Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55008
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิชชา จองวิวัฒสกุล-
dc.contributor.authorไตรภพ รามดิษฐ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:22:54Z-
dc.date.available2017-10-30T04:22:54Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55008-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติกายภาพและเชิงกลของวัสดุผสมซีเมนต์ใยสังเคราะห์ (Geosynthetic Cement Composite, GCC) ในห้องปฏิบัติการ โดยทำการทดสอบ 3 ผลิตภัณฑ์ คือ 1. GCC ชนิดเย็บด้วยมือ 2. GCC ชนิดเย็บด้วยเครื่องจักร และ 3. GCC ชนิดเสริมเส้นใยในชั้นซีเมนต์ โดยดำเนินการทดสอบหาระยะเวลาการก่อตัว กำลังอัดของซีเมนต์เพสต์ ค่ามวลต่อพื้นที่ ความหนาของแผ่น GCC ความต้านทานแรงดัด ความต้านทานแรงดึง ความต้านทานแรงกดทะลุ และการซึมผ่านของน้ำ มีตัวแปรศึกษา คือ อัตราส่วนน้ำต่อน้ำหนักแผ่น GCC ที่ 0.5 กับ 1 และระยะเวลาการบ่มของแผ่น GCC ที่ 1 3 7 และ 28 วัน โดยมีวิธีการบ่ม 3 แบบคือ 1. บ่มอากาศ 2. บ่มแบบห่อพลาสติก 3. บ่มแบบแช่น้ำ จากการทดสอบพบว่า ระยะเวลาการก่อตัวของ GCC ชนิดเย็บด้วยเครื่องจักร และ GCC ชนิดเสริมเส้นใยมีค่าน้อยกว่า GCC ชนิดเย็บด้วยมือ กำลังอัดของซีเมนต์เพสต์มีค่าใกล้เคียงกัน โดยอัตราส่วนน้ำต่อน้ำหนักแผ่น GCC ที่ 0.5 ให้กำลังรับแรงที่มากกว่า และวิธีการบ่มแบบแช่น้ำทำให้กำลังรับแรงดึง แรงดัด และแรงกดทะลุ ของชั้นซีเมนต์เพสต์ในแผ่น GCC มีค่าเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่บ่ม แต่กำลังรับแรงสูงสุดจะมีค่าใกล้เคียงกันแม้ระยะเวลาการบ่มจะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามพบว่าเส้นใยที่ใช้เย็บติดกับแผ่นเส้นใยสังเคราะห์ชนิดถักทอหลุดออกเมื่อบ่มตัวอย่างเป็นระยะเวลา 28 วัน เมื่อพัฒนารูปแบบการเย็บเป็นเย็บด้วยเครื่องจักรและเสริมเส้นใย พบว่า GCC ชนิดเย็บด้วยเครื่องจักรมีค่ามวลต่อหน่วยน้ำหนักและค่าความหนาน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับ GCC ชนิดอื่น ในขณะที่ค่ามวลต่อหน่วยน้ำหนักและค่าความหนาของชนิดเสริมเส้นใยจะมีค่าใกล้เคียงกับชนิดเย็บมือ นอกจากนี้พบว่าคุณสมบัติเชิงกลจะขึ้นอยู่กับทิศทางการรับแรงของ GCC โดย GCC ชนิดเย็บด้วยเครื่องจักรสามารถรับแรงดึงได้มากที่สุด และ GCC ชนิดเสริมเส้นใยสามารถรับแรงดัดและแรงกดทะลุได้มากที่สุด แต่ GCC ชนิดเย็บมือและชนิดเสริมเส้นใย เมื่อเวลาการบ่มเพิ่มมากขึ้นจะทำให้เส้นใยที่ยึดติดกับชั้นซีเมนต์เพสต์และแผ่นเส้นใยสังเคราะห์เกิดการเสื่อมและหลุดออก เนื่องจากแช่น้ำนานเกินไป นอกจากนี้ทดสอบการซึมผ่านน้ำทั้ง 3 ชนิด พบว่าน้ำไม่ซึม-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to investigate the physical and mechanical properties of geosynthetic cement composite (GCC). There are three types of product which are hand-sewn GCC, machine-sewn GCC and fiber reinforced GCC. The tests consist of setting time, compressive strength of cement paste, mass per unit area of GCC, nominal thickness, bending, tensile, puncher and water impermeability. The parameters are the ratio of water to weight of GCC (0.5 and 1) and curing time (1, 3, 7 and 28 days). There are three methods of curing, which are air, wrap and water curing. Test results show that setting times of machine-sewn GCC and fiber reinforced GCC are less than hand-sewn GCC. Compressive strength of all types of GCC is adjacent. With the decrease in the ratio of water to weight of GCC, load carrying capacity becomes higher. By using water curing, bending, tensile and puncher strength of cement paste increases with the increase in curing period. However, the peak load is constant. It is observed that the fibers adhering with hand-sewn GCC deteriorate when curing time is increased. Machine-sewn GCC gives the lowest mass per unit weight and nominal thickness. The mass per unit weight and nominal thickness of fiber reinforced GCC are close to hand-sewn GCC. For machine-sewn GCC and fiber reinforced GCC, loading direction affects the capacity. Among three types of GCC, machine-sewn GCC resists the highest tensile strength, while fiber reinforced GCC shows the highest bending and puncher strength. Nevertheless, for hand-sewn GCC and fiber reinforced GCC, the strength decreases when curing period is longer. It is because the deboning occurs. In addition, water impermeability tests show that the water was not permeable through all types of GCC.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.908-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการศึกษาคุณสมบัติวัสดุซีเมนต์ใยสังเคราะห์ในห้องปฎิบัติการ-
dc.title.alternativeLaboratory Investigation of Geosynthetic Cement Composite Properties-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorPitcha.J@chula.ac.th,Pitcha.J@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.908-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770180821.pdf12.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.