริญญาบัณฑิตในสถาบันอุดมศึกษาไทยสู่มาตรฐานสากล มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ด้านได้แก่ 1) ด้านพัฒนาการเรียนการสอน 2) ด้านสิ่งแวดล้อมในการเรียนการสอน 3) ด้านปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์หลักสูตร 4) ด้านอนุรักษ์และสร้างสรรค์วัฒนธรรม 5) ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ ทั้งนี้ในการพัฒนาหลักสูตรให้มีมาตรฐานในระดับสากลต้องคำนึงถึง มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 มาตรฐานหลักสูตรนาฏศิลป์ตะวันตกในสถาบันอุดมศึกษาไทยและต่างประเทศ สภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรนาฏศิลป์ตะวันตกของสถาบันอุดมศึกษาไทย และการเทียบเคียงหลักสูตรนาฏศิลป์ตะวันตกจากสถาบันอุดมศึกษาไทยและต่างประเทศ
Other Abstract: The purposes of this research were to 1) analyze Western dance curriculum and instruction in Thai higher education institutions and foreign higher education institutions; 2) analyze the current situations and needs of Western dance curriculum and instruction in Thai and foreign higher education institutions; 3) benchmark the Western dance curricula between Thai and foreign higher education institutions; and 4) develop the undergraduate Western dance curriculum and instruction in Thailand towards the international standards. The research was conducted by means of content analysis of Western dance curricula of 4 Thai and 4 foreign higher education institutions. Moreover, the current situations and needs of Western dance instruction were analyzed through the collection of questionnaire from a total number of 212 populations consisting of 12 instructors, 80 Western dance students and graduates and 40 of employers. The curriculum and instruction benchmarking was conducted by using the functional benchmarking between Chulalongkorn University and Victorian College of the Arts. The research findings were as follows: 1. The standards of Western dance curriculum and instruction in Thai higher education institutions was based on the National Qualifications Framework for Higher Education in Thailand B.E. 2552 (2009). Both Thai and foreign curricula, they focused on knowledge, intellectual skills, and ethics. There were different total credits of Thai curriculum structure. However, there were or no general education in the foreign curriculum structures of some institutions. They applied credits or scores for program study and also they were more practical than theory. The content of Thai program focused on knowledge, creativity, and culture preservation while the foreign focal points were on the knowledge, creativity and innovation in work creation. 2. The overall situations and needs of curriculum development of Western Dance focused on 5 aspects: 1) learning environment 2) cultural conservation and creation, 3) instruction development, 4) learning performance, and 5) philosophy, needs and objectives of curriculum. 3. According to the benchmark results between Chulalongkorn University and Victorian College of the Arts: 1) the instructional development: higher proportion of practicum than theoretical session, community-based professional experience, curriculum integrated with the art and music practicum; 2) the learning environment: sufficient number of laboratories in dance theaters equipped, off-hour services, scholarship; 3) the philosophy, significance and objectives of curriculum: curriculum integrated with community development projects and effective communication; 4) cultural conservation and creativity: availability of dances for the communities; 5) the learning outcomes: teaching experience training. 4. The results of the study concluded that the development of western dance curriculum at the undergraduate level in Thai higher education institutions to international standards. There are 5 main components: 1) Teaching and learning development 2) Teaching environment 3) Philosophy, importance and objectives 4) Conservation and creativity Culture 5) Learning outcomes In order to develop the curriculum to international standards must have National Higher Education Standards 2009, Western Dance Curriculum Standards in Thai and International Higher Education Institutions Current situation and needs in Western curriculum development of Thai higher education institutions. And comparable western dance courses from Thai and foreign higher education institutions.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54893
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1286
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1286
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584288127.pdf12.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.